การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเพิ่มเติม สิงหาคม พ.ศ. 2489
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเพิ่มเติม สิงหาคม พ.ศ. 2489 หรือที่ระบุในพระราชกฤษฎีกาว่า การเลือกตั้งเพิ่มสมาชิกสภาผู้แทน พุทธศักราช 2489[1] จัดขึ้นในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ถือเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนเป็นครั้งที่สองของปี พ.ศ. 2489 เพราะก่อนหน้านั้นมีการเลือกตั้งมาแล้วเมื่อต้นปีเดียวกัน
| |||||||||||||||||||||||||||||
82 ที่นั่งเพิ่มเติมในสภาผู้แทนราษฎรไทย | |||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ผู้ใช้สิทธิ | 34.92% | ||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||
|
สืบเนื่องจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ที่ได้ประกาศใช้ไม่นานก่อนหน้านี้ กำหนดให้ยกเลิกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ประเภทที่ 2 ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ทำให้ต้องมีการจัดการเลือกตั้งเพิ่มเติมขึ้น ในวันที่ 5 สิงหาคม ปีเดียวกัน เฉพาะใน 47 จังหวัด เพื่อให้ได้จำนวนสมาชิกครบ 82 คน ตามจำนวนของสภาฯ ผลของการเลือกตั้งพบว่า จากจำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั้งหมด 5,819,662 คน มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งจำนวน 2,026,823 คน คิดเป็นร้อยละ 34.92 จังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุดคือ จังหวัดสกลนคร คิดเป็นร้อยละ 57.49 และจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุดคือ จังหวัดนราธิวาส คิดเป็นร้อยละ 16.62 [2]
ความน่าสนใจของการเลือกตั้งครั้งนี้ คือ เป็นการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในสภาวะการเมืองไทยเกิดความผันแปรอย่างรุนแรง เนื่องด้วยการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งทำให้ ปรีดี พนมยงค์ นายกรัฐมนตรีต้องลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบ ท่ามกลางกระแสโจมตีและข่าวลือต่าง ๆ นานา
และระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง ได้ปรากฏความรุนแรงขึ้น เมื่อทางฝ่ายรัฐบาลได้โปรยใบปลิวทางเครื่องบินประณามฝ่ายค้าน โดยเรียกว่า "ผลงานชิ้นโบว์ดำ" พรรคประชาธิปัตย์ ขณะปราศรัยที่ถนนราชดำเนิน ท่ามกลางฝูงชนที่แออัดมาฟัง มีผู้ขับรถบรรทุก ซึ่งภายในบรรทุกอาวุธสงครามต่าง ๆ จำนวนมากจะฝ่าเข้ามา และในวันที่ 4 สิงหาคม ก่อนการเลือกตั้งจะมีขึ้นเพียงวันเดียว ที่วงเวียนเล็ก จังหวัดธนบุรี ไถง สุวรรณทัต ผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ได้ถูกปาระเบิดใส่เวที ได้รับบาดเจ็บสาหัสจนแพทย์ต้องตัดขาข้างขวาทิ้ง แต่นายไถงก็ยังได้รับเลือกเป็น ส.ส.ในที่สุด [3] [4]
โดยผลของการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคสหชีพมี สส. ที่ได้รับเลือกตั้งมากที่สุด จำนวนทั้งสิ้น 25 คน ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ที่มี สส.เดิมในสภามากที่สุด กลับได้ สส.เพิ่มเพียง 16 คน
ผลการเลือกตั้ง
แก้ชื่อพรรค | หัวหน้าพรรค | จำนวน ส.ส. |
---|---|---|
พรรคสหชีพ | อดุล อดุลเดชจรัส | 25 คน |
พรรคแนวรัฐธรรมนูญ | ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ | 24 คน |
พรรคประชาธิปัตย์ | ควง อภัยวงศ์ | 16 คน |
พรรคอิสระ | 6 คน |
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา (31 พฤษภาคม 1946). "พระราชกฤษฎีกาดำเนินการเลือกตั้งเพิ่มสมาชิกสภาผู้แทน พุทธศักราช ๒๔๘๙" (PDF). สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย] - ↑ โคทม อารียา, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. ๒๕๔๐) หมวดองค์กรทางการเมือง เรื่องที่ ๕ ระบบการเลือกตั้ง, กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, ๒๕๔๔
- ↑ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช, ชีวลิขิต หน้า 140, กรุงเทพฯ : พรรคประชาธิปัตย์, ๒๕๔๘ ISBN 974-9353-50-1
- ↑ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 หน้า 28, กรุงเทพฯ : โพสต์บุ๊คส์ ๒๕๕๕ ISBN 978-974-228-070-3