อุดร ตันติสุนทร

อุดร ตันติสุนทร (เกิด 13 กันยายน พ.ศ. 2476) อดีตรัฐมนตรี และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก 5 สมัย

อุดร ตันติสุนทร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 กันยายน พ.ศ. 2476 (90 ปี)
จังหวัดตาก
คู่สมรสวิมลวรรณ ตันติสุนทร

ประวัติ

แก้

อุดร ตันติสุนทร เกิดเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2476 เป็นบุตรของนายซ้งกี่ กับนางแจง ตันติสุนทร และเป็นพี่ชายของนายรักษ์ ตันติสุนทร สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี เศรษฐศาสตรบัณฑิต และ ปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

งานการเมือง

แก้

อุดรลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2512 ได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2535 ก่อนที่จะได้รับเลือกเป็น สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดตาก ในปี พ.ศ. 2543 และวางมือทางการเมืองในที่สุด [1]

นายอุดร เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอก ชาติชาย ในปี พ.ศ. 2531[2] และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย พ.ศ. 2537[3]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

อุดร ตันติสุนทร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 5 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดตาก สังกัดพรรคสหประชาไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดตาก สังกัดพรรคชาติไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดตาก สังกัดพรรคกิจสังคม
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดตาก สังกัดพรรคกิจสังคม
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดตาก สังกัดพรรคพลังธรรม

สมาชิกวุฒิสภา

แก้

อุดร ตันติสุนทร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภามาแล้ว 1 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2543 จังหวัดตาก[4]

งานวิชาการ

แก้

อุดร ตันติสุนทร เป็นนักวิชาการที่มีบทบาทในฐานะประธานมูลนิธิส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และเป็นอาจารย์พิเศษ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น[5] เขายังมีบทบาทเป็นประธานกรรมการโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยตากสิน ให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาประจำจังหวัดตาก

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี
  4. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เขตเลือกตั้งจังหวัดตาก (นายอุดร ตันติสุนทร นายพนัส ทัศนียานนท์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-20. สืบค้นเมื่อ 2018-03-12.
  5. "อาจารย์อุดร ตันติสุนทร - วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-21. สืบค้นเมื่อ 2013-05-29.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕