อุดมศักดิ์ ทั่งทอง

อุดมศักดิ์ ทั่งทอง (4 สิงหาคม พ.ศ. 2472 - 25 มกราคม พ.ศ. 2554) เป็นอดีตรัฐมนตรีใน 5 รัฐบาล เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง 3 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 11 สมัย

อุดมศักดิ์ ทั่งทอง
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
24 ตุลาคม – 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ดำรงตำแหน่ง
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
14 เมษายน – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2535
นายกรัฐมนตรีพลเอก สุจินดา คราประยูร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
นายกรัฐมนตรีพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีพลตรี ชาติชาย ชุณหะวัณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 มกราคม พ.ศ. 2554
อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เสียชีวิต25 มกราคม พ.ศ. 2554 (81 ปี)
อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
คู่สมรสสุนันท์ ทั่งทอง (เสียชีวิต)
เบญจพร ทั่งทอง

ประวัติ แก้

อุดมศักดิ์ ทั่งทอง เกิดเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2472 [1] สำเร็จการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 8 จากโรงเรียนประจวบวิทยาลัย

อุดมศักดิ์ ทั่งทอง สมรสครั้งแรกกับนางสุนันท์ ทั่งทอง มีบุตร-ธิดารวม 5คน

1. นางอวยพร คีรีวิเชียร

2. นางสาวเอื้อมพร ทั่งทอง

3. พลตำรวจโท พนมศักดิ์ ทั่งทอง

4. นางสาวศุลีพร ทั่งทอง

5. พลตำรวจตรี ทนงศักดิ์ ทั่งทอง

อุดมศักดิ์ ทั่งทอง สมรสครั้งที่สองกับนางเบญจพร ทั่งทอง มีบุตร 1 คน

1. นายเกียรติศักดิ์ ทั่งทอง

อุดมศักดิ์ ทั่งทอง ประกอบอาชีพทำสวน ทำไร่ในพื้นที่อำเภอทับสะแก[2]

งานการเมือง แก้

อุดมศักดิ์ ลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2512 สังกัดพรรคสหประชาไทย และได้รับเลือกต่อกันรวม 11 ครั้ง

อุดมศักดิ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีครั้งแรกในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ครม.45, 46)[3][4] เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร[5] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[6]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

อุดมศักดิ์ ทั่งทอง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 11 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคสหประชาไทย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคธรรมสังคม
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคธรรมสังคม
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคสยามประชาธิปไตย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
  7. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
  8. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
  9. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
  10. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคชาติไทย
  11. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สังกัดพรรคความหวังใหม่

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

อุดมศักดิ์ ทั่งทอง เสียชีวิตด้วยโรคตับ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554 สิริอายุรวม 81 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  2. สืบจากส้ม "อยู่ไม่เป็น" โยง "พลังอนาคต"
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 100ง วันที่ 24 ตุลาคม 2540
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
  9. รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๖ จากเว็บไซต์ thaiscouts