นิคม แสนเจริญ (7 ตุลาคม พ.ศ. 2485 – 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี 3 สมัย

นิคม แสนเจริญ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 ตุลาคม พ.ศ. 2485
อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
เสียชีวิต19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 (49 ปี)
อำเภอโชคชัย
จังหวัดนครราชสีมา
พรรคการเมืองกิจสังคม (2526–2534)
สามัคคีธรรม (2535)
คู่สมรสรัศมี แสนเจริญ

ประวัติ

แก้

นิคม เกิดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2485 เป็นบุตรของนายฝอย นางทองเพียร แสนเจริญ และเป็นน้องชายสติล คุณปลื้ม ภรรยาสมชาย คุณปลื้ม[1] ด้านครอบครัวสมรสกับ นางรัศมี แสนเจริญ (สกุลเดิม: คุณจักร) มีบุตร-ธิดา 4 คน [2]

สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนชลราษฎรอำรุง[3] และกำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี ที่วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา

นิคม เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางรถยนต์ ขณะเดินทางไปช่วยปราศรัยหาเสียงที่จังหวัดในภาคอีสาน พร้อมกับผู้ติดตามอีก 3 คน ในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 ตรงบริเวณแยกแสนเจริญ อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 สิริอายุรวม 49 ปี

การทำงาน

แก้

หลังจากจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นิคม ได้ช่วยกิจการทางบ้านด้วยการดำรงอาชีพชาวประมง จนได้รับเลือกให้เป็นนายกสมาคมประมงจังหวัดชลบุรี[4] รวมถึงการเป็นรองประธานกรรมการสมาคมประมงแห่งประเทศไทย

งานการเมือง

แก้

นิคม เคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัด ใน พ.ศ. 2524 ต่อมาลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2526 และได้รับเลือกติดต่อกัน จนถึง พ.ศ. 2531 รวม 3 สมัย[5]

นิคม ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อ พ.ศ. 2531 ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[6]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

แก้

นิคม แสนเจริญ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคกิจสังคม
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคกิจสังคม
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดชลบุรี สังกัดพรรคกิจสังคม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. เจาะชีวิต'เจ้าพ่อภาคตะวันออก'สูงสุดสู่สามัญ
  2. หนังสืออนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ นายนิคม แสนเจริญ ณ เมรุวัดแจ้งเจริญดอน จ.ชลบุรี 23 พฤษภาคม 2535
  3. ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2531. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2531
  4. นักการเมืองถิ่นจังหวัดชลบุรี. รองศาสตราจารย์พรชัย เทพปัญญา สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2552
  5. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒