บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ
พลตรี บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ (ชื่อเดิม: กิมกุ่ย) (13 เมษายน พ.ศ. 2462 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นนักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี 10 สมัย
บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ | |
---|---|
ประธานรัฐสภาไทย และ ประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 27 กันยายน พ.ศ. 2539 (1 ปี 78 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย บรรหาร ศิลปอาชา |
ก่อนหน้า | มารุต บุนนาค |
ถัดไป | วันมูหะมัดนอร์ มะทา |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 (0 ปี 76 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533 (2 ปี 122 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 เมษายน พ.ศ. 2462 อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (97 ปี) โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | เสรีมนังคศิลา (2500) ประชาธิปัตย์ (2500–???) สหประชาไทย (2512–2514) ธรรมสังคม (2518–2519) ชาติไทย (2519–2539) |
คู่สมรส | ดวงเนตร ประเสริฐสุวรรณ[1] |
บุตร | 10 คน |
บุพการี |
|
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
ยศ | พลตรี[2] |
ประวัติ
แก้บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2462 ที่ตำบลมะขามล้ม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของนายเอี้ยง กับนางช่วง สุวรรณหงษ์ (ต่อมาเปลี่ยนเป็น "ประเสริฐสุวรรณ") จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย และจบหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาครูพิเศษมัธยม (พม.) จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนทหารเสนารักษ์
สมรสกับนางดวงเนตร ประเสริฐสุวรรณ มีบุตร - ธิดา รวม 10 คน คือ
- นายสันชัย ประเสริฐสุวรรณ
- นายชัยวัฒน์ ประเสริฐสุวรรณ
- ร้อยตำรวจเอก ประภาวัตช์ ประเสริฐสุวรรณ
- นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี
- นายฉัตรชัย ประเสริฐสุวรรณ ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี
- นางศิริกุล ประเสริฐสุวรรณ
- นายหฤษฏ์ณัฐ ประเสริฐสุวรรณ
- นางสาวสุภาพ ประเสริฐสุวรรณ
- นายเฉลิมชัย ประเสริฐสุวรรณ
- นายชาญชัย ประเสริฐสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุพรรณบุรี
การทำงาน
แก้บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ เริ่มทำงานหลังจากจบประกาศนียบัตรครูพิเศษมัธยม (พม.) โดยเป็นครูประจำโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2480 ก่อนจะไปศึกษาต่อที่โรงเรียนทหารเสนารักษ์ และรับราชการมีชั้นยศ "สิบเอก" จากนั้นได้เข้าร่วมในราชการสงครามจนได้รับเหรียญชัยสมรภูมิมหาเอเชียบูรพา และเหรียญชัยสมรภูมิสงครามโลกครั้งที่สอง และกลับมาเป็นอาจารย์สอนประจำที่โรงพยาบาลอานันทมหิดล จังหวัดลพบุรี กระทั่ง พ.ศ. 2488 ได้ลาออกจากราชการเพื่อดูแลครอบครัว และเปิดคลินิกรักษาพยาบาลชื่อว่า "วิริยะการแพทย์"
งานการเมือง
แก้บุญเอื้อ ได้เข้าสู่งานการเมืองโดยลงสมัครเป็นสมาชิกสภาจังหวัด (สจ.) เขตอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี และได้รับเลือกตั้งรวม 4 สมัย จากนั้นจึงได้เข้าสู่สนามการเมืองระดับชาติโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500[3] จนถึงปี พ.ศ. 2539 รวมถึง 10 สมัย โดยในระยะแรกได้ร่วมงานการเมืองกับพรรคเสรีมนังคศิลา, พรรคประชาธิปัตย์ และ พรรคสหประชาไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 จึงย้ายมาร่วมงานกับพรรคธรรมสังคม และพรรคชาติไทยในปีถัดมา และยังเป็นผู้ชักชวนนายบรรหาร ศิลปอาชา เข้าสู่งานการเมืองอีกด้วย
บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[4] ในรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สืบแทนพันตำรวจเอก กฤช สังขทรัพย์ ที่ถึงแก่อนิจกรรมจากเหตุเฮลิคอปเตอร์เบลล์ตกที่จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2524
บุญเอื้อ เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[5][6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ได้รับเลือกเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร[7]
บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ได้รับพระราชทานยศ "พลตรี" เป็นกรณีพิเศษ เมื่อปี พ.ศ. 2540[8][9]
ถึงแก่อนิจกรรม
แก้พลตรี บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบ ในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 08.00 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยโรคชรา สิริอายุรวมได้ 97 ปี และมีพิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพในวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2559[10] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[13]
- พ.ศ. 2514 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ บุคคลในข่าว 03/02/55
- ↑ "พระราชทานยศ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-17. สืบค้นเมื่อ 2011-06-20.
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งรัฐมนตรี (นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
- ↑ “หมอเอื้อขึ้นพลตรี จาก ‘ส.อ.’ ” เดลินิวส์, 1 เมษายน 2540, หน้า 17.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ เป็น พลตรี)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-17. สืบค้นเมื่อ 2011-06-20.
- ↑ “บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ”อดีตประธานรัฐสภา ถึงแก่อนิจกรรมด้วยวัย 97 ปี
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ[ลิงก์เสีย], เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๒๒, ๒ พฤษภาคม ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี เก็บถาวร 2022-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๙๔ ง หน้า ๒๓๗๘, ๓๑ สิงหาคม ๒๕๑๔