โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เป็นโรงพยาบาลในกำกับของรัฐ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งอยู่ เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)

โรงพยาบาลศิริราช
ปิยมหาราชการุณย์
Siriraj Piyamaharajkarun Hospital
แผนที่
ประเภทโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
ที่ตั้ง2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้ง6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วันเปิดทำการ26 เมษายน พ.ศ. 2555
สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้อำนวยการศ.คลินิก นพ.ชาญ ศรีรัตนสถาวร
จำนวนเตียง345[1]
เว็บไซต์SiPH hospital

ประวัติ แก้

การก่อตั้ง แก้

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้รับความเห็นชอบตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2546 มติที่ประชุมคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทยครั้งที่ 14/2546 เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2546 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2546 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2552 และมติคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เห็นชอบเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2553 ให้คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ใช้สิทธิเหนือพื้นดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย บริเวณสถานีรถไฟธนบุรีริมแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงที่เชื่อมคลองบางกอกน้อย รวมเนื้อที่ประมาณ 33 ไร่ 2 งาน 94 ตารางวา หรือ 53,976 ตารางเมตร[2]

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารโครงการพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์ บริเวณสถานีรถไฟธนบุรี (เดิม) เขตบางกอกน้อย เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2551 และพระราชทานนาม อาคารโรงพยาบาลว่า อาคารปิยมหาราชการุณย์ [3]

ต่อมาคณะกรรมการประจำคณะแพทยศาสตร์ได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ให้จัดตั้งเป็น “โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (Siriraj Piyamaharajkarun Hospital) ชื่อย่อ “SiPH” และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จะเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารสถาบันการแพทย์ และลานพลับพลาประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอุ้มสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ในบริเวณใกล้เคียงกับอาคารโรงพยาบาล ซึ่งเดิมกำหนดไว้ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 แต่เนื่องจากมีแถลงการณ์สำนักพระราชวัง ฉบับที่ 59 ทำให้ต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด

ข้อมูลโรงพยาบาล แก้

 
มุมมองจากสวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ประกอบด้วยอาคารสถานีรถไฟธนบุรี (เดิม)และส่วนของอาคารโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
 
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ในพลับพลาสยามินทราศิริราชานุสรณีย์ สวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา

ภายในโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ประกอบด้วยอาคารโรงพยาบาลชื่อว่า อาคารปิยมหาราชการุณย์ เป็นอาคารสูง 14 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยสำหรับบริการตรวจรักษาประมาณ 165,270 ตารางเมตร และสถาบันการแพทย์ชื่อว่า สถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช ในโรงพยาบาลฯ ประกอบไปด้วย[4]

  • ห้องบริการผู้ป่วยนอก 177 ห้อง (4 ประเภทห้อง)
  • ห้องผ่าตัด 17 ห้อง
  • ห้องผู้ป่วย 284 ห้อง
  • หอผู้ป่วยวิกฤติ 61 ห้อง
  • พื้นที่จอดรถมากกว่า 1,000 คัน
  • ลานจอดเฮลิคอปเตอร์รับส่งทางการแพทย์
  • เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง
  • ศูนย์รักษาโรคครบวงจร

ใช้งบลงทุนกว่า 7,000 ล้านบาท

บริการทางการแพทย์ แก้

  • กุมารเวช
  • จักษุ
  • จิตเวช
  • นรีเวช
  • ประสาทวิทยา
  • ผิวหนัง
  • มะเร็งและโรคเลือด
  • รังสีรักษา
  • รังสีวินิจฉัย
  • รังสีเวชศาสตร์นิวเคลียร์
  • โรคข้อและรูมาติสซั่ม
  • โรคติดเชื้อ
  • โรคไต
  • โรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ
  • โรคปัจฉิมวัย (ผู้สูงอายุ)
  • โรคภูมิแพ้และอิมูโนวิทยา
  • โรคระบบทางเดินหายใจ
  • โรคระบบทางเดินอาหาร
  • เวชบำบัดวิกฤต (I.C.U.)
  • เวชศาสตร์ฟื้นฟู
  • ศัลยกรรมตกแต่ง
  • ศัลยกรรมทั่วไป
  • ศัลยกรรมประสาท
  • ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ศัลยกรรมศีรษะ คอ เต้านม
  • ศัลยกรรมสำหรับเด็ก
  • ศัลยกรรมหลอดเลือด
  • ศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก
  • ศัลยกรรมออร์โธปิดิคส์ (กระดูก และข้อ)
  • หัวใจและหลอดเลือด
  • หู คอ จมูก
  • อายุรกรรมทั่วไป

อ้างอิง แก้

  1. http://gishealth.moph.go.th/healthmap/gmap.php#result
  2. http://www.si.mahidol.ac.th/th/hotnews_detail.asp?hn_id=520[ลิงก์เสีย] ศิริราชและการรถไฟฯ ร่วมพิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดิน เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาศิริราชสู่สถาบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์ สถาบันการแพทย์สยามินทราธิราช 29/01/2553
  3. http://www.siphhospital.com/th/about-us/history.php เก็บถาวร 2015-05-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ความเป็นมาของโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
  4. บริการสำหรับผู้ป่วย

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′37″N 100°29′09″E / 13.760250°N 100.485806°E / 13.760250; 100.485806