อำเภอบางปลาม้า
อำเภอในจังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย
บางปลาม้า เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 ตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีนตอนใต้ มีเนื้อที่ 482.954 ตร.กม.[1]
อำเภอบางปลาม้า | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Bang Pla Ma |
แผนที่จังหวัดสุพรรณบุรี เน้นอำเภอบางปลาม้า | |
พิกัด: 14°24′8″N 100°9′16″E / 14.40222°N 100.15444°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุพรรณบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 481.3 ตร.กม. (185.8 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 75,873 คน |
• ความหนาแน่น | 157.64 คน/ตร.กม. (408.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 72150 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 7204 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอบางปลาม้า หมู่ที่ 5 ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี 72150 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประวัติ
แก้ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2440 กำหนดเขตอำเภอบางปลาม้าตรงกับสมัยพระสมุทรคณานุรักษ์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีนตอนใต้ มี"ปลาม้า"ชุกชุม ที่ว่าการอำเภอหลังแรกตั้งอยู่บริเวณปากคลองบางปลาม้า ในปี 2442 เกิดเพลิงไหม้จึงได้ย้ายมาสร้างที่ปัจจุบัน[2]
- วันที่ 7 กรกฎาคม 2472 ยุบตำบลบ้านยอด รวมกับตำบลสามหมื่น ยุบตำบลบ้านแขก รวมกับตำบลโคกคราม ยุบตำบลสะแกย่างหมู รวมกับตำบลมะขามล้ม และยุบตำบลท้องขาหย่าง รวมกับตำบลองครักษ์[3]
- วันที่ 1 เมษายน 2480 เปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยโอนพื้นที่หมู่ 6 เฉพาะส่วนที่อยู่ฝั่งเหนือของคลองขุดพระยารักษ์ฯ ของตำบลจรเข้ใหญ่ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ไปขึ้นกับ ตำบลดอนลาน อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา[4]
- วันที่ 20 กันยายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลโคกคราม ในท้องที่บางส่วนของตำบลโคกคราม[5]
- วันที่ 20 มีนาคม 2505 จัดตั้งสุขาภิบาลบางปลาม้า ในท้องที่หมู่ 2 และหมู่ 7 ตำบลบางปลาม้า[6]
- วันที่ 13 กันยายน 2509 จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านแหลม ในท้องที่หมู่ 9 บ้านคอวัง ตำบลบ้านแหลม[7]
- วันที่ 30 ธันวาคม 2516 จัดตั้งสุขาภิบาลไผ่กองดิน ในท้องที่บางส่วนของตำบลไผ่กองดิน[8]
- วันที่ 14 กันยายน 2519 ตั้งตำบลวังน้ำเย็น แยกออกจากตำบลมะขามล้ม[9]
- วันที่ 11 เมษายน 2532 ตั้งตำบลวัดดาว แยกออกจากตำบลบ้านแหลม[10]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลโคกคราม สุขาภิบาลบางปลาม้า สุขาภิบาลบ้านแหลม และสุขาภิบาลไผ่กองดิน เป็นเทศบาลตำบลโคกคราม เทศบาลตำบลบางปลาม้า เทศบาลตำบลบ้านแหลม และเทศบาลตำบลไผ่กองดิน ตามลำดับ[11] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 27 พฤษภาคม 2553 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลโคกครามพัฒนา เป็นเทศบาลตำบลต้นคราม[12]
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอบางปลาม้ามีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเมืองสุพรรณบุรี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอผักไห่และอำเภอบางซ้าย (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสองพี่น้อง
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภออู่ทอง
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอบางปลาม้าแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 14 ตำบล 127 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | โคกคราม | (Khok Khram) | 8. | องครักษ์ | (Ongkharak) | ||||||||||||
2. | บางปลาม้า | (Bang Pla Ma) | 9. | จรเข้ใหญ่ | (Chorakhe Yai) | ||||||||||||
3. | ตะค่า | (Takha) | 10. | บ้านแหลม | (Ban Laem) | ||||||||||||
4. | บางใหญ่ | (Bang Yai) | 11. | มะขามล้ม | (Makham Lom) | ||||||||||||
5. | กฤษณา | (Kritsana) | 12. | วังน้ำเย็น | (Wang Nam Yen) | ||||||||||||
6. | สาลี | (Sali) | 13. | วัดโบสถ์ | (Wat Bot) | ||||||||||||
7. | ไผ่กองดิน | (Phai Kong Din) | 14. | วัดดาว | (Wat Dao) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอบางปลาม้าประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 18 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลโคกคราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกคราม เฉพาะหมู่ที่ 5 และบางส่วนของหมู่ที่ 4, 10
- เทศบาลตำบลบางปลาม้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางปลาม้า เฉพาะหมู่ที่ 2, 7
- เทศบาลตำบลบ้านแหลม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแหลม เฉพาะหมู่ที่ 2
- เทศบาลตำบลไผ่กองดิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่กองดิน เฉพาะหมู่ที่ 3–4
- เทศบาลตำบลต้นคราม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกคราม เฉพาะหมู่ 1–3, 6–9, 11–12 และบางส่วนของหมู่ที่ 4, 10
- เทศบาลตำบลตะค่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตะค่าทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบ้านแหลมพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านแหลม เฉพาะหมู่ที่ 1, 3–5
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลาม้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางปลาม้า เฉพาะหมู่ที่ 1, 3–6, 8–12
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกฤษณา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกฤษณาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสาลี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสาลีทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่กองดิน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไผ่กองดิน เฉพาะหมู่ที่ 1–2, 5–8
- องค์การบริหารส่วนตำบลองครักษ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลองครักษ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลจรเข้ใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจรเข้ใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมะขามล้มทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวังน้ำเย็น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังน้ำเย็นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวัดโบสถ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดโบสถ์ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลวัดดาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวัดดาวทั้งตำบล
อ้างอิง
แก้- ↑ "อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2017-10-11.
- ↑ [1] เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนอำเภอบางปลาม้า - ข้อมูลอำเภอ-สถานที่ท่องเที่ยว-ติดต่อราชการ
- ↑ "ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับบางตำบลในจังหวัดสุพรรณบุรี มณฑลนครชัยศรี ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ก): 86–88. July 7, 1929.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 54 (0 ก): 40–54. April 1, 1937. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 2019-10-05.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (75 ง): (ฉบับพิเศษ) 67-68. September 20, 1956.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 79 (27 ง): 680–681. March 20, 1962.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบ้านแหลม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 83 (78 ง): 2875–2876. September 13, 1966.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลไผ่กองดิน อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (179 ง): (ฉบับพิเศษ) 81-82. December 30, 1973.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (110 ง): 2429–2432. September 14, 1976.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบล ในท้องที่อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (55 ง): 2561–2565. April 11, 1989.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-12-23.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 127 (80 ง): 2. May 27, 2010.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้