ดุสิต รังคสิริ
นายดุสิต รังคสิริ (เกิด 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ 7 สมัย[1]
ดุสิต รังคสิริ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 26 สิงหาคม พ.ศ. 2533 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 (79 ปี) |
คู่สมรส | นางดาราพรรณ์ รังคสิริ |
ประวัติแก้ไข
นายดุสิต รังคสิริ เกิดเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2484 เป็นบุตรของนายสถิตย์ กับ คุณหญิงบัวเขียว รังคสิริ (ธิดาพ่อเจ้าเผือก แม่เจ้าสุคันธา ไชยประวัติ) สืบเชื้อสายมาจากเจ้าผู้ครองนครแพร่ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยยูทาห์ [2] สมรสกับนางดาราพรรณ์ รังคสิริ มีบุตร 2 คน
การทำงานแก้ไข
ดุสิต ประกอบอาชีพนักธุรกิจ ด้านสัมปทานไม้หมอนรถไฟ และไม้สำหรับสร้างสะพานรถไฟ และธุรกิจตัวแทนจำหน่ายน้ำมันสามทหาร (การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ในปัจจุบัน) ในนาม ห้างหุ้นส่วนจำกัดดุสิตพาณิชย์[3]
งานการเมืองแก้ไข
ดุสิต เคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัด ใน พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2522 ต่อมาลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2522 สังกัดพรรครวมไทย และได้รับเลือกติดต่อกัน จนถึง พ.ศ. 2538 รวม 7 สมัย[4]
ดุสิต ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เมื่อ พ.ศ. 2531 ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[5]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแก้ไข
ดุสิต รังคสิริ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 7 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดแพร่ สังกัดพรรครวมไทย (พ.ศ. 2529)
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดแพร่ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดแพร่ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดแพร่ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดแพร่ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดแพร่ สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดแพร่ สังกัดพรรคชาติไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2532 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2531 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ สถาบันพระปกเกล้า. นักการเมืองถิ่นจังหวัดแพร่ กรุงเทพ : สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2555
- ↑ ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2532. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2532
- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดแพร่. วันชาติ นภาศรี สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2555
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย)เล่ม ๑๐๖ ตอน ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ หน้า ๑
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เล่ม 105 ตอน 201ง วันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2531