พล เริงประเสริฐวิทย์

พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ (1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี

พล เริงประเสริฐวิทย์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2524 – 19 มีนาคม พ.ศ. 2526
นายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
หัวหน้าพรรคปวงชนชาวไทย
ดำรงตำแหน่ง
2 กุมภาพันธ์ – 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
ถัดไปชาติชาย ชุณหะวัณ (หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
21 มีนาคม พ.ศ. 2523 – 22 มกราคม พ.ศ. 2524
นายกรัฐมนตรีพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473
เสียชีวิต24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 (66 ปี)
พรรคการเมืองพรรคความหวังใหม่
คู่สมรสยุพิน (ล่ำซำ) เริงประเสริฐวิทย์

ประวัติ แก้

พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473[1] ที่ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก [2]

งานการเมือง แก้

พันเอก พล ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุทัยธานี ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2522 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2538[3]

พันเอก พล ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อ พ.ศ. 2523 ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์[4] และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ครม. 42 และ 45) ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์[5] และ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[6]

พันเอก พล เป็นหัวหน้าพรรคคนแรกของพรรคสยามประชาธิปไตย[7] ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคสหประชาธิปไตย

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ดังนี้

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดอุทัยธานี สังกัดพรรคสยามประชาธิปไตย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดอุทัยธานี สังกัดพรรคชาติไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดอุทัยธานี สังกัดพรรคสหประชาธิปไตย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดอุทัยธานี สังกัดพรรคสหประชาธิปไตย
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดอุทัยธานี สังกัดพรรคปวงชนชาวไทย (พ.ศ. 2525)
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดอุทัยธานี สังกัดพรรคความหวังใหม่

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539[8] สิริอายุรวม 66 ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประวัติย่อ พันเอก พล เริงประเสริฐวิทย์
  2. ภาพและประวัติสมาชิกรัฐสภา พ.ศ. 2531. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2531
  3. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  4. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-25. สืบค้นเมื่อ 2015-09-21.
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒๖ ราย)
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (สยามประชาธิปไตย) เล่ม 100 ตอนที่ 8 วันที่ 20 มกราคม 2526
  8. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พันเอก (พิเศษ) พล เริงประเสริฐวิทย์
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๕ ง หน้า ๑๗๕, ๒๗ มกราคม ๒๕๐๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๓
  13. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๗๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
  14. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๙๐ ง หน้า ๒๔๖๐, ๒๒ กันยายน ๒๕๐๗