สกุล ศรีพรหม
สกุล ศรีพรหม (28 เมษายน พ.ศ. 2475 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2547) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา
สกุล ศรีพรหม | |
---|---|
ไฟล์:สกุลศรีพรหม2547.jpg | |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 เมษายน พ.ศ. 2475 จังหวัดนครราชสีมา ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 (72 ปี) เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2522–2539) ชาติพัฒนา (2539–2547) |
คู่สมรส | เกษร ศรีพรหม |
ลายมือชื่อ | ![]() |
ประวัติ
แก้สกุล เกิดเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2475 ณ บ้านเลขที่ 242-243 ตรอกกงสุลฝรั่งเศส(ตรอกวัดแจ้งใน) ตรงข้างวัดแจ้งใน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจาก โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย ระดับประโยคเตรียมอุดมศึกษา ในปี พ.ศ. 2492 จากนั้นได้รับประกาศนียบัตรครูพิเศษมัธยม ประกาศนียบัตรวิชาสถิติ จากสมาคมคณิตศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาตรีทางกฎหมาย นิติศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เริ่มเป็นครูตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 ณ โรงเรียนสหวิทยา (ปัจจุบันคือรวมมิตรวิทยาและโรงเรียนศิริวิทยากร) จนถึงปี พ.ศ. 2511 ได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองนครราชสีมา และได้รับแต่งตั้งเป็นเทศมนตรีเทศบาลเมืองนครราชสีมา พ.ศ. 2516 – พ.ศ. 2522 เป็นผู้พิพากษาสมทบ ศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมา ในช่วง พ.ศ. 2522 - 2531 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมาและได้รับเลือกตั้งติดต่อกัน 4 สมัย
เคยได้รับตำแหน่งทางการเมือง เช่นผู้ช่วยเลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รองเลขาธิการพรรคชาติไทย จากนั้นในปี พ.ศ. 2529 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และ พ.ศ. 2531 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (คณะรัฐมนตรีคณะที่ 45 ของไทย[1] , คณะรัฐมนตรีคณะที่ 46 ของไทย[2]) และพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เนื่องจาก การ รัฐประหาร โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)
สกุล ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 สิริอายุ 72 ปี
ประวัติครอบครัว
แก้อาจารย์สกุล ศรีพรหม สมรส กับ นางเกสร ศรีพรหม (ชื่อเดิม ลมุล) เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 มีบุตรธิดา รวม 9 คน คือ
- นายดุลยรัตน์ ศรีพรหม
- นางพรพัชรี สำนักโนน
- นางศรีธิดา ขจรปรีดานนท์
- นางสาวรวีวรรณ ศรีพรหม
- นายเจษฎา ศรีพรหม
- นางสาวนาริสา ศรีพรหม
- นางสาวภัทรา ศรีพรหม
- นางสาวเขตศิริ ศรีพรหม
- นายอภิรัตน์ ศรีพรหม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2531 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๑, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๙๙ ง หน้า ๔๓๖๘, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๒