สังคมศาสตร์ (อังกฤษ: social science) เป็นหมวดหมู่สำคัญของสาขาทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสังคมและความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกภายในสังคม สังคมศาสตร์ประกอบด้วยหลายแขนงในสาขาวิชา สาขาทางสังคมศาสตร์ประกอบด้วย การสื่อสารศึกษา จิตวิทยา นิติศาสตร์ โบราณคดี ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ภูมิศาสตร์มนุษย์ มานุษยวิทยา รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมวิทยา สาธารณสุข และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นิยามของสังคมศาสตร์ในบางช่วงเวลาถูกใช้ในการอ้างเฉพาะถึงสาขาทางสังคมวิทยาหรือคำดั้งเดิมคือ "ศาสตร์แห่งสังคม" ซึ่งเริ่มใช้ในศตวรรษที่ 19 สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมของสาขาย่อยในสังคมศาสตร์ดูเพิ่มที่เติมที่โครงร่างสังคมศาสตร์

นักสังคมศาสตร์เชิงปฏิฐานนิยมใช้ระเบียบวิธีที่ใกล้เคียงกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเป็นเครื่องมือในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับสังคม และกำหนดนิยามของศาสตร์ภายใต้การรับรู้สมัยใหม่อย่างเคร่งครัด ตรงกันข้ามกับนักสังคมศาสตร์ที่คัดค้านปฏิฐานนิยมอาจใช้การวิพากษ์สังคมหรือตีความเชิงสัญลักษณ์แทนการสร้างทฤษฎีเชิงประจักษ์ที่เป็นเท็จได้และทำให้มีมุมมองของศาสตร์ที่กว้างขึ้น ในการปฏิบัติทางวิชาการสมัยใหม่นักวิจัยมักใช้แนวคิดสรรผสานโดยใช้ระเบียบวิธีหลายวิธี (ตัวอย่างเช่นการมีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ) นิยามของ "การวิจัยทางสังคมศาสตร์" ยังได้รับความเป็นเอกเทศจากผู้ที่เกี่ยวข้องเนื่องจากมีความหลากหลายของสาขาวิชาในการแบ่งปันจุดมุ่งหมายและวิธีการในการวิจัย

แขนงวิชา

แก้

แขนงวิชาหลักในสาขาสังคมศาสตร์ประกอบด้วย

สังคมศาสตร์ในประเทศไทย

แก้

สถานะของสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในวงการอุดมศึกษาไทยปัจจุบันค่อนข้างถูกละเลยความสำคัญ สาขาวิชาทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ในสถาบันอุดมศึกษาบางแห่งถูกลดสถานะลง หรือได้รับความสนใจจากนิสิตนักศึกษาน้อยลง เนื่องจากเป็นแขนงวิชาที่ถูกมองว่าไม่ตอบสนองโดยตรงต่อต่อความต้องการของตลาดแรงงานและภาคธุรกิจ และการนโยบายการพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นแต่ความสำคัญของสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[1]

ดูเพิ่ม

แก้

ทั่วไป

แก้

ระเบียบวิธี

แก้

ขอบเขต

แก้

รายการ

แก้

บุคคล

แก้

อื่น ๆ

แก้

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้