นิกโกเลาะ มาเกียเวลลี
นิคโคโล ดี แบร์นาโด เดย์ มาเคียเวลลี (อิตาลี: Niccolò di Bernardo dei Machiavelli) เป็นนักปรัชญา นักเขียน และนักรัฐศาสตร์ชาวฟลอเรนซ์ นับเป็นหนึ่งในบิดาแห่งรัฐศาสตร์ยุคใหม่ มีชีวิตอยู่ในยุคเรอเนซองส์ ซึ่งเขาเป็นนักวิชาการ นักปรัชญาการเมือง นักดนตรี กวี นักเขียนบทละคร แต่ที่สำคัญคือเขาเป็นอาสาสมัครสาธารณกิจแห่งสาธารณรัฐฟลอเรนไทน์ เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1498 หลังจากที่ จิโรลาโม ซาโวนาโรลา ถูกไล่ออกและประหารชีวิต สภาใหญ่ได้เลือกให้มาเกียเวลลีเป็นเลขานุการสถานทูตที่สองของสาธารณรัฐฟลอเรนซ์ (second Chancery of the Republic of Florence)[5] ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งรัฐศาสตร์สมัยใหม่
นิกโคโล มาเคียเวลลี Niccolò Machiavelli | |
---|---|
เกิด | 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1469 ฟลอเรนซ์ สาธารณรัฐฟลอเรนซ์ |
เสียชีวิต | 21 มิถุนายน ค.ศ. 1527 ฟลอเรนซ์ สาธารณรัฐฟลอเรนซ์ | (58 ปี)
ผลงานเด่น | The Prince, Discourses on Livy |
คู่สมรส | Marietta Corsini (สมรส 1502) |
ยุค | เรอแนซ็องส์ |
แนวทาง | ปรัชญาตะวันตก |
ความสนใจหลัก | การเมือง, ปรัชญาการเมือง, ประวัติศาสตร์, ทฤษฎีทหาร |
ได้รับอิทธิพลจาก | |
เป็นอิทธิพลต่อ
| |
ลายมือชื่อ | |
มาเกียเวลลีถือได้ว่าเป็นบุคคลตัวอย่างของยุคเรอเนซองส์เช่นเดียวกับลีโอนาร์โด ดา วินชี เขามีชื่อเสียงจากงานเขียนเรื่องสั้นการเมืองเรื่อง เจ้าผู้ปกครอง(The Prince) ซึ่งเล่าถึงทฤษฎีทางการเมืองแบบที่เป็นจริง แต่งานเขียนของมาเกียเวลลีไม่ได้รับการตีพิมพ์จนกระทั่งหลังจากเขาเสียชีวิตแล้ว โดยมากเขาจะส่งกันอ่านในหมู่เพื่อนฝูงเท่านั้น ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้เกิดระบบการเมืองแบบรัฐชาติ งานเขียนเพียงชิ้นเดียวที่ได้รับตีพิมพ์ในระหว่างที่เขามีชีวิตอยู่คือ ศิลป์สงคราม
นามสกุลของเขา ได้กลายไปเป็นคำศัพท์ในทางการเมือง ว่า "มาเกียเวลลี" (ผู้เฉียบแหลมมีปฏิภาณ) และ "มาเกียเวลเลียน" (การใช้เล่ห์เหลี่ยมอุบายในการเมือง)
ประวัติ
แก้นิกโกเลาะ มาเกียเวลลี เกิดเมื่อ 3 พฤษภาคม ค.ศ.1469 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี บิดาของมาเกียเวลลี คือ แบร์นาร์โด มาเกียเวลลี มีอาชีพเป็นทนายความและสนใจการศึกษาด้านมนุษยศาสตร์ ส่วนมารดา คือ บาร์โรโลเนีย เปลลี ว่ากันว่าเป็นกวีทางศาสนา มาเกียเวลลีเริ่มเรียนหนังสือเมื่ออายุ 7 ปี โดยศึกษาเกี่ยวกับภาษาลาตินเป็นพื้นฐาน เมื่ออายุได้ 12 ปี ได้ศึกษากับอาจารย์ที่มีชื่อเสียงคือ เปาโล ดารอนิโญนี (Pao Daroniglioni) และได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์ ซึ่งได้พบอาจารย์ที่มีอิทธิพลต่อมาเกียเวลลีเป็นอย่างมาก นั่นก็คือ มาร์เชลโล อะเดรียนี (Marcello Adriani) ซึ่งเป็นอาจารย์ที่สอนวิชาคลาสสิคที่มหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์ ต่อมาอาจารย์ท่านนี้ได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ในเมืองฟลอเรนซ์[6]
มาเกียเวลลีเริ่มรับราชการครั้งแรกในช่วงเดือน มิถุนายน ค.ศ.1498 ในตำแหน่งเลขานุการฝ่ายการทูตแห่งมหาชนรัฐฟลอเรนซ์ ขณะนั้น มาเกียเวลลี อายุได้ 19 ปี และได้ดำรงตำแหน่งนี้เป็นนระยะเวลา 14 ปี[7] ซึ่งทำให้มาเกียเวลลีได้เดนทางไปสังเกตการณ์ทางการทูตทั้งภายในและภายนอกประเทศอิตาลี โดยมาเกียเวลลีได้มีโอกาสพบกับบุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลทางการเมืองหลายท่านทำให้มีโอกาสได้พบกับ เชซาเร บอร์เจีย (Cesare Borgia)ในปี ค.ศ.1502 ผู้นำทัพเข้ายึดดินแดนของสันตะปาปาอย่างไม่เกรงกลัวต่ออำนาจใดๆทั้งสิ้น ทำให้มาเกียเวลลีประทับใจท่านเชซาเร บอร์เจีย เป็นอย่างมากซึ่งเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจที่สำคัญในการเขียน The Prince หรือ เจ้าผู้ปกครอง (โดยเฉพาะบทที่7) นอกจากนั้นยังมีโฮกาสได้พบกับสันตะปาปาจูเลียสที่2 เมื่อ ค.ศ.1506 และจักรพรรดิแมกซิมิเลียน เมื่อ ค.ศ.1507[8]
มาเกียเวลลีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเลขานุการของคณะกรรมการทั้งเก้าของกองทหารแห่งชาติในปี ค.ศ.1506 สามารถจัดตั้งกองทหารดังกล่าวสำเร็จในปี ค.ศ.1509 เหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้มาเกียเวลลีมีอิทธิพลและสามารถทำให้ประชาชนในเมืองฟลอเรนซ์ยอมรับในตัวมาเกียเวลลีมากยิ่งขึ้น ในปี ค.ศ.1510 เกิดการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ทางการเมืองทำให้เมืองฟลอเรนซ์ทำให้เมืองฟลอเรนซ์กลับไปอยู่ภายใต้การปกครองของตระกูลเมดิชีอีกครั้ง(ซึ่งตระกูลเมดิชีเคยมีอำนาจในเมืองฟลอเรนซ์มาตั้งแต่ปี ค.ศ.1432) มาเกียเวลลีถูกปลดออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิการยน ค.ศ.1512 ขณะนั้นมาเกียเวลลีอายุ 43 ปี แต่ความโชคร้ายไม่ได้หยุดเพียงแค่นั้นเพราะต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ.1513 มาเกียเวลลีถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการโค่นล้มอำนาจของตระกูลเมดิชีที่ถูกจับได้ ทำให้ถูกจับกุมและโดนทรมาน แต่เพราะมาเกียเวลลีไม่ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาจึงได้รับอิสรภาพเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ.1513 ตามประกาศนิรโทษกรรม หลังจากนั้นมาเกียเวลลีได้ย้ายไปอยู่ชนบทพร้อมภรรยาและบุตรอีก 6 คน ที่ซาน อันเดรีย (San Andrea) ในแปร์กุชชินา ห่างไปทางตอนใต้ของเมืองฟลอเรนซ์ 7 ไมล์ และได้อุทิศตัวเองเพื่อการศึกษาและการเขียนตำราทางการเมือง ซึ่งผลงานเหล่านั้นได้สร้างชื่อเสียงให้มาเกียเวลลีไม่ว่าจะเป็น บทความวิชาการ ร้อยแก้วร้อยกรอง หรือบทละครต่างๆ เช่น เจ้าผู้ปกครอง (The Prince) จนเมื่อปี ค.ศ.1520 มาเกียเวลลีได้รับบัญชาจากคาร์ดินัล จูลิโอ เด เมดิซี ให้เขียนประวัติของนครฟลอเรนซ์[9]ในปี ค.ศ.1525 ได้กลับเข้ามาวงการของการเมืองอีกครั้งเป็นระยะเวลาสั้น ในปี ค.ศ.1526 ได้เป็นประธานคณะกรรมการส่วนท้องถิ่นและมาเกียเวลลีได้มีโอกาสไปปฏิบัติการทางการทูตในฐานะกึ่งเจ้าหน้าที่ของสำนักสันตะปาปา ทำให้มาเกียเวลลีมีความหวังที่จะไดกลับมารับตำแหน่งในเมืองฟลอเรนซ์อีกครั้ง แต่ถูกกล่าวหาซึ่งทำให้เสียโอกาสที่จะเข้าไปรับราชการในตำแหน่งเลขานุการ มาเกียเวลลีถึงแก่กรรมด้วยวัย 58 ปี เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน ค.ศ.1527 และมีพิธีฝังศพเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ.1527 ณ ซันตา โครเช ฟลอเรนซ์[10]
ผลงาน
แก้ผลงานในด้านวรรณกรรมหรืองานเขียนของมาเกียเวลลีมีหลากหลายประเภทโดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้[11]
งานเขียนที่เป็นผลมาจากหน้าที่การงาน
แก้- Reports on The Florentine's Republic's Efforts to Suppress the Pistoia Factions
- Of the Methods of Dealing with the Rebels of the Valdichiana
- Discourses on Florentine Military Preparation
- Description on the Affairs of France
- Report on the Affair of Germany
งานเขียนหลังจากที่มาเกียเวลลีออกจากราชการ เป็นช่วงที่มีผลงานมากที่สุด
แก้- เจ้าผู้ปกครอง (Il Principe) (ค.ศ.1513)
- วจนิพนธ์ว่าด้วยสิบแรกของติตุส ลีวิอุส (Discorsi sopra la prima Deca di Tito Livio) (ค.ศ.1512-16)
- ศิลป์สงคราม (Dell'arte della guerra) (ค.ศ.1520)
- ชีวิตของกัสทรุกซิโอ กัสตรากานี (Vita di Castruccio Castracani) (ค.ศ.1520)
- ประวัติศาสตร์ฟลอเรนซ์ (Istorie fiorentine) (ค.ศ.1520-25)
งานเขียนที่เป็นบทกวีหรือบทละครตลก
แก้- The Golden Ass
- Decennale primo (ค.ศ.1506)
- Decennale secondo (ค.ศ.1509)
- Belfagor arcidiavolo (ค.ศ.1515)
- Andria or The Girl From Andros (ค.ศ.1517)
- Asino d'oro (ค.ศ.1517)
- Mandragola (ค.ศ.1518)
- Frammenti storici (ค.ศ.1525)
อ้างอิง
แก้- ↑ J.-J. Rousseau, Contrat sociale, III, 6
- ↑ Airaksinen, Timo (2001). The philosophy of the Marquis de Sade. Taylor & Francis e-Library. p. 20. ISBN 0-203-17439-9.
Two of Sade’s own intellectual heroes were Niccolò Machiavelli and Thomas Hobbes, both of whom he interpreted in the traditional manner to recommend wickedness as an ingredient of virtue.
- ↑ Diderot, Denis. "Machivellianism". Encyclopedie.
- ↑ Najemy, John M. (2010). The Cambridge Companion to Machiavelli. Cambridge University Press. p. 259.
- ↑ White, Michael (2007). Machiavelli, A Man Misunderstood. Abacus.. ISBN 978-0-349-11599-3.
- ↑ คำนวล คำมณ๊.(2547).(ปรัชญาการเมือง).หน้า70
- ↑ ธีระวิทย์.(2523).(สถาปนิกผู้สร้าง ทฤษฎีการเมืองตะวันตก จากแม็คคีเอเวลลีถึงรูสโซ).หน้า11
- ↑ สมบัติ จันทรวงศ์.(2551).(์Niccolo Machiavelli The Prince เจ้าผู้ปกครอง).หน้า17
- ↑ สมบัติ จันทรวงศ์.(2551).(Niccolo Machiavelli The Prince เจ้าผู้ปกครอง).หน้า17-22
- ↑ สมบัติ จันทรวงศ์.(2551).(Niccolo Machiavelli The Prince เจ้าผู้ปกครอง).หน้า21
- ↑ สมบัติ จันทรวงศ์.(2521).(ปรัชญาการเมืองสมัยใหม่).หน้า26