ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์

ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ (History of science) คือ การศึกษาพัฒนาการของวิทยาศาสตร์ รวมทั้งวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์เชิงสังคม วิทยาศาสตร์เป็นองค์ความรู้เชิงประจักษ์ทั้นในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ เกี่ยวกับธรรมชาติของโลกและจักรวาล วิทยาศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ได้รับการค้นพบและต่อยอดโดยนักวิทยาศาสตร์จากรุ่นสู่รุ่น นักวิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญกับการสังเกต อธิบาย และทำนายปรากฏการณ์ในโลกแห่งความเป็นจริง[1] นอกจากนั้นประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ยังศึกษาผลกระทบของนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองของมนุษยชาติในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งของวิชาประวัติศาสตร์

กลไกแอนติคิเธียรา (Antikythera mechanism) เป็นคอมพิวเตอร์แอนะล็อกที่สร้างขึ้นในยุคกรีกโบราณเพื่อทำนายตำแหน่งทางดาราศาสตร์และสุริยุปราคา วิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นในอารยธรรมเริ่มแรกคือดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์

วิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิศวกรรม หรือ ฟิสิกส์ที่เราเข้าใจกันในปัจจุบันนั้น ล้วนมีจุดกำเนิดการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ในยุคพื้นฟูศิลปวิทยาของยุโรป ซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์เหล่านั้น มีรากฐานจากผลงานที่คิดค้นขึ้นในสมัยกรีกโบราณและผลงานความรู้จากโลกมุสลิมที่มาจากโลกตะวันออก ซึ่งรับช่วงต่อมาจากอารยธรรมอียิปต์ เมโสโปเตเมีย และอินเดีย

คำว่า "Scientist" ในภาษาอังกฤษซึ่งแปลว่า "นักวิทยาศาสตร์"เป็นคำที่เกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ศตวรรษที่แล้ว คำนี้ได้มีการใช้เป็นครั้งแรกโดย วิลเลียม เวเวล (William Whewell) ในศตวรรษที่ 19[2] ก่อนหน้านั้นผู้ที่สำรวจธรรมชาติของโลกเรียกตัวเองว่า "นักปรัชญาธรรมชาติ (Natural philosopher)" การสังเกตการณ์ธรรมชาติของโลกและจักรวาลนั้นมีมาตั้งแต่ยุคโบราณ ตัวอย่างเช่นนักปรัชญาธรรมชาติชาวกรีก ธาเลส (Thales) และ อริสโตเติล (Aristotle) และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) ถูกนำมาใช้ตั้งแต่สมัยยุคกลางของยุโรปซึ่งมีที่มาจากโลกมุสลิม ตัวอย่างเช่น นักปราชญ์ชาวอาหรับ อิบน์ อัลฮัยษัม (Ibn al-Haytham) และนักปราชญ์ชาวอังกฤษ โรเจอร์ เบคอน (Roger Bacon) วิทยาศาสตร์สมัยใหม่เริ่มขึ้นในช่วงต้นยุคใหม่ (Modern era) เพื่อการพัฒนาศักยภาพทางอุตสาหกรรมและการทำความเข้าใจกับธรรมชาติของจักรวาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ในทวีปยุโรปช่วงศตวรรษที่ 16 และศตวรรษที่ 17[3]

ยุคโบราณ แก้

เมโสโปเตเมีย แก้

กรีก-โรมัน แก้

อินเดีย แก้

จีน แก้

ยุคกลาง แก้

จักรวรรดิไบเซนไทน์ แก้

โลกมุสลิม แก้

ยุโรปตะวันตก แก้

ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา : การกำเนิดใหม่ของวิทยาศาสตร์ในทวีปยุโรป แก้

ยุคเรืองปัญญา แก้

ยุคใหม่ : วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ แก้

คณิตศาสตร์ แก้

ตรรกศาสตร์ แก้

ฟิสิกส์ แก้

ดาราศาสตร์ แก้

ธรณีวิทยา แก้

เคมี แก้

ชีววิทยา แก้

เภสัชศาสตร์ แก้

สังคมศาสตร์ แก้

โบราณคดี แก้

เศรษฐศาสตร์ แก้

มานุษยวิทยา แก้

ศาสตร์เกิดใหม่ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "For our purpose, science may be defined as ordered knowledge of natural phenomena and of the relations between them." William C. Dampier-Whetham, "Science", in Encyclopædia Britannica, 11th ed. (New York: 1911); "Science comprises, first, the orderly and systematic comprehension, description and/or explanation of natural phenomena and, secondly, the [mathematical and logical] tools necessary for the undertaking." Marshall Clagett, Greek Science in Antiquity (New York: Collier Books, 1955); "Science is a systematic explanation of perceived or imaginary phenomena, or else is based on such an explanation. Mathematics finds a place in science only as one of the symbolical languages in which scientific explanations may be expressed." David Pingree, "Hellenophilia versus the History of Science", Isis 83, 559 (1982); Pat Munday, entry "History of Science", New Dictionary of the History of Ideas (Charles Scribner's Sons, 2005).
  2. "Whewell and the coining of 'scientist' in the Quarterly Review » Science Comma". blogs.kent.ac.uk. สืบค้นเมื่อ 2016-10-19.
  3. Hendrix, Scott E. (2011). "Natural Philosophy or Science in Premodern Epistemic Regimes? The Case of the Astrology of Albert the Great and Galileo Galilei". Teorie Vědy / Theory of Science. 33 (1): 111–132. สืบค้นเมื่อ 20 February 2012.