พฤติกรรมศาสตร์
พฤติกรรมศาสตร์ (อังกฤษ: Behavioral sciences) เป็นขบวนการรับรู้และการมีปฏิสัมพันธ์ในทางพฤติกรรมในสิ่งมีชีวิต พฤติกรรมศาสตร์ประกอบด้วยการศึกษาและวิจัยอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับพฤติกรรมในมนุษย์และสัตว์ ผ่านการสำรวจสภาวะที่เป็นอยู่โดยธรรมชาติ, การทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่มีตัวแปรควบคุม หรือจากโมเดลทางคณิตศาสตร์ เป้าหมายของพฤติกรรมศาสตร์คือการหาข้อสรุปที่ถูกต้องและเป็นรูปธรรมผ่านการคิดเป็นระบบและการสำรวจที่แม่นยำ[1] ตัวอย่างของพฤติกรรมศาสตร์เช่นจิตวิทยา, จิตวิทยาชีวภาพ, มานุษยวิทยา และ ประชานศาสตร์ โดยทั่วไป พฤติกรรมศาสตร์สามารถแสดงให้เห็นว่าการกระทำของมุนษย์มักเสาะหาการวางหลักการ (seeks to generalize) เกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ในฐานะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสังคมและผลกระทบต่อสังคมโดยรวม[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ Klemke, E. D., Hollinger, R., and Kline, A. D., (1980), Introduction to the book in 'Introductory Readings in the Philosophy of Science': Buffalo, New York, Prometheus Books p 11-12
- ↑ "Definition of BEHAVIOURAL SCIENCE". www.merriam-webster.com. สืบค้นเมื่อ 19 March 2018.