ประชานศาสตร์
ประชานศาสตร์ หรือ วิทยาการการรู้ หรือ วิทยาการปัญญา หรือ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา (อังกฤษ: cognitive science) ความหมายโดยทั่วไปคือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ทั้งเรื่องของความคิดและความฉลาด แต่หากกล่าวอย่างเป็นรูปนัยจะเน้นว่าเป็นการศึกษาด้านสหวิทยาการประกอบด้วย ประชานจิตวิทยา (cognitive psychology) ประสาทจิตวิทยา (neuropsychology) ภาษาศาสตร์ ปรัชญา วิทยาการคอมพิวเตอร์ (เจาะจงเรื่องปัญญาประดิษฐ์) มานุษยวิทยา และ จิตชีววิทยา (psychobiology) หรือสาขาประยุกต์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อการศึกษาวิจัยภาวะของจิตและกระบวนการที่มนุษย์ควบคุมเปลี่ยนแปรยักย้ายข้อมูลข่าวสาร งานวิจัยในสาขาวิทยาการการรู้ได้ประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากหลากหลายสาขาเพื่อศึกษาการทำงานของระหว่างสมองและจิตใจ (brain and mind) ศึกษาวิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างการคิด อารมณ์ และการกระทำ การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (brain-based learning) พฤติกรรม ความผิดปกติทางการเรียน การรับรู้ ความสนใจ การจำ การแก้ปัญหา การคำนวณ การให้เหตุผล และการตัดสินใจ บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เช่น การแปลผลจากการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) การวิเคราะห์จากถ่ายภาพสมอง (brain imaging) เป็นต้น [1] [2] [3]
อ้างอิง
แก้- ↑ [1] บทความ "วิทยาการปัญญาคืออะไร?", วิชาการ.คอม, 23 กันยายน 2553
- ↑ มนตรี โพธิโสโนทัย, (2552). การประยุกต์ใช้งานคลื่นไฟฟ้าสมองกับงานวิจัยด้านวิทยาการปัญญา, วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, ปีที่ 7, ฉบับที่ 1, หน้า 1-14.
- ↑ มนตรี โพธิโสโนทัย, (2553). การศึกษาการทำงานของสมองและจิตใจในสาขาวิทยาการปัญญา, เซมิคอนดักเตอร์อิเล็กทรอนิกส์, ฉบับที่ 350, หน้า 146-152.