เดวิด ฮูม
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เดวิด ฮูม (อังกฤษ: David Hume; เกิด เดวิด ฮูม (อังกฤษ: David Home); 26 เมษายน ค.ศ. 1711 - 25 สิงหาคม ค.ศ. 1776) เป็นนักปรัชญา และนักประวัติศาสตร์ ชาวสกอตแลนด์ และเป็นบุคคลสำคัญที่สุดคนหนึ่งใน ยุคเรืองปัญญาแห่งสกอตแลนด์ (บุคคลสำคัญคนอื่น ๆ ในยุคนี้ ได้แก่ อดัม สมิธ, ทอมัส เรด เป็นต้น)
เดวิด ฮูม | |
---|---|
ภาพโดยAllan Ramsay | |
เกิด | เดวิด ฮูม (David Home) 7 พฤษภาคม แบบใหม่ [26 เมษายน แบบเก่า] ค.ศ.1711 เอดินบะระ, สกอตแลนด์, ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ |
เสียชีวิต | 25 สิงหาคม ค.ศ. 1776 เอดินบะระ, สกอตแลนด์, ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ | (65 ปี)
สัญชาติ | สกอต |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยเอดินบะระ |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
มีอิทธิพลต่อ |
|
ได้รับอิทธิพลจาก |
หลายคนยกย่องให้ฮูม เป็นคนหนึ่งในกลุ่มที่เรียกว่า นักประสบการณ์นิยมชาวบริเตนทั้งสาม ซึ่งฮูมถือเป็นคนที่สามในกลุ่มนี้ ถัดจาก จอห์น ล็อก ชาวอังกฤษ และ จอร์จ บาร์กลีย์ ชาวอังกฤษ-ไอริช นอกจากนี้ยังถือว่าฮูม เป็นคนที่มีแนวคิดทางปรัชญาถึงรากถึงโคนที่สุด ในทั้งสามคนนี้ด้วย. การจัด ฮูม ล็อก และ บาร์กลีย์ ไว้ด้วยกันเช่นนี้ แม้ว่าจะเป็นการจัดตามแบบดั้งเดิม แต่ก็นับว่าได้ละเลยอิทธิพลสำคัญ ๆ ที่ฮูมได้รับจากนักเขียนที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ (Francophone) หลายคน เช่น ปิแยร์ เบย์ล และจากบุคคลสำคัญในแวดวงวิชาการที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ (Anglophone) อีกหลายคนเช่น ไอแซก นิวตัน, แซมวล คลาร์ก, ฟรานซิส ฮัตชิสัน และ จอเซฟ บัตเลอร์
ชีวิตการงาน
แก้ฮูมเกิดในเอดินบะระและเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยเอดินบะระ เดิมทีนั้นเขาคิดจะประกอบอาชีพด้านกฎหมาย แต่แล้วเขากลับบังเกิด "ความรังเกียจอันไม่อาจเอาชนะได้ต่อทุกสิ่งทุกอย่าง จะยกเว้นก็แต่ความกวดขันในงานทางปรัชญาและความรู้ทั่วไป" (ตามคำของฮูมเอง)
ฮูมศึกษาด้วยตนเองในฝรั่งเศส ที่ซึ่งเขาได้เขียนความเรียงว่าด้วยธรรมชาติของมนุษย์จนเสร็จสมบูรณ์ ขณะนั้นฮูมมีอายุได้ 26 ปี แม้ว่านักวิชาการจำนวนมากในปัจจุบันจะเห็นว่าความเรียงฯ เป็นงานชิ้นสำคัญที่สุดของฮูม อีกทั้งยังเป็นหนังสือเล่มสำคัญที่สุดเล่มหนึ่งในประวัติศาสตร์ปรัชญา แต่สารธารณชนในอังกฤษสมัยนั้นดูจะไม่คิดเช่นนั้น ฮูมถึงกับบรรยายปฏิกิริยาที่สาธารณชนมีต่อการตีพิมพ์ความเรียงฯ ในปี ค.ศ. 1739–40 ไว้ในข้อเขียนของเขาว่าหนังสือเล่มดังกล่าว "แท้งตั้งแต่อยู่บนแท่นพิมพ์"
หลังจากทำงานรับใช้บุคคลสำคัญทางการเมืองและการทหารหลายคนได้ราวสองสามปี ฮูมก็กลับไปทำงานค้นคว้าต่ออีกครั้ง เมื่อฮูมตัดสินใจได้ว่าปัญหาของความเรียงฯ มิได้อยู่ที่เนื้อหา หากแต่อยู่ที่ลีลาการประพันธ์ เขาจึงนำเนื้อหาบางส่วนในความเรียงฯ มาปรับปรุงแก้ไขใหม่ให้สาธารณชนอ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น แล้วตีพิมพ์ในชื่อ การไต่สวนถึงความเข้าใจของมนุษย์ ถึงแม้การไต่สวนฯ จะมิได้ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามก็ตาม แต่อย่างน้อยงานชิ้นนี้ก็ได้รับความนิยมมากกว่าความเรียงฯ
ฮูมพลาดโอกาสที่จะได้เป็นศาสตราจารย์ทางปรัชญาทั้งที่เอดินบะระและที่กลาสโกว์ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะข้อกล่าวหาว่าฮูมไม่นับถือพระเป็นเจ้า และอาจเป็นเพราะการต่อต้านจากทอมัส เรด ผู้ซึ่งเป็นบุคคลหนึ่งที่วิพากษ์งานของฮูมอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่ฮูมกำลังกวดขันกับงานทางปรัชญาของเขาอยู่นั้นเอง ฮูมก็ได้รับเกียรติทางวรรณกรรมทั้งในฐานะนักเขียนบทความและนักประวัติศาสตร์ กว่าที่งานของฮูมจะได้เป็นจุดสนใจของวงการปรัชญานั้น ก็เมื่ออิมมานูเอิล คานท์ นักปรัชญาคนสำคัญในยุคต่อมา ได้เขียนให้เกียรติฮูมในฐานะที่ได้ปลุกตนให้ตื่นจาก "การหลับใหลอยู่กับหลักความเชื่อ" (ราว ค.ศ. 1770)
มรดกทางปรัชญาของฮูม
แก้แม้งานของฮูมจะเขียนขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็ตาม แต่งานเหล่านั้นยังคงมีความสำคัญในฐานะหัวข้อถกเถียงในวงการปรัชญาปัจจุบัน ซึ่งถือว่าไม่ธรรมดาเลยเมื่อเปรียบเทียบกับงานของนักปรัชญาคนอื่น ๆ ในสมัยเดียวกัน งานทางปรัชญาชิ้นสำคัญ ๆ ของฮูมอาจพอสรุปได้ดังต่อไปนี้
- ปัญหาว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล
- ปัญหาว่าด้วยการนิรนัย
- ทฤษฎีความสืบเนื่องของตัวตน
- การใช้เหตุผลเชิงปฏิบัติ : อุปกรณ์นิยมและสุญนิยม
- ลัทธิปฏิสัจนิยมทางศีลธรรมและแรงจูงใจ
- เจตจำนงเสรีกับลัทธิอนิยัตินิยม
- ปัญหาว่าด้วยสิ่งที่เป็น-สิ่งที่ควร
- อรรถประโยชน์นิยม
- ปัญหาว่าด้วยปาฏิหาริย์
- ข้อถกเถียงเรื่องการออกแบบโดยพระเป็นเจ้า
- อนุรักษนิยมและทฤษฎีการเมือง
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Martin Orejana 1991, p. ?.
- ↑ Fisher 2011, p. 527–528.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อSEP
- ↑ Fumerton, Richard (21 February 2000). "Foundationalist Theories of Epistemic Justification". Stanford Encyclopedia of Philosophy. สืบค้นเมื่อ 19 August 2018.
- ↑ David Bostock, Philosophy of Mathematics: An Introduction, Wiley-Blackwell, 2009, p. 43: "All of Descartes, Locke, Berkeley, and Hume supposed that mathematics is a theory of our ideas, but none of them offered any argument for this conceptualist claim, and apparently took it to be uncontroversial."
- ↑ The Problem of Perception (Stanford Encyclopedia of Philosophy): "Paraphrasing David Hume (1739...; see also Locke 1690, Berkeley 1710, Russell 1912): nothing is ever directly present to the mind in perception except perceptual appearances."
- ↑ David, Marian (3 October 2018). Zalta, Edward N. (บ.ก.). The Stanford Encyclopedia of Philosophy. Metaphysics Research Lab, Stanford University – โดยทาง Stanford Encyclopedia of Philosophy.[ลิงก์เสีย]