คริสโตเฟอร์ ฮิตเชนส์

คริสโตเฟอร์ เอริก ฮิตเชนส์ (อังกฤษ: Christopher Eric Hitchens; 13 เมษายน ค.ศ. 1949 - 15 ธันวาคม ค.ศ. 2011) เป็นนักเขียน นักข่าว และนักการศึกษาชาวอังกฤษ [2] [3] เขาเป็นผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับศรัทธา วัฒนธรรม การเมือง และวรรณกรรมจำนวน 18 เล่ม เขามีภูมิลำเนาเกิดและเข้าศึกษาอยู่ในสหราชอาณาจักร และสำเร็จการศึกษาใน ค.ศ. 1970 จากอ็อกซ์ฟอร์ด ในสาขาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ ในช่วงต้นคริสตทศวรรษ 1980 เขาย้ายไปยังสหรัฐอเมริกาและเขียนบทความให้กับนิตยสาร เดอะเนชัน และ แวนิทีแฟร์ เขาเป็นที่รู้จักในนาม "หนึ่งใน 'สี่พลม้า'" (ควบคู่กับ ริชาร์ด ดอว์กินส์, แซม แฮร์ริส และแดเนียล เดนเนตต์) แห่งอเทวนิยมสมัยใหม่ เขาได้รับความโดดเด่นในฐานะคอลัมนิสต์และวิทยากร หลักการมีดโกนในญาณวิทยาที่เขาคิดมานั้นระบุว่า "สิ่งที่สามารถยืนยันโดยไม่มีหลักฐานก็สามารถเพิกเฉยได้โดยไม่มีหลักฐาน" ซึ่งยังคงเป็นเครื่องหมายในปรัชญาและกฎหมาย [4] [5]

คริสโตเฟอร์ ฮิตเชนส์
ฮิตเชนส์กำลังพูดจากแท่นโพเดียม
ฮิตเชนส์ใน ค.ศ. 2007
เกิดคริสโตเฟอร์ เอริก ฮิตเชนส์
13 เมษายน ค.ศ. 1949(1949-04-13)
พอร์ตสมัท, แฮมป์เชอร์, อังกฤษ
เสียชีวิต15 ธันวาคม ค.ศ. 2011(2011-12-15) (62 ปี)
ฮิวสตัน, เท็กซัส, สหรัฐ
การศึกษาเบลิออล คอลเลจ, ออกซฟอร์ด (BA)
คู่สมรส
  • เอเลนี เมเลอากรอ (สมรส 1981; หย่า 1989)
  • แครอล บลู (สมรส 1991)[1]
ยุคร่วมสมัย
แนวคิดเด่น
มีดโกนของฮิตเชนส์
เว็บไซต์christopherhitchens.net
ลายมือชื่อ

มุมมองทางการเมืองของฮิตเชนส์เปลี่ยนแปลงอย่างมากตลอดชีวิตของเขา [6] เดิมทีเขากล่าวว่าเขาแสดงมุมมองเป็นนักสังคมนิยมประชาธิปไตย [7] เขาเป็นสมาชิกขององค์กรสังคมนิยมต่าง ๆ ในปฐมวัยของเขา รวมทั้งกลุ่มสังคมนิยมนานาชาติทรอตสกีอีกด้วย [8] เขาวิพากษ์วิจารณ์ นโยบายการต่างประเทศของสหรัฐ ในหลายแง่มุม รวมถึงการมีส่วนร่วมใน เวียดนาม ชิลี และติมอร์ตะวันออก อย่างไรก็ตาม เขายังสนับสนุนสหรัฐในสงครามคอซอวออีกด้วย ฮิตเชนส์เน้นย้ำถึงความเป็นศูนย์กลางของ การปฏิวัติอเมริกาและรัฐธรรมนูญสหรัฐต่อปรัชญาการเมืองของเขา [9] ฮิตเชนส์แสดงมุมมองเกี่ยวกับการทำแท้งว่าทารกในครรภ์มีสิทธิที่จะเป็นบุคคล ขณะเดียวกันก็มีความคลุมเครือและเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับความถูกต้องตามกฎหมาย [10] เขาถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนสิทธิการใช้ปืนและสนับสนุนการสมรสเพศเดียวกัน ขณะที่ต่อต้านสงครามยาเสพติด [11] หลังจากคริสตทศวรรษ 1990 และโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน แนวคิดทางการเมืองของเขาเลื่อนไปทางฝ่ายขวา แต่ฮิตเชนส์คัดค้านแนวคิดแบบอนุรักษ์นิยม [6] [12] [13] ในช่วงคริสตทศวรรษ 2000 เขาโต้เถียงเรื่องการบุกครองอิรัก และสงครามในอัฟกานิสถาน สนับสนุนการรณรงค์หาเสียงของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช แห่งสหรัฐใน ค.ศ. 2004 และมองว่าแนวคิดอิสลามิสต์เป็นภัยคุกคามหลักต่อโลกตะวันตก [14]

ฮิตเชนส์บรรยายตัวเองว่าเป็นผู้ปฏิเทวนิยม (anti-theist) และมองว่าทุกศาสนานั้นเป็นเรื่องเท็จ อันตราย และเป็นเผด็จการ [15] เขาแย้งเรื่องการแสดงออกอย่างเสรี การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และการแยกศาสนจักรกับอาณาจักร โดยอ้างว่าสิ่งเหล่านั้นเหนือกว่าศาสนาในฐานะหลักจริยธรรมสำหรับอารยธรรมของมนุษย์ ฮิตเชนส์เขียนชีวประวัติวิพากษ์วิจารณ์ แม่ชีเทเรซาในหนังสือเดอะมิชชันนารีพะซิชัน (The Missionary Position), วิจารณ์ประธานาธิบดีบิล คลินตันในหนังสือ โนวันเลฟต์ทูไลทู (No One Left To Lie To) และนักการทูตชาวอเมริกัน เฮนรี คิสซิงเจอร์ในหนังสือ เดอะไทอัลออฟเฮนรี คิสซิงเจอร์ (The Trial of Henry Kissinger) ฮิตเชนส์เสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคมะเร็งหลอดอาหารในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2011 ขณะอายุได้ 62 ปี [16]

อ้างอิง แก้

  1. Woo, Elaine (15 December 2011). "Christopher Hitchens dies at 62; engaging author and essayist". Los Angeles Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 November 2012. สืบค้นเมื่อ 27 January 2013.
  2. "'God is Not Great' Author Christopher Hitchens on Religion, Iraq, and His Own Reputation – New York Magazine – Nymag". 26 April 2007.
  3. "Author Christopher Hitchens targets God and faith". Reuters. 18 June 2007.
  4. "What does 'Hitchens' razor' means in Philosophy?". The Hindu. 17 December 2017.
  5. Ratcliffe, Susan, บ.ก. (2016). Oxford Essential Quotations: Facts (4 ed.). Oxford University Press. ISBN 9780191826719. สืบค้นเมื่อ 4 November 2020 – โดยทาง "Oxford Reference" website. What can be asserted without evidence can also be dismissed without evidence.
  6. 6.0 6.1 Pallardy, Richard (9 April 2022). "Christopher Hitchens". Encyclopædia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 23 November 2022. After the September 11 attacks of 2001, Hitchens was widely perceived as having migrated to the right on the political spectrum, actively campaigning for the invasion of Iraq and deposal of Saddam Hussein and endorsing George W. Bush in the 2004 US presidential election. Hitchens dropped his column for The Nation in 2002. He maintained that the shifts in his political allegiances were motivated by the right's stronger and more-interventionist stance against what he deemed "fascism with an Islamic face."
  7. Christopher Hitchens – Charlie Rose, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2021, สืบค้นเมื่อ 3 October 2021
  8. Seymour, Richard (27 March 2012). "The late Christopher Hitchens". International Socialism (134). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 November 2019. สืบค้นเมื่อ 25 August 2021.
  9. Hitchens, Christopher (2002), Why Orwell Matters, Basic Books, pg 105
  10. Hitchens, Christopher (5 December 2019). "A Left-Wing Atheist's Case Against Abortion". Crisis Magazine. Sophia Institute Press. สืบค้นเมื่อ 26 November 2022.
  11. Carter, Graydon (17 December 2021). "Christopher Hitchens Was Fearless". The Atlantic. สืบค้นเมื่อ 26 November 2022. ..., I asked him if he'd be up for writing a column on gun control. He told me that he'd love to. But he wanted to let me know up front that he was opposed to controls.
  12. Anthony, Andrew (17 September 2005). "The big showdown". The Observer. ISSN 0029-7712. สืบค้นเมื่อ 2023-02-28.
  13. Staff (13 December 2021). "Why Christopher Hitchens Still Matters". Areo. สืบค้นเมื่อ 26 November 2022.
  14. Hitchens, Christopher (31 October 2004). "Christopher Hitchens: Why I'm voting for Bush (but only just)". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 23 November 2022.
  15. Hitchens, Christopher (2005). Letters to a Young Contrarian. Basic Books. pp. 55, 57. ISBN 0465030335. I am [not a] part of the generalised agnosticism of our culture. I am not even an atheist so much as I am an anti-theist... all religions are versions of the same untruth... the influence of churches, and the effect of religious belief, is positively harmful... cradle-to-grave divine supervision; a permanent surveillance and monitoring... I am [not] privy to the secrets of the universe or its creator... even [the best of the theisms] are complicit in this quiet and irrational authoritarianism.
  16. Video: Christopher Hitchens (14 August 1995) appearance on C-SPAN ที่ยูทูบ

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

 

แม่แบบ:Christopher Hitchensแม่แบบ:New Atheism