การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2547
การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2547 เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีทุกสี่ปีครั้งที่ 55 และมีขึ้นในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช และรองประธานาธิบดีดิก ชีนีย์ ผู้สมัครจากพรรครีพับลิกัน ถูกรับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมัยที่สอง โดยเอาชนะจอห์น เคร์รี สมาชิกวุฒิสภาจากรัฐแมสซาชูเซตส์ และจอห์น เอ็ดเวิร์ด สมาชิกวุฒิสภาจากรัฐนอร์ทแคโรไลนา ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครตไปได้ นี่เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งสุดท้ายตั้งแต่ปี 2531 ที่ผู้สมัครพรรครีพับลิกันชนะคะแนนมหาชน (และครั้งสุดท้ายที่ผู้สมัครพรรคเดโมแครตแพ้คะแนนมหาชน) และเป็นครั้งสุดท้ายตั้งแต่ปี 2527 ที่ประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งอยู่จากพรรครีพับลิกันถูกรับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมัยที่สอง เนื่องจากผู้ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งมีจำนวนสูงขึ้น ผู้สมัครทั้งสองพรรคทำลายสถิติคะแนนมหาชนของเรแกนเมื่อยี่สิบปีก่อน ในขณะนั้น บุชได้รับ 62,040,610 เสียง ซึ่งเป็นคะแนนมหาชนที่มากที่สุดในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ก่อนสถิติจะถูกทำลายโดยบารัก โอบามาในสี่ปีถัดมา บุชเป็นเพียงประธานาธิบดีคนเดียวที่ถูกเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมัยที่สองหลังจากแพ้คะแนนมหาชนในสมัยแรก
| |||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ใช้สิทธิ | 60.1% (มีสิทธิเลือกตั้ง)[1] | ||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||||||||||||||||||||||||
ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี สีแดง แสดงถึงรัฐที่บุช/เชนีย์ ชนะ สีน้ำเงิน แสดงถึงรัฐที่เคร์รี/เอ็ดวาร์ดชนะ | |||||||||||||||||||||||||||||
|
บุชและชีนีย์ถูกเลือกให้เป็นแคนดิเดตโดยไม่มีผู้ท้าชิง อดีตผู้ว่ารัฐเวอร์มอนต์ ฮาวเวิร์ด ดีน เป็นตัวเต็งในช่วงแรกของการเลือกตั้งไพรมารี่ของพรรคเดโมแครต แต่เคร์รีชนะการเลือกตั้งไพรมารีในหลายรัฐในเดือนมกราคม และชนะการเลือกตั้งไพรมารี่ของพรรคเดโมแครตในเดือนมีนาคมหลังชนะในหลายไพรมารี่มาเรื่อย ๆ เคร์รีเลือกเอ็ดเวิร์ดที่ลงสมัครในการเลือกตั้งไพรมารี่เหมือนกันเป็นแคนดิเดตรองประธานาธิบดี
ความนิยมของบุชพุ่งสูงขึ้นหลังเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายนในปี 2544 แต่ก็ลดลงอย่างมากจนถึงปี 2548 นโยบายการต่างประเทศเป็นประเด็นหลักในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ ส่วนหนึ่งมาจากสงครามต่อต้านการก่อการร้ายและการบุกครองอิรัก พ.ศ. 2546 ของรัฐบาลบุช บุชสร้างภาพลักษณ์ให้ตัวเองเป็นผู้นำเด็ดขาดและโจมตีเคร์รีว่าเป็นพวก "จุดยืนเอนไปมา" ("flip-flopper") เคร์รีวิจารณ์การทำสงครามอิรักของบุช (ถึงแม้ว่าเคร์รีจะโหวตให้บุชบุกอิรักก็ตาม) ประเด็นต่าง ๆ ภายในประเทศมีการดีเบตเช่นกัน ซึ่งมีประเด็นเศรษฐกิจและงาน ระบบสาธารณสุข การทำแท้ง การสมรสเพศเดียวกัน และการวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อนมนุษย์
บุชชนะไปอย่างฉิวเฉียดในคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง และได้รับคะแนนมหาชน 50.7% บุชชนะในรัฐทางใต้และในรัฐภูเขาทั้งหมด และชนะในรัฐ swing state อย่างโอไฮโอ ไอโอวา และนิวเม็กซิโก (โดยไอโอวาและนิวเม็กซิโกโหวตให้พรรคเดโมแครตเมื่อสี่ปีก่อน) ถึงแม้ว่าเคร์รีพลิกเอาชนะรัฐนิวแฮมป์เชอร์ได้ บุชก็ยังชนะการเลือกตั้งและได้รับคะแนนคณะผู้เลือกตั้งและคะแนนมหาชนมากกว่าเมื่อปี 2543 นี่เป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนแรกตั้งแต่ปี 2531 ที่แคนดิเดตได้รับคะแนนมหาชนเกิน 50% มีบางประเด็นในกระบวนการการเลือกตั้งที่ดูมีปัญหา แต่ก็ไม่หนักเท่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2543 บุชชนะในรัฐฟลอริด้าไป 5% (บุช 52.10% เคร์รี่ 47.09%) ซึ่งทำได้ดีกว่าเมื่อสี่ปีก่อนที่ชนะไปแค่ 0.009% (บุช 48.847% กอร์ 48.838% - มีการฟ้องร้องต่อศาลซึ่งทำให้ผลการเลือกตั้งต้องถูกตัดสินโดยศาลสูงสุดสหรัฐใน Bush v. Gore) บุชเป็นรีพับลิกันคนสุดท้ายที่ชนะในรัฐโคโลราโด เนวาดา นิวเม็กซิโก และเวอร์จิเนีย ในขณะที่เคร์รีเป็นแคนดิเดตที่แพ้คนสุดท้ายที่ชนะในรัฐมิชิแกน เพนซิลเวเนีย และวิสคอนซินในการเลือกตั้งประธานาธิบดี
อ้างอิง
แก้- ↑ "2004 General Election Turnout Rates". George Mason University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-09. สืบค้นเมื่อ December 13, 2012.
- ↑ 2.0 2.1 "FEDERAL ELECTIONS 2004: Election Results for the U.S. President, the U.S. Senate and the U.S. House of Representatives" (PDF). Federal Election Commission. May 2005. สืบค้นเมื่อ November 20, 2012.
- ↑ One Minnesota elector voted for John Edwards for both President and Vice President. During the counting of the vote in Congress, Rep. Stephanie Tubbs Jones (D-Ohio) and Sen. Barbara Boxer (D-Calif.) raised objections to the Ohio Certificate of Vote alleging that the votes were not regularly given. Both houses voted to override the objection, 74 to 1 in the Senate and 267 to 31 in the House of Representatives. See 2004 Presidential Election Results from the National Archives and Records Administration.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2547 ที่เว็บไซต์ Curlie
Official candidate websites
แก้- Michael Badnarik (Libertarian) (archived version from the U.S. Library of Congress United States Election 2004 Web Archive)
- George W. Bush (Republican) (archived version from the U.S. Library of Congress United States Election 2004 Web Archive)
- David Cobb (Green) (archived version from the U.S. Library of Congress United States Election 2004 Web Archive)
- John Kerry (Democrat) (archived version from the U.S. Library of Congress United States Election 2004 Web Archive)
- Ralph Nader (Independent) (archived version from the U.S. Library of Congress United States Election 2004 Web Archive)
- Michael Peroutka (Constitution) (archived version from the Internet Archive, November 1, 2004)
Election maps and analysis
แก้- Maps of proportion shift, counties more Republican, counties more Democratic, compared to 2000 election.
- NYTimes.com 2004 Election Results Interactive Graphic
- How close was the 2004 election? — Michael Sheppard, Massachusetts Institute of Technology
- PBS.org Interactive Electoral College Map
- Maps and cartograms of the 2004 U.S. presidential election results – Michael Gastner, Cosma Shalizi, and Mark Newman, University of Michigan
- Election 2004 Results – Robert J. Vanderbei, Princeton University
- Interactive Atlas of the 2004 Presidential Election Results – Dave Liep
- Alternate views of the electoral results map
- Assessing the Vote and the Roots of American Political Divide
State-by-state forecasts of electoral vote outcome
แก้- Probability analysis of Electoral College based on latest poll results by state
- Electoral Vote Predictor 2004
- Larry J. Sabato's Crystal Ball เก็บถาวร 2013-04-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Race 2004 (archived as of Nov 1, 2004)
- USA Today polls
Controversies
แก้- About.com, Democracy & Voting Rights – Ohio 2004 Election as Lesson in What Can Go Wrong เก็บถาวร 2008-01-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Analysis of misleading advertising from both Bush and Kerry เก็บถาวร 2004-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน