วิจิตร ศรีสอ้าน
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
ศาสตราจารย์[1] วิจิตร ศรีสอ้าน (22 ธันวาคม พ.ศ. 2477 - 30 กันยายน พ.ศ. 2566) เป็นนักการศึกษาชาวไทย ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และที่ปรึกษาสำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เขาเคยเป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ [2] อดีตปลัดทบวงมหาวิทยาลัย อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อดีตรองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ อดีตนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีและนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
วิจิตร ศรีสอ้าน | |
---|---|
วิจิตรในปี 2550 | |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ก่อนหน้า | จาตุรนต์ ฉายแสง |
ถัดไป | สมชาย วงศ์สวัสดิ์ |
รักษาการอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 12 ธันวาคม พ.ศ. 2520 | |
ก่อนหน้า | ศ.ปรีดี เกษมทรัพย์ |
ถัดไป | ศ.ประภาศน์ อวยชัย |
รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น | |
ดำรงตำแหน่ง 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 – 13 กันยายน พ.ศ. 2521 | |
ก่อนหน้า | ศ.นต.กำจร มนุญปิจุ |
ถัดไป | ศ.วิทยา เพียรวิจิตร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 ธันวาคม พ.ศ. 2477 ฉะเชิงเทรา ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 30 กันยายน พ.ศ. 2566 (88 ปี) |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2551–2566) |
คู่สมรส | สุคนธ์ (กัลยาณมิตร) ศรีสอ้าน |
ประวัติ
แก้ศาสตราจารย์ วิจิตร ศรีสอ้าน เกิดเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2477 ที่ตำบลสนามจันทร์ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ศ.วิจิตร ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2566 อายุ 88 ปี[3]
รางวัลเกียรติคุณ
แก้- นักบริหารการศึกษาดีเด่น ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2516
- นักการศึกษาดีเด่น สภาการศึกษาเพื่อการสอนระหว่างประเทศ พ.ศ. 2527
- รางวัลข้าราชการดีเด่นครุฑทองคำ พ.ศ. 2529 จากสมาคมข้าราชการพลเรือน
- รางวัล Outstanding Achievement Award จาก University of Minnesota Board of Regents ในปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986)
- รางวัลเกียรติคุณสังข์เงิน (นักบริหารการศึกษาดีเด่น) พ.ศ. 2534 จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย
- นักรัฐประศาสนศาสตร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2536 จากสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย
- รางวัลนักนวัตกรรมทางการศึกษาดีเด่น พ.ศ. 2536 จากสมาคมนิเทศการศึกษาแห่งประเทศไทย
- รางวัลนิสิตเก่าดีเด่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2538
- เข็มกิตติการทองคำและโล่กิตติการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. 2544
- ผลงานดีเด่น (MERITORIOUS SERVICE AWARD) ASIAN ASSOCIATION OF OPEN UNIVERSITIES พ.ศ. 2544
- ได้รับการประกาศเกียรติคุณยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งสหกิจศึกษาไทย” โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในวันสหกิจศึกษาไทย เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2552
- ได้รับการประกาศเกียรติคุณ ในฐานะผู้ริเริ่มและประกอบคุณูปการต่อกิจกรรมค่ายอาสาสมัคร ในโอกาสครบ 50 ปี ค่ายอาสาสมัคร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2552
- ได้รับการยกย่องให้เป็น ALL-TIME FAME 2010 โดยมูลนิธิฟุลไบรท์ไทยและมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน
- รางวัลเกียรติคุณผลงานดีเด่น The Darrell Bloom Award จาก International Council on Education for Teaching (ICET) พ.ศ. 2556
- รางวัลเกียรติคุณผลงานดีเด่น The Mr. Donald Maclaren, Jr Academic Award 2013 จาก สมาคมสหกิจศึกษาโลก (World Association of Cooperative Education - WACE)
- ได้รับตำแหน่ง Chairman Emeritus of AUAP (Association of Universities of Asia and the Pacific) เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2559
- รางวัลเกียรติคุณผลงานดีเด่น 2016 Lifetime Achievement Award จาก Southern African Society for Cooperative Education (SASCE)
- รางวัลเกียรติคุณผลงานดีเด่น The University of Cincinnati: Hall of Honor in Cooperative Education 2017
- ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (Doctor of Philosophy) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2559
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[7]
- พ.ศ. 2563 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขาศึกษาศาสตร์[8]
- พ.ศ. 2529 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[9]
- พ.ศ. 2551 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- ออสเตรีย :
- พ.ศ. 2537 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นมหาอิสริยาภรณ์ทอง (พร้อมดารา)[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก (วันที่ ๒๕ - ๒๙ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๓) (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 117 (37 ง):117. 9 พฤษภาคม 2543. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
- ↑ สิ้น "วิจิตร ศรีสอ้าน" อดีตรมว.ศึกษาฯ-บิดาแห่งสหกิจศึกษาไทย เสียชีวิตแล้ว
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2021-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๑, ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๔๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๖, ๔ กันยายน ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๓, ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๓๕๒, ๒๑ มกราคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๑ เก็บถาวร 2009-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๙, ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓๐, ๓ สิงหาคม ๒๕๓๗
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ข้อมูล ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน เก็บถาวร 2018-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากวิจิตรลิขิต
- เว็บไซต์มูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน(ฟุลไบรท์)
- นวัตกรรมวิจิตร ศรีสอ้าน จากห้องสมุด มสธ.