ถวิล ไพรสณฑ์
ถวิล ไพรสณฑ์ ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล[ต้องการอ้างอิง] อดีตรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ในรัฐบาลชวน หลีกภัย (1) อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 8 สมัย (กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครศรีธรรมราช และแบบบัญชีรายชื่อ) และเป็นอดีตมือกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์[1]
ถวิล ไพรสณฑ์ | |
---|---|
![]() ถวิล ในปี พ.ศ. 2553 | |
รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย | |
ดำรงตำแหน่ง 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 – 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | กระแส ชนะวงศ์ |
ถัดไป | บุญชู ตรีทอง |
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 22 กันยายน พ.ศ. 2535 – 12 ตุลาคม พ.ศ. 2537 | |
ก่อนหน้า | ชุมพล ศิลปอาชา เชาวน์วัศ สุดลาภา |
ถัดไป | จรัส พั้วช่วย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 สิงหาคม พ.ศ. 2480 จังหวัดนครศรีธรรมราช |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | พรรคประชาธิปัตย์ (2529-2535, 2539-2565) พรรคพลังธรรม (2535-2539) พรรคก้าวไกล (2565-ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | จันทร์จิรา ไพรสณฑ์ |
ประวัติ แก้ไข
ถวิล ไพรสณฑ์ เกิดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2480 ที่อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช[2] ในครอบครัวชาวสวนชาวนา เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนบ้านนาวา ต่อมาจึงได้เข้ามาศึกษาต่อที่โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร และเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และปริญญาเดียวกัน ที่มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
การทำงาน แก้ไข
ถวิล ไพรสณฑ์ เข้ารับราชการเป็นปลัดเทศบาลตำบลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ต่อมาจึงได้ย้ายเข้ามาเป็นเลขานุการนายกเทศมนตรีกรุงเทพมหานคร และได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นหัวหน้าเขตพระนคร เขตบางขุนเทียน และเป็นผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรุงเทพมหานคร
จากนั้นในปี พ.ศ. 2526 ถวิล ไพรสณฑ์ จึงได้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช เขต 2 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยแรก และ สมัยที่สอง ปี 2529 พรรคประชาธิปัตย์ จากนั้นเขาจึงย้ายมาร่วมตั้งพรรคการเมืองกับกลุ่มของนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ คือ พรรคประชาชน[3]
ต่อมาถวิลจึงได้ย้ายมาลงสมัครในกรุงเทพมหานคร เขต 9 ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคพลังธรรม และได้รับการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา ทั้งยังได้รับตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2535[4] และตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2538[5] ด้วย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2539 จึงได้ย้ายกลับไปสังกัดพรรคประชาธิปัตย์เช่นเดิมอีกครั้ง
ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[6] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย
ในปี 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 39[7] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาในปี 2565 นายถวิล ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ได้ย้ายไปร่วมงานการเมืองกับพรรคก้าวไกล โดยให้เหตุผลว่ามีอุดมการณ์เรื่องการกระจายอำนาจท้องถิ่นที่ตรงกัน และไม่ขอรับตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ[8]
สภาผู้แทนราษฎร แก้ไข
ถวิล ไพรสณฑ์ เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 8 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังธรรม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังธรรม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคพลังธรรม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้ไข
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ ตำนานกลุ่ม 10 มกราฯสู่ “ก้าวไกล” เส้นทางชีวิต-ธุรกิจ “ถวิล ไพรสณฑ์”
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (นายกระแสร์ ชนะวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, นายถวิลไพรสณฑ์ รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
- ↑ เปิด 150 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์พรรคประชาธิปัตย์
- ↑ “ถวิล” แจงชิ่ง ปชป.ซบก้าวไกล อุดมการณ์กระจายอำนาจท้องถิ่นตรงกัน ขออยู่เบื้องหลังไม่รับตำแหน่ง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข
- ข้อมูลสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน