พันเอก วินัย สมพงษ์ ที่ปรึกษาพรรคชาติพัฒนา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย และเป็นนักการเมืองที่มีความซื่อสัตย์ จนได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า นายไม้บรรทัด[1] และริเริ่มโครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2537

วินัย สมพงษ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน พ.ศ. 2535 – 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ก่อนหน้านุกูล ประจวบเหมาะ
ถัดไปวิชิต สุรพงษ์ชัย
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(ฝ่ายบริหารการคลัง)
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2528 – พ.ศ. 2535
เลขาธิการพรรคนำไทย
ดำรงตำแหน่ง
23 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2538
ก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เกษมศรี
ถัดไปพลตรีศรชัย มนตริวัต
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 มกราคม พ.ศ. 2486 (81 ปี)
จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพลังธรรม (2535 - 2538)
นำไทย (2538 - 2539)
ประชาธิปัตย์ (2539 - 2543, 2550 - 2561)
ชาติพัฒนา (2544 - 2547)
ไทยรักไทย (2548 - 2549)
พลังธรรมใหม่ (2561)
ชาติพัฒนา (2561 - ปัจจุบัน)
คู่สมรสนางระวีวรรณ สมพงษ์

ประวัติ แก้

พันเอกวินัย สมพงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2486 จบการศึกษาจากโรงเรียนสูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จ.ป.ร.) รุ่นที่ 14 จบการศึกษารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต ด้านการเมือง จากมหาวิทยาลัยแคนซัส สหรัฐอเมริกา โรงเรียนเสนาธิการทหารบกไทย รุ่นที่ 54 และโรงเรียนเสนาธิการทหารบกประเทศสหรัฐอเมริกา

การทำงาน แก้

พันเอกวินัย เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ของกรุงเทพมหานคร มาโดยตลอดโดยสังกัดพรรคพลังธรรม ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2535 ทั้ง 2 ครั้ง และเป็น รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ฝ่ายบริหารและการคลัง) ในสมัย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

พันเอกวินัย เคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในยุครัฐบาล ชวน หลีกภัย[2] สมัยแรก มีผลงานที่โดดเด่นคือ การยกเลิกโครงการโฮปเวลล์ และการริเริ่มโครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย[3]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในนามผู้สมัครอิสระไม่สังกัดพรรคการเมือง ได้เบอร์ 2 แม้ไม่ชนะการเลือกตั้ง แต่ก็ได้รับคะแนนเสียงเป็นลำดับที่ 4 ซึ่งมากที่สุดในกลุ่มผู้สมัครอิสระทั้งหมด

จากนั้นในปี พ.ศ. 2544 ได้เป็น ส.ส.สังกัด พรรคชาติพัฒนา ต่อมาเมื่อพรรคชาติพัฒนาได้ยุบรวมกับ พรรคไทยรักไทย ได้เป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548

พ.อ.วินัย สมพงษ์ มีภาพลักษณ์ที่เป็นนักการเมืองที่ สมถะ ซื่อสัตย์สุจริต จนได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า "นายไม้บรรทัด" ในระหว่างที่เกิด วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 พ.อ.วินัย ได้แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์การดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทยพร้อมกับได้ขึ้นปราศรัยบนเวที พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

พ.อ.วินัย สมพงษ์ ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ลงสมัครรับการเลือกตั้งในระบบสัดส่วน กลุ่ม 5 (ประกอบด้วยจังหวัด นครราชสีมา ปทุมธานี นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ระยอง จันทบุรี ชลบุรี และตราด) และได้รับการเลือกตั้ง

ภายหลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และมีการจัดตั้งรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวได้ประกาศจัดตั้ง รัฐบาลเงา หรือ ครม.เงา ขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และ พันเอกวินัย สมพงษ์ ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเงา

ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ[4] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย

ใน พ.ศ. 2561 พันเอกวินัยได้ย้ายเข้ามาร่วมงานกับ พรรคพลังธรรมใหม่ ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อในนามพรรคชาติพัฒนา

ประวัติการดำรงตำแหน่ง แก้

ด้านการทำงาน

  • ผู้บังคับกองร้อยทหารปืนใหญ่ (เคลื่อนย้ายทางอากาศ) ในสงครามเวียดนาม
  • นายทหารยุทธการ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 31 จังหวัดลพบุรี
  • อาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
  • บริษัทประกันชีวิตศรีอยุธยา จำกัด
  • กลุ่มบริษัท สุราทิพย์ จำกัด

ด้านสังคมและการเมือง

  • ผู้อำนวยการตลาดนัดจตุจักร
  • เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
  • รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ฝ่ายบริหารและการคลัง) สมัย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
  • ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคพลังธรรม จากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2535 ทั้ง 2 ครั้ง
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล ชวน หลีกภัย สมัยแรก
  • ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคชาติพัฒนา พ.ศ. 2544[5]
  • ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย พ.ศ. 2548
  • ส.ส.ระบบสัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ. 2550
  • รัฐมนตรีเงาว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2551

เกียรติประวัติ แก้

  • พ.ศ. 2536 : บุคคลแห่งปีของนักเรียนเตรียมทหาร รางวัลจักรดาวด้านการเมือง
  • พ.ศ. 2537 : นักบริหารจรรยาบรรณดีเด่นของสมาคมวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "... เจาะสนามโคราช...ปชป.ได้แค่"ลุ้น"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-26. สืบค้นเมื่อ 2011-07-31.
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
  3. การศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-สนามบินหนองงูเห่า-ระยอง พ.ศ. 2539 เก็บถาวร 2012-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  4. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  5. "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๕๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๑๕ เมษายน ๒๕๑๗
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕๔, ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๐, ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๒๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๙๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๘ มิถุนายน ๒๕๒๒

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า วินัย สมพงษ์ ถัดไป
นุกูล ประจวบเหมาะ    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ครม. 50)
(23 กันยายน พ.ศ. 2535 - 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537)
  วิชิต สุรพงษ์ชัย