นุกูล ประจวบเหมาะ
นุกูล ประจวบเหมาะ (25 กรกฎาคม พ.ศ. 2472 – 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566)[1][2] อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย[3] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน
นุกูล ประจวบเหมาะ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ก่อนหน้า | สมัคร สุนทรเวช |
ถัดไป | บรรหาร ศิลปอาชา |
ดำรงตำแหน่ง 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 22 กันยายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ก่อนหน้า | บรรหาร ศิลปอาชา |
ถัดไป | พันเอก วินัย สมพงษ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2472 อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 (93 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | เจนจิรา ประจวบเหมาะ |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้นุกูล ประจวบเหมาะ เกิดที่อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นบุตรของนายกอบ-นางดัด ประจวบเหมาะ ศึกษามัธยม 1 ที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ จากนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง จึงเดินทางกลับมาเรียนหนังสือต่อที่บ้านเกิด หลังสงครามจึงกลับเข้ามาเรียนต่อในกรุงเทพมหานคร ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ออสเตรเลีย เป็นนักเรียนไทยรุ่นแรก ๆ ในประเทศออสเตรเลีย
หลังจากจบปริญญาตรีเมื่อ พ.ศ. 2496 นุกูล ประจวบเหมาะ ได้เข้ารับราชการที่กองเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง โดยการชักชวนของ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญการคลัง กระทรวงการคลัง และได้รับคัดเลือกไปฝึกงานที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศในระหว่างนั้นได้เข้าศึกษาปริญญาโทเศรษฐศาสตร์ ในช่วงค่ำที่มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน[4] และกลับมาทำงานที่ กรมบัญชีกลาง จากนั้นได้ไปทำงานตำแหน่ง ที่ปรึกษาเศรษฐกิจการคลัง สถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงวอชิงตัน ต่อมาได้พบกับภรรยา คือ เจนจิรา วิกิตเศรษฐ และสมรสกันเมื่อ เดือนกันยายน พ.ศ. 2505
นุกูล ประจวบเหมาะ เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2507 และได้รับตำแหน่งรองอธิบดีกรมทางหลวง มีหน้าที่บริหารงานติดต่อและบริหารเงินกู้จากธนาคารโลก ต่อมา พ.ศ. 2517 ย้ายกลับมาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา กระทรวงการคลัง และถูกย้ายไปเป็นอธิบดีกรมธนารักษ์ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2518 เพื่อแก้ปัญหาพนักงานโรงกษาปณ์ประท้วงหยุดงาน และย้ายไปเป็นอธิบดีกรมสรรพากร เมื่อเดือนกันยายน ปีเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหารัฐไม่สามารถเก็บภาษีได้ตามเป้า และย้ายไปเป็นอธิบดีกรมบัญชีกลาง เมื่อ พ.ศ. 2521
ธนาคารแห่งประเทศไทย
แก้นุกูล ประจวบเหมาะ ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย แทนนายเสนาะ อูนากูล ที่ลาออกจากตำแหน่งด้วยปัญหาสุขภาพ โดยการเสนอชื่อโดยพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2522 และพ้นจากตำแหน่งเมื่อ เดือนกันยายน พ.ศ. 2527 เนื่องจากขัดแย้งกับนายสมหมาย ฮุนตระกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
หลังจากพ้นจากตำแหน่งในธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เข้าทำงานกับบริษัทเอกชนคือสยามกลการ ซึ่งกำลังประสบปัญหาการขาดทุน ระหว่าง พ.ศ. 2529–2531
งานการเมือง
แก้หลังปลดเกษียณอายุแล้ว นุกูล ประจวบเหมาะ ได้เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน 2 สมัย[5][6] ระหว่าง พ.ศ. 2534–2535 และเป็นผู้เข้ามาตรวจสอบการทุจริตในสัญญาโครงการโฮปเวลล์ และรถไฟฟ้าลาวาลิน จนกระทั่งสั่งยกเลิกสัญญาโครงการดังกล่าว
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ "'นุกูล ประจวบเหมาะ' อดีตผู้ว่าฯแบงก์ชาติ ผู้ประกาศลดค่าเงินบาทครั้งแรกปี2527 ถึงแก่กรรรมแล้ว". ไทยโพสต์. 6 กุมภาพันธ์ 2023.
- ↑ "'นุกูล ประจวบเหมาะ' อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติ - รมว.คมนาคม วัย 93 ปี เสียชีวิตแล้ว". คมชัดลึกออนไลน์. 6 กุมภาพันธ์ 2023.
- ↑ "ผู้ว่าการจากอดีตถึงปัจจุบัน". ธนาคารแห่งประเทศไทย. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-22.
- ↑ "เก่ง-กล้า-ดี ชีวิตที่น่าเอาอย่างของ 'นุกูล ประจวบเหมาะ'" (PDF). BOT พระสยาม Magazine. ธนาคารแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-03-19. สืบค้นเมื่อ 2023-02-22. ฉบับพิเศษ. 2556. หน้า 16–19. ISSN 1685-2559.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย), เล่ม 108 ตอนที่ 45 ฉบับพิเศษ หน้า 3, วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย), เล่ม 109 ตอนที่ 69 หน้า 2, วันที่ 14 มิถุนายน 2535
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 102 ตอนที่ 17 ฉบับพิเศษ หน้า 43, วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2528
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 97 ตอนที่ 63 ฉบับพิเศษ หน้า 35, วันที่ 18 เมษายน 2523
บรรณานุกรม
แก้- นุกูล ประจวบเหมาะ. ชีวิตที่คุ้มค่า. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า. 2539. ISBN 974-603-495-2.
- สำนักผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย. สุนทรพจน์ของ นายนุกูล ประจวบเหมาะ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ในงานเลี้ยงอาหารค่ำประจำปีของสมาคมธนาคารไทย 18 กุมภาพันธ์ 2524 (Speech). LCC PN4129.T5 ธปท0100ส 2524[ลิงก์เสีย].