ศรชัย มนตริวัต
พลตรี นายกองเอก[1] ศรชัย มนตริวัต หรือ เสธ.นิด อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน พรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา และอดีตเลขาธิการพรรคนำไทย พลตรีศรชัย เป็นนักการเมืองคนสนิทของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[2]
ศรชัย มนตริวัต | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ก่อนหน้า | |
ถัดไป |
|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2488 อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2519–2525) ประชาธิปัตย์ (2525–2537) นำไทย (2537–2540) ไทยรักไทย (2541–2550) พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–2561, 2563–ปัจจุบัน) ไทยรักษาชาติ (2561–2562) |
คู่สมรส | พ.ต.หญิง รำไพพรรณ มนตริวัต |
ประวัติ
แก้ศรชัย มนตริวัต เกิดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรของพลตำรวจตรี ขุนพิชัยมนตริวัต กับนางองุ่น มนตริวัต[3] สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย และปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยไอดาโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้านครอบครัวสมรสกับ พันตรีหญิง รำไพพรรณ มนตริวัต (เสียชีวิต)
การทำงาน
แก้ศรชัย มนตริวัต เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ถึงปี พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคนำไทย พรรคความหวังใหม่ และพรรคไทยรักไทย ตามลำดับ ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 จึงได้ลงสมัคร ส.ส. ในระบบสัดส่วน สังกัดพรรคพลังประชาชน ซึ่งต่อมาย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อไทย
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงมัคร ส.ส.ในเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคเพื่อไทย[4] แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง พ่ายให้กับนายฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร จากพรรคประชาธิปัตย์
ศรชัย มนตริวัต เคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองหลายตำแหน่งอาทิ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2539 ในรัฐบาลของนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในปี พ.ศ. 2540 เป็นเลขานุการผู้นำฝ่ายค้านฯ พ.ศ. 2541 และเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ปี พ.ศ. 2544
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-06-27. สืบค้นเมื่อ 2017-03-01.
- ↑ "พลเอกชวลิต ลาออก เพราะถูกแรงกดดันจากฝ่ายความมั่นคง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-23. สืบค้นเมื่อ 2011-04-24.
- ↑ "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-06. สืบค้นเมื่อ 2011-04-24.
- ↑ ส่องสนาม วันที่ 5 มิถุนายน 2554จากเดลินิวส์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2022-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๗๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๓, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๒๕