โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีเนื้อหา รูปแบบ หรือลักษณะการนำเสนอที่ไม่เหมาะสมสำหรับสารานุกรม |
โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนสหศึกษา เปิดสอนในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1[1] สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ
โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย Santirat Witthayalai School | |
---|---|
ที่ตั้ง | |
บ้านเลขที่ 332 ถนนศรีอยุธยา , , 10400 | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ส.ล. / SL |
ประเภท | โรงเรียนรัฐบาล |
คำขวัญ | ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก ประพฤติดี เรียนดี มีวินัย ใจกตัญญู รู้หน้าที่ |
ก่อตั้ง | 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 |
รหัส | 1000103702 |
ผู้อำนวยการ | ดร.เจนการณ์ เพียงปราชญ์ |
ชั้นเรียนที่เปิดสอน | ม.1 - ม.6 |
สี | 1 1 เลือดหมู - ดำ |
เพลง | มาร์ช สันติราษฎร์ |
เว็บไซต์ | http://www.str.ac.th |
ประวัติ
แก้โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย เป็นโรงเรียนสหศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ เปิดสอนระดับมัธยมศึกษา บนเนื้อที่ 18 ไร่ 1 งาน 50 ตารางวา รับนักเรียนเข้าศึกษานักเรียนทั้งชายและหญิง รวมถึงนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ (เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น) ตั้งอยู่ที่ 332 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
โรงเรียนจัดตั้งเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2470 อยู่ที่ตรอกพระยาสุนทร หัวลำโพง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครเป็นโรงเรียนเอกชน ชื่อ โรงเรียนอินทรศึกษา มี อาจารย์ชอบ อุทัยเฉลิม เป็นเจ้าของ และครูใหญ่ จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2491 จึงได้ย้ายมาอยู่ในที่ตั้งปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2496 อาจารย์ประพัฒน์ วรรธนะสาร ได้รับการแต่งตั้งเป็นอาจารย์ใหญ่ และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนพญาไทศึกษา จนถึงปี พ.ศ. 2497 ได้แยกโรงเรียนเป็น 2 โรงเรียน ตามเพศนักเรียน โรงเรียนชายมี อาจารย์เพทาย อมาตยกุล เป็นอาจารย์ใหญ่ ส่วนโรงเรียนหญิงมี อาจารย์ประทุม วรรธนะสาร เป็นอาจารย์ใหญ่
ปลายปี พ.ศ. 2497 สวัสดิการ กรมตำรวจ ได้รับโอนโรงเรียนทั้ง 2 โรงไปดูแล โดยคงสภาพเป็นโรงเรียนเอกชน แต่เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสันติราษฎร์บำรุง และ โรงเรียนสตรีสันติราษฎร์บำรุง และยังคงให้ อาจารย์เพทาย อมาตยกุล และอาจารย์ประทุม วรรธนะสาร เป็นอาจารย์ใหญ่เหมือนเดิม จนถึงปี พ.ศ. 2500 อาจารย์ฉายศรี รตานนท์ ได้รับแต่งตั้งเป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนสตรีสันติราษฎร์บำรุง
ปี พ.ศ. 2518 กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับโอนโรงเรียนทั้งสองไปสังกัด โดยรวมเป็นสหศึกษาใช้ชื่อว่า โรงเรียนสันติราษฎร์รำลึก เปลี่ยนสภาพเป็นโรงเรียนรัฐบาล และแต่งตั้งผู้บริหารมาดูแลดังนี้
ในปี พ.ศ. 2518 อาจารย์ชาลี ถาวรานุรักษ์ (พ.ศ. 2518-2523) ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดนวลนรดิศ มาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนคนแรก ต่อมาในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย ซึ่งได้ใช้ชื่อนี้ และยึดถือวันดังกล่าวเป็นวัถาปนาโรงเรียนสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้ มีการสร้างอาคารเรียนสี่ชั้นหลังแรก (อาคาร 1) และจัดสรรงบประมาณ สร้างอาคารเรียนสี่ชั้นหลังที่สอง (อาคาร 2) ในปี พ.ศ. 2521
ปี พ.ศ. 2523 อาจารย์มนตรี ชุติเนตร (พ.ศ. 2523-2526) ผู้อำนวยการโรงเรียนปทุมคงคา ได้รับแต่งตั้งมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ปี พ.ศ. 2525 กรมสามัญศึกษา ได้จัดสรรงบประมาณมาสร้างอาคารสี่ชั้นหลังที่สาม (อาคาร 3)
ปี พ.ศ. 2526 อาจารย์ดุสิต พูนพอน (พ.ศ. 2526-2531) ผู้อำนวยการโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี ได้รับแต่งตั้งมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรงบประมาณมาสร้างอาคารเรียนสี่ชั้นหลังที่สี่ (อาคาร 4) เชื่อมอาคารเดิมทั้งสามหลัง และในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 สมาคมศิษย์เก่าสันติราษฎร์ ได้จัดสร้างอาคารสมาคมศิษย์เก่าสันติราษฎร์ มอบให้โรงเรียนผ่านกรมสามัญศึกษา ปัจจุบันชั้นล่างเป็นห้องพยาบาล ชั้นบนใช้เป็นห้องประชุม
ปี พ.ศ. 2531 อาจาย์จันทร์เพ็ญ เจริญผลารักษ์ (พ.ศ. 2531-2533) ผู้อำนวยการโรงเรียนบางกะปิ ได้รับแต่งตั้งมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ปี พ.ศ. 2531 กรมสามัญศึกษา ได้จัดสรรงบประมาณมาสร้างอาคารอเนกประสงค์สามชั้น ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร ชั้นสองเป็นห้องเรียนปฏิบัติการ และชั้นบนสุดเป็นหอประชุม และในปี พ.ศ. 2533 โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็น โรงเรียนดีเด่นของกรมสามัญศึกษา
ปี พ.ศ. 2533 อาจารย์ศิริลักษณ์ นันทพิศาล (พ.ศ. 2533-2536) ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีวิทยา 2 ได้รับแต่งตั้งมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ได้ระดมทุนจัดหาเครื่องดนตรีใหม่พัฒนาวงโยธวาฑิตของโรงเรียน
ปี พ.ศ. 2536 อาจารย์พงษ์ศักดิ์ รุ่งโรจน์พานิช (พ.ศ. 2536-2539) ผู้อำนวยการสามัญศึกษากรุงเทพมหานคร ได้รับแต่งตั้งมาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน ได้ระดมทุนบูรณะหอประชุมเผ่า-อุดม เอกลักษณ์ของโรงเรียนให้คงอยู่
ปี พ.ศ. 2539 อาจารย์สมรัก แพทย์พันธุ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์) ได้รับแต่งตั้งให้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย
กิจกรรมของโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย
แก้กิจกรรมภายในโรงเรียน
แก้งานวันสถาปนาโรงเรียน
จัดขึ้นในวันที่ 7 กรกฎาคมของทุกปี ในช่วงเช้ามีการทำบุญตักบาตรและกิจกรรมทำความสะอาดห้องเรียน ในช่วงบ่ายจะมีการแสดงความสามารถทางดนตรีของนักเรียน
งานราตรีสันติราษฎร์
งานราตรีสันติราษฎ์ เป็นงานพบปะสังสรรค์ศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบัน อันถือเป็นประเพณีคืนสู่เหย้าของชาวเลือดหมู - ดำ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเริ่มต้นจัดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2518 ณ เวทีลีลาศ สวนลุมพินี ในงานประกอบด้วยการพูดคุย พบปะ กินเลี้ยง การแสดง จับรางวัล และมอบโล่ศิษย์เก่าดีเด่น และในแต่ละปีอาจมีวัตถุประสงค์ในการระดมทุนเพื่อกิจการงานต่าง ๆ ของโรงเรียน เช่น สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ หรือปรับปรุงทรัพยากรภายในโรงเรียน เป็นต้น
SANTIRAT GAME
SANTIRAT GAME เป็นงานกีฬาสีภายในของโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย จัดประมาณกลางเดือนธันวาคมของทุกปี โดยเป็นการแข่งขันระหว่าง 5 คณะสี คือ คณะราชพฤกษ์ (สีเหลือง) คณะจามจุรี (สีชมพู) คณะไทรทอง (สีเขียว) คณะเฟื่องฟ้า (สีส้ม) และคณะอัญชัน (สีฟ้า) ) เพื่อเชื่อมความสามัคคี และให้รู้จักแพ้ รู้จักชนะ รู้จักอภัย
โดยมีการแข่งขันทั้งสิ้น 7 ชนิดกีฬา ได้แก่ ฟุตบอล บาสเกตบอล วอลเลย์บอล เทเบิลเทนนิส แบดมินตัน เซปักตะกร้อ และ กรีฑา ในบางปีการศึกษาจะมีกีฬาชนิดพิเศษซึ่งได้บรรจุเป็นพิเศษในกีฬาสีประจำปีนั้น ๆ เช่น ปีการศึกษา 2544 มีกีฬา flag football เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการประกวดขบวนพาเหรด ประกวดกองเชียร์ ประกวดเชียร์ลีดเดอร์ และการประกวดดรัมเมเยอร์ระหว่าง 5 คณะสี
กิจกรรมชุมนุม
กิจกรรมชุมนุมเป็นกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนที่มีความสนใจในด้านเดียวกัน ได้จัดตั้งหรือเข้าร่วมชุมนุมที่ตนสนใจ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาชุมนุมกำกับดูแล ซึ่งชุมนุมมีทั้งทางด้านวิชาการ ศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรีและกีฬา ทั้งนี้ นักเรียนชายและนักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนนักศึกษาวิชาทหาร จะถือว่าอยู่ชุมนุมรักษาดินแดนโดยอัตโนมัติ เนื่องจากคาบกิจกรรมชุมนุมอยู่ในช่วงวันจันทร์ตอนบ่าย ซึ่งเป็นช่วงที่นักเรียนชายไปเรียนนักศึกษาวิชาทหาร วงโยธวาทิตและวงดนตรีลูกทุ่งของโรงเรียนสร้างชื่อเสียงในการแข่งขันรายการชิงช้าสวรรค์เป็นที่รู้จักและยอมรับของชุมชุม
กิจกรรมจิตอาสา
กิจกรรมจิตอาสาของโรงเรียนเริ่มในปีการศึกษา 2551 มีนักเรียนกลุ่มหนี่งเข้าร่วมทำกิจกรรมจิตอาสาที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีและโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดยการชักชวนของเจ้าหน้าที่มูลนิธิกระจกเงาและมูลนิธิสยามกัมมาจล จึงมีการนำมาเผยแพร่ให้นักเรียนในโรงเรียนที่สนใจได้เข้าร่วมกิจกรรม ต่อมา เริ่มมีกลุ่มนักเรียนจัดตั้งกลุ่มจิตอาสาตามความสนใจของตัวเอง เช่น กลุ่ม SL.Play ที่แสดงละครสะท้อนปัญหาเยาวชน โดยการสนับสนุนเครือข่ายละครหน้ากากเปลือย[2][3] กลุ่ม Paper Ranger ทำสมุดจากกระดาษเหลือใช้เพื่ลดภาวะโลกร้อน โดยเจ้าหน้าที่จากเครือข่าย Paper Ranger[4] ชมรมคุยเปิดใจรักปลอดภัย ที่ทำการรณรงค์เกี่ยวกับเรื่องเพศและเอดส์ตามสถานที่ต่าง ๆ ร่วมกับเครือข่าย Youth Net[5] ชมรมจิตใส ใจอาสา ฝ่าโลกมืด เป็นกลุ่มขับร้องเพลงประสานเสียงของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น[6]
ต่อมา จึงมีการรวมกลุ่มจิตอาสาเหล่านี้เข้าเป็นเครือข่ายโดยใช้ชื่อว่า "เครือข่ายจิตอาสาชาวเลืดอหมู-ดำ" เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวในการดำเนินงาน และมีการเสนอชื่อและได้รับการพิจารณาให้ได้รับการยกย่องและเชิดชูเกียรติให้เป็นกลุ่มเยาวชนดีเด่นกรุงเทพมหานคร (ประกายเพชร) ประจำปี 2553 ด้านการพัฒนาสังคมและสภาเยาวชน[7][8]
กิจกรรมระหว่างโรงเรียน
แก้งานภาษาไทยเพชรยอดมงกุฎ
ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย
แก้ที่ | รายนามผู้อำนวยการ | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | นาย ชาลี ถาวรานุรักษ์ | พ.ศ. 2518 - 2523 |
2 | นาย มนตรี ชุติเนตร | พ.ศ. 2523 - 2526 |
3 | นาย ดุสิต พูนพอน | พ.ศ. 2526 - 2531 |
4 | นาง จันทร์เพ็ญ เจริญผลารักษ์ | พ.ศ. 2531 - 2533 |
5 | นาง ศิริลักษณ์ นันทพิศาล | พ.ศ. 2533 - 2536 |
6 | นาย พงษ์ศักดิ์ รุ่งโรจน์พานิช | พ.ศ. 2536 - 2539 |
7 | นาย สมรัก แพทย์พันธุ์ | พ.ศ. 2539 - 2543 |
8 | นาง มยุรัตน์ สัตตวัฒนานนท์ | พ.ศ. 2543 - 2545 |
9 | นาย ชเนศร นาคนิยม | พ.ศ. 2546 - 2549 |
10 | นาย สุธน คุ้มสลุด | พ.ศ. 2549 - 2550 |
11 | นาย ณัฐกิจ บัวขม | พ.ศ. 2550 - 2558 |
12 | นาย อารีย์ วีระเจริญ | พ.ศ. 2558 - 2559 |
13 | นาง คนึงนาถ จันทวงษ์ | พ.ศ. 2561 - 2563 |
14 | นางธัญจิรา โชติพงศ์กุล | พ.ศ. 2564 - 2565 |
15 | นาย เจนการณ์ เพียงปราชญ์ | พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน |
การรับนักเรียนเข้าศึกษา
แก้ในแต่ละปีการศึกษา โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัยจะทำการรับนักเรียนเข้าศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย[9]
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
มีการรับนักเรียนเข้าศึกษา 4 ประเภท คือ นักเรียนในเขตพื้นที่บริการด้วยวิธีการจับฉลาก โดยนักเรียนที่อยู่ในเขตพื้นที่บริการ ได้แก่
- นักเรียนที่มีภูมิลำเนาในเขตราชเทวี เขตพญาไท เขตปทุมวัน และเขตดินแดง เป็นจำนวนร้อยละ 50 ของการรับนักเรียนทั้งหมด
ส่วนอีกร้อยละ 50 เป็นการรับนักเรียนในอีก 3 ประเภท คือ
- นักเรียนที่สอบคัดเลือก
- นักเรียนที่มีความสามารถทางด้านดนตรีและกีฬา
- นักเรียนที่มีความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
มีการรับนักเรียนทั้งที่จบจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัยและที่จบจากโรงเรียนอื่น โดยการสอบคัดเลือก จำแนกสายการเรียนเป็น 6 แผนก ได้แก่
- แผนกวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
- แผนกภาษาอังกฤษ-คณิตศาสตร์
- แผนกภาษาอังกฤษทั่วไป
- แผนกภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน
- แผนกภาษาอังกฤษ-ภาษาญี่ปุ่น
- แผนกภาษาอังกฤษ-ภาษาเกาหลี
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
แก้- รศ. ชูศักดิ์ ศิรินิล (สตร.รุ่น 2508) อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- รศ.ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี (สตร.รุ่น 2499) ราชบัณฑิต ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะสถาปัตยกรรม พ.ศ. 2537
- พล.ต.ศรชัย มนตริวัต (สตร.รุ่น 2508) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
- ดร.ศรัณย์ ศรลัมพ์ (ส.ล.รุ่น 2519) รองผู้อำนวยการโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม
- นางสุดา ชื่นบาน (สตร.รุ่น 2505) นักร้อง - นักแสดง
- ดอน สอนระเบียบ นักร้อง-นักแสดง
- โอริเวอร์ บีเวอร์ นักแสดง
- วาเนสซ่า บีเวอร์ นักแสดง,นางแบบ
อ้างอิง
แก้- ↑ "สถานศึกษาในสังกัดจากเขตราชเทวี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-26. สืบค้นเมื่อ 2011-05-02.
- ↑ การแสดงละครสำหรับเยาวชนและการเสวนา: พื้นที่ศิลปะการละครกับเยาวชน / Youth and Theatre Space
- ↑ เด็กดี คนละครสะท้อนจิตอาสา
- ↑ ""กระดาษดิ้นได้ ทำให้ไม่ถึงทางตัน"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-05-09.
- ↑ "ครอบครัวจิตอาสา" โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย
- ↑ “จิตใส ใจอาสา ฝ่าโลกมืด” เสียงประสานแห่งความสุข จากนักเรียนผู้พิการทางสายตาโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย
- ↑ เกียรติยศคนอาสาชาวเลือดหมู-ดำ[ลิงก์เสีย]
- ↑ หนังสือเยาวชนดีเด่นกรุงเทพมหานคร (ประกายเพชร) ประจำปี 2553 จัดทำโดยศูนย์เยาวชนกรุวเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) หน้า 44-45
- ↑ โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย ระเบียบการการรับนักเรียน ปีการศึกษา 2554[ลิงก์เสีย]
- คู่มือนักเรียน ปีการศึกษา 2544
- ราตรีสันติราษฎร์ ครั้งที่ 27.ไทภูมิ พับลิชชิ่ง.2551
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์