โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม

โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม เป็นโรงเรียนรัฐบาลประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ในตำบลสวนใหญ่ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–6 โรงเรียนวัดเขมาภิรตารามเป็นหนึ่งในโรงเรียนมาตรฐานสากล (World-Class Standard School) ห้าร้อยโรงเรียน และเป็นโรงเรียนรางวัลพระราชทานประจำปี พ.ศ. 2536 และ 2553

โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม
ตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม
บริเวณสนามภายในโรงเรียน
ที่ตั้ง
แผนที่
พิกัด13°49′23.8″N 100°30′11.1″E / 13.823278°N 100.503083°E / 13.823278; 100.503083
ข้อมูล
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
คำขวัญ • จรรยาดี มีปัญญา กีฬาเด่น เน้นวินัย
 • สจฺจํ เว อมตา วาจา
(คำสัตย์เป็นคำไม่ตาย)
สถาปนา1 เมษายน พ.ศ. 2450 (117 ปี)
ผู้ก่อตั้งพระวินัยรักขิต (คง ปญฺญาทีโป)
เขตการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส1012230147
ผู้อำนวยการโรงเรียนกรชนก สุตะพาหะ
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1–6
เพศสหศึกษา
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน • ไทย
 • อังกฤษ
สี  น้ำเงิน
  เหลือง
  แดง
เพลงมาร์ชเขมา
เว็บไซต์www.kma.ac.th

ประวัติ แก้

โรงเรียนวัดเขมาภิรตารามกำเนิดมาจากการที่ผู้ปกครองได้มาฝากกุลบุตรให้เป็นศิษย์วัดเขมาภิรตาราม โดยกินอยู่หลับนอนที่วัดเพื่อการศึกษาเล่าเรียนกับพระ มีเจ้าอาวาสเป็นผู้ดูแลคล้ายกับครูใหญ่ พระลูกวัดเป็นครูน้อย อาศัยเรียนตามกุฏิ ศาลาการเปรียญ หน้าโบสถ์ วิชาที่สอนมีภาษาไทย ภาษาขอม การอ่าน การเขียน การคัดลายมือ วิชาศีลธรรม วิชาพุทธศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และพงศาวดารไทยจากความรู้และประสบการณ์ของพระผู้สอน

การเรียนการสอนดำเนินมาจนถึง พ.ศ. 2443 พระวินัยรักขิต (คง ปญฺญาทีโป) เจ้าอาวาสวัดเขมาภิรตาราม มีความประสงค์จะส่งเสริมการศึกษาของกุลบุตรให้เจริญยิ่งขึ้น ประกอบกับขณะนั้นอยู่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายการศึกษาออกไปยังหัวเมือง มีการตั้งโรงเรียนหลวงหรือโรงเรียนรัฐบาลในหัวเมืองหลายแห่ง โดยมีกรมศึกษาธิการในสมัยนั้นเป็นผู้ดำเนินการตามพระราชประสงค์ พระวินัยรักขิตเห็นว่ากุลบุตรที่นิยมศึกษาในโรงเรียนวัดเขมาภิรตารามมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ควรจะดำเนินการขอจัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นจึงได้ติดต่อกรมศึกษาธิการให้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นที่วัดเขมาภิรตาราม ใน พ.ศ. 2450 กรมศึกษาธิการก็อนุญาตให้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นที่วัดเขมาภิรตาราม โดยให้ชื่อว่า โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม มีฆราวาสเข้ามาเป็นครูสอน เป็นโรงเรียนประเภทสหศึกษา (ในยุคเริ่มต้น) โดยมีพระวินัยรักขิตอุปการะโรงเรียน

ต่อมานักเรียนเพิ่มขึ้นทุกปีจนสถานที่เรียนไม่เพียงพอ พระวินัยรักขิตได้ขอพระบรมราชานุญาตขอใช้พระที่นั่งมูลมณเฑียร (เป็นพระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้รื้อถอนจากในพระบรมมหาราชวังมาสร้างไว้ที่วัดเขมาภิรตาราม เดิมใช้เป็นที่รับรองและประทับแรมสำหรับพระเถระผู้ใหญ่ที่เป็นพระราชวงศ์เมื่อเสด็จมาตรวจการคณะสงฆ์และตรวจการศึกษา) เป็นสถานที่เรียนและได้รับพระราชทานให้ใช้เป็นโรงเรียนได้ นับได้ว่าพระที่นั่งมูลมณเฑียรเป็นอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียน ต่อมาใน พ.ศ. 2499 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ดำเนินการให้กระทรวงศึกษาธิการจัดซื้อที่ดินเพื่อก่อสร้างอาคารโรงเรียนหลังใหม่ให้กว้างขว้างกว่าเดิม กระทรวงศึกษาธิการได้ติดต่อซื้อที่ดินส่วนหนึ่งของชาวบ้านทางทิศเหนือของวัดเขมาภิรตารามอีก 13 ไร่ 86 วา และรวมกับที่ดินของวัดอีก 3 ไร่ 1 งาน 80 ตารางวา รวมเป็นเนื้อที่ 16 ไร่ 2 งาน 66 ตารางวา ปรับปรุงพื้นดินดำเนินการก่อสร้าง และวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2496 โดยมีพลเอก มังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน สร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้นแบบไทยจำนวน 22 ห้องเรียน (ปัจจุบันคืออาคาร 1) เปิดใช้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2497 จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นประธานพิธีเปิดใช้เป็นอาคารเรียนของโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม

พ.ศ. 2513 โรงเรียนได้รับการอนุมัติให้สร้างอาคารเรียน 3 ชั้น 18 ห้องเรียน อีก 1 หลัง ทางด้านทิศตะวันตก (ปัจจุบันคืออาคาร 2) ก่อ สวัสดิพาณิชย์ อธิบดีกรมสามัญศึกษา ได้มาเป็นประธานพิธีเปิดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ต่อมาใน พ.ศ. 2516 ได้งบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน 4 ชั้น 12 ห้องเรียน เพิ่มขึ้นอีก 1 หลัง (ปัจจุบันคืออาคาร 4) และใน พ.ศ. 2523 โรงเรียนได้รับงบประมาณสร้างอาคารพิเศษ 1 หลัง (ปัจจุบันคืออาคาร 5)

อาคารและสถานที่ แก้

  • อาคารเรียน 1 จำนวน 2 ชั้น
  • อาคารเรียน 2 จำนวน 3 ชั้น
  • อาคารเรียน 3 จำนวน 4 ชั้น (ปัจจุบัน เป็นอาคารเรียนสำหรับนักเรียนที่ศึกษาในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (GIFTED))
  • อาคารเรียน 4 จำนวน 4 ชั้น (ปัจจุบัน เป็นอาคารเรียนสำหรับนักเรียนที่ศึกษาในโครงการห้องเรียนพิเศษ ENGLISH PROGRAM)
  • อาคารเรียน 5 จำนวน 4 ชั้น
  • อาคารเรียน 6 จำนวน 7 ชั้น
  • อาคารเรียน 7 จำนวน 8 ชั้น
  • อาคารพลศึกษา จำนวน 2 ชั้น
  • โรงอาหารและหอประชุม จำนวน 2 ชั้น
  • ศาลาทรงไทย จำนวน 7 หลัง

กิจกรรมคณะสี แก้

โรงเรียนวัดเขมาภิรตารามได้แบ่งคณะสีออกเป็น 5 คณะสี โดยใช้ชื่อตามสีของดอกไม้ ในการทำกิจกรรมกีฬาภายใน "เขมาเกมส์" เพื่อส่งเสริมความสามัคคีกลมเกลียว เป็นประจำทุกปี ซึ่งประกอบไปด้วย

  •   คณะแก้วเจ้าจอม
  •   คณะราชพฤกษ์
  •   คณะปาริชาต
  •   คณะหยกมณี
  •   คณะพวงคราม

รายชื่ออาจารย์ใหญ่และผู้อำนวยการ แก้

ลำดับที่ ชื่อ วาระการดำรงตำแหน่ง
1 นายผัน ไม่ทราบนามสกุล พ.ศ. 2450–2451
2 นายถนอม ปิณฑะบุตร พ.ศ. 2451–2453
3 ขุนการัญสิขภาร (ทุเรียน ทัพภะพยัคฆ์) พ.ศ. 2453–2458
4 นายตั้ว ทัตตานนท์ พ.ศ. 2458–2481
5 นายธำรง เทวะผลิน พ.ศ. 2481–2481
6 นายฉัตร อินทรลักษณ์ พ.ศ. 2481–2497
7 นายสง่า ดีมาก พ.ศ. 2497–2516
8 นายพิทยา วรรธนานุสาร พ.ศ. 2516–2517
9 นายเจือ หมายเจริญ พ.ศ. 2517–2519
10 นายบุญเนิน หนูบรรจง พ.ศ. 2519–2522
11 นายวรรณิศ วงษ์สง่า พ.ศ. 2522–2527
12 นายวรรณ จันทร์เพ็ชร พ.ศ. 2527–2529
13 นายสนิทพงศ์ นวลมณี พ.ศ. 2529–2533
14 นายสาโรช วัฒนสโรช พ.ศ. 2533–2539
15 นายวิชัย เวียงสงค์ พ.ศ. 2539–2540
16 นายอนันต์ ตรีนิตย์ พ.ศ. 2540–2541
17 นายชูชาติ ชัยบุรินทร์ พ.ศ. 2541–2546
18 นายวินัย นุ่นพันธ์ พ.ศ. 2546–2550
19 นายจารึก ศรีเลิศ พ.ศ. 2550–2556
20 นายอธิชาติ สวัสดี พ.ศ. 2556–2559
21 นายสันติ สุวรรณหงษ์ พ.ศ. 2560–2560
22 นางจรุญ จารุสาร พ.ศ. 2560–2566
23 นางกรชนก สุตะพาหะ พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน

ศิษย์เก่า แก้

นักการเมือง แก้

ทหาร แก้

นักวิชาการ แก้

  • ศาสตราจารย์เกตุ กรุดพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร้อยเอก เสนีย์ วิลาวรรณ อดีตคณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

ศิลปิน แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้