ศาสตราจารย์ เกตุ กรุดพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2496 ที่อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี บิดาชื่อ นายศักดิ์ กรุดพันธ์ มารดาชื่อ นางอุบล กรุดพันธ์ สมรสกับ นางธนกร กรุดพันธ์ (นามสกุลเดิม เกษมกิจวัฒนา) มีธิดา 1 คน คือ นางสาวศุภรา กรุดพันธ์


เกตุ กรุดพันธ์

เกิด2 ตุลาคม พ.ศ. 2496 (70 ปี)
อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
สัญชาติไทย
อาชีพอาจารย์
มีชื่อเสียงจากนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทย

ศาสตราจารย์ เกตุ กรุดพันธ์ หรือ ศาสตราจารย์ ดร.เกตุ กรุดพันธ์ เป็นศาสตราจารย์สาขาเคมีวิเคราะห์คนแรกของประเทศไทย ปัจจุบันทำงานที่ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ประสานงานห้องปฏิบัติการสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการในการพัฒนาเพื่อการลดขนาดในการวิเคราะห์โดยการไหล (กลุ่มวิจัย Flow-based Analysis Research Group)ศาสตราจารย์ ดร.เกตุ กรุดพันธ์ สนใจในวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาวิธีและเครื่องมือ ในการการวิเคราะห์ทางเคมีโดยเฉพาะเทคนิคที่อาศัยหลักการไหล ซึ่งจะมุ่งเป้าที่จะเป็นแบบราคาถูก งานวิจัยจะสัมพันธ์กับปัญหาของท้องถิ่นแต่มีผลกระทบในระดับนานาชาติอีกด้วย ไม่นานมานี้ได้ริเริ่มและผลักดันในการพัฒนาการวิเคราะห์ที่อาศัยหลักการไหลเพื่อการคัดกรองในการตรวจวินิจฉัยโรคบางชนิด (เช่น มะเร็ง, โรคตับ, โรคข้อ และกระดูก และโรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น) การพัฒนาดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาระบบแพทย์ทางไกลในพื้นที่ธุรกันดานในประเทศไทย และได้ริเริ่มผลักดันเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเคมีแบบสะอาดโดยการใช้รีเอเจนต์ที่ได้จากธรรมชาติ การพัฒนาการวิจัยจะมีผลเชื่อมโยงกับการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่อีกด้วย ศาสตราจารย์ ดร.เกตุ กรุดพันธ์ ได้บุกเบิกงานทาง flow injection analysis ที่เกี่ยวข้องกับกัมมันตรภาพรังสี การเตรียมตัวอย่างแบบในท่อที่ใช้ระบบการไหลผนวกเข้ากับเทคนิคทาง โครมาโทกราฟี การลดขนาดของการวิเคราะห์ทางเคมี เช่น “การดำเนินการวิเคราะห์บนชิพ (lab-on-Chip)” และ “การดำเนินการทดลองที่วาล์ว (Lab-at-Valve)” ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในการวิเคราะห์ทั้งระบบในระดับไมโคร (micro total analysis system)

ประวัติ แก้

การศึกษา แก้

ประสบการณ์การฝึกอบรมและดูงาน แก้

นอกเหนือจากการดูงานต่างๆ แล้ว มีประสบการณ์หลังปริญญาเอก (Post doctoral experiences) ได้แก่

  • DAAD Research Fellow, ที่ University of Karlsruhe และ Karlsruhe Nuclear Center Germany (2526-2527, 2530, 2532, 2537)
  • IAEA Research Fellow, University Of Ghent, Belgium (2529)
  • Water Studies Center, Monash University, Australia (2529)
  • Alexander von Humboldt Research Fellow ที่ Karlsruhe Nuclear Research Center, Germany (2534-2535)
  • The Royal Society Visiting Fellow ที่ Liverpool John Moores University, UK (2541)

ประสบการณ์ทำงาน แก้

เกตุ มีการทำงานวิจัยและผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับจากทั้งในและต่างประเทศ โดยได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติ ได้แก่

  • นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เคมี-เภสัช” ปี 2542 จาก สภาวิจัยแห่งชาติ
  • นักศึกษาเก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่” ปี 2542 จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น” ประจำปี พ.ศ. 2544 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
  • เมธีวิจัยอาวุโส สกว.” ปี 2544-2546 และ 2547-2550
  • Science & Technology Research Grant” ปี 2544 จาก Thailand Toray Science Foundation
  • JAFIA Scientific Award” (พ.ศ. 2545) จาก The Japanese Association for Flow Injection Analysis (JAFIA) ประเทศญี่ปุ่น (นับเป็นชาวเอเชียคนแรก (ยกเว้นชาวญี่ปุ่น) ที่ได้รับรางวัลนี้)
  • บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ด้านเคมีวิเคราะห์) ” ปี พ.ศ. 2547 จากสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
  • นักวิจัยดีเด่น รางวัลมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ช้างทองคำ” ปี พ.ศ. 2550 จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • JAFIA Honor Award for Science (พ.ศ. 2551) จาก Japanese Association for Flow Injection Analysis (นับเป็นชาวเอเชียคนแรก (ยกเว้นชาวญี่ปุ่น) ที่ได้รับรางวัลนี้)

ผลงานวิชาการที่โดดเด่น คือ ได้ริเริ่มการวิจัยเคมีวิเคราะห์แนวใหม่เกี่ยวกับ flow-based analysis ได้รับเกียรติเป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น แห่งชาติทางเคมีคนแรกของประเทศ และเป็นคนแรกที่อยู่ในสถาบันต่างจังหวัด (ปัจจุบันมี 2 คนจากผู้ที่ได้รับรางวัลนี้ 35 คน) นอกจากนี้ยังเป็นศาสตราจารย์คนแรกทางเคมีวิเคราะห์ในประเทศไทย มีส่วนในการผลักดันบรรยากาศการวิจัยทางเคมีวิเคราะห์ของประเทศไทยจนเข้าสู่ระดับนานาชาติ มีส่วนทำให้เกิดหลักสูตรปริญญาเอกเคมีวิเคราะห์ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นแห่งแรกของประเทศไทย [1]

ประสบการณ์ด้านการบริหารงานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ

  • ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2533–2537)
  • กรรมการสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (หลายสมัย)
  • กรรมการวิจัยประจำภาควิชา และ กรรมการวิจัยประจำคณะวิทยาศาสตร์ (หลายสมัย)
  • กรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (หลายสมัย)
  • กรรมการอำนวยการโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและการวิจัยทางเคมี (PERCH)
  • ผู้ประสานงานโครงการปริญญาดุษฎีบัณฑิตร่วมกับสถาบันต่างประเทศ แขนงเคมีวิเคราะห์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่
  • ผู้ประสานงานโครงการเพิ่มสมรรถนะความแข่งขันกับต่างประเทศของ สกอ. ในโครงการ “การพัฒนาเครื่องมือและวิธีสำหรับวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์ในระดับไมโครและนาโนเพื่อใช้ในทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม” (2549 – 2552)
  • รองประธานโปรแกรม Environmental Risk Assessment Program ซึ่งมีความร่วมมือกับ Saarland University เยอรมนี โดยการสนับสนุนของ GTZ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. (หน้า 80 ใน “อดีต ปัจจุบัน อนาคต วิทยาการเคมีและเภสัชไทย – ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ยอดหทัย เทพธรานนท์ ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์ สมเดช กนกเมธากุล – บรรณาธิการ – จัดพิมพ์โดย มูลนิธิบัณฑิตยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2549)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๔, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๑๒๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๐๓, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓