โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี

โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี เป็นโรงเรียนสหศึกษาประจำอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ในท้องที่หมู่ที่ 3 บ้านวัดชลอ ตำบลวัดชลอ บนธรณีสงฆ์ของวัดกล้วย เนื้อที่ 12 ไร่ และที่ดินบริจาคของนางสง่า สิลา, นายอเนก ศิลา, นางสาวละมุล ศิลา และนายสงัด ปุกเกตุ เนื้อที่ 1 งาน 49 วา

โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
นนทบุรี
พระเกี้ยว
สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
ที่ตั้ง
แผนที่
เลขที่ 79/11 หมู่ที่ 3 ซอยบางกรวย-ไทรน้อย 22 ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11000
พิกัด13°48′20.5″N 100°28′44.2″E / 13.805694°N 100.478944°E / 13.805694; 100.478944
ข้อมูล
ชื่ออื่นบ.ด.น. (B.D.N.)
ชื่อเดิมโรงเรียนบางกรวย
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
คำขวัญลูกบดินทรเป็นผู้ประพฤติดีและมีความรู้
สถาปนา17 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 (63 ปี)
(โรงเรียนบางกรวย)
25 มิถุนายน พ.ศ. 2542 (24 ปี)
(โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี)
เขตการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี เขต 1
หน่วยงานกำกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส1012230154
ผู้อำนวยการโรงเรียนสายไหม ดาบทอง
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1–6
เพศสหศึกษา
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน • ไทย
 • อังกฤษ
 • จีน[ต้องการอ้างอิง]
สี  น้ำเงิน
เพลง"มาร์ชโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี"
ดอกไม้สัตตบงกช (บัวหลวงสีชมพู)
เว็บไซต์bodindechanon.ac.th

ประวัติ แก้

โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี เดิมมีชื่อว่า โรงเรียนบางกรวย เปิดทำการสอนเป็นปฐมฤกษ์ในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 โดยใช้ศาลาวัดกล้วยเป็นสถานที่เรียนชั่วคราว มีนายประสม ศิริจันทร์ ศึกษาธิการอำเภอบางกรวย รักษาการแทนครูใหญ่ และทางอำเภอบางกรวยได้ขอให้นายอบ น่วมอยู่, นายเจริญ ด้วงเอี่ยม และนายเฉลิม พบสระบัว ครูโรงเรียนวัดชลอ มาเป็นครูช่วยสอนในครั้งแรก ต่อมาวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2503 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งให้นายสำรวม ดิษนิล ครูโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่คนแรกของโรงเรียน

ใน พ.ศ. 2541 กรรมการสมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนบางกรวย สมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนบางกรวย และคณะครูอาจารย์ได้ร่วมกันพิจารณาเห็นว่า ผู้ปกครองมีทัศนคติและค่านิยมในการส่งบุตรหลานให้เข้าเรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง จึงมีมติตรงกันว่าสมควรเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเพื่อให้เป็นจุดสกัดนักเรียนจำนวนหนึ่งไม่ให้เข้าไปเรียนแออัดอยู่ในเฉพาะโรงเรียนส่วนกลาง ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2542 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเปลี่ยนชื่อโรงเรียนบางกรวยเป็น โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี[1]

คณะสี แก้

  • คณะพรหมสุรินทร์ (สีชมพู)
  • คณะราชโยธา (สีเขียว)
  • คณะเกษตรรักษา (สีแสด)
  • คณะราชสุภาวดี (สีฟ้า)

หลักสูตรและแผนการเรียน แก้

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แก้

  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • แผนการเรียนภาษาต่างประเทศ
  • แผนการเรียนศิลปะ-การงานอาชีพ
  • แผนการเรียนการงานอาชีพ

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แก้

  • แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • แผนการเรียนคณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาญี่ปุ่น
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน
  • แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาเกาหลี
  • แผนการเรียนคหกรรมศาสตร์
  • แผนการเรียนอาชีวะ

อาคารสถานที่ แก้

 
แผนผังโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี
  1. ป้อมยาม
  2. อาคารศิษย์เก่าบางกรวย-บดินทรนนท์
  3. โดม ๑
  4. เรือนไทย
  5. เสาธง
  6. อนุเสาวรีย์ท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา
  7. พระพุทธวิโมกข์
  8. อาคาร ๑ ชั้น ๑: ห้องกลุ่มบริหารบุคคลและกิจการนักเรียน, ห้องกลุ่มบริหารวิชาหาร, ห้องกลุ่มบริหารทั่วไป, ห้องกลุ่มบริหารงบประมาณ, ห้องประชุม ๑, ห้องผู้อำนวยการ
  9. อาคาร ๑ ชั้น ๒: ห้องเรียน, ห้องศิลปะ, ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
  10. อาคาร ๑ ชั้น ๓: ห้องเรียน, ห้องดนตรีไทย
  11. อาคาร ๒ ชั้น ๑: โรงอาหาร, ห้องเก็บของ, ธนาคารโรงเรียน, ห้องแนะแนว, ห้องประชุมวรรณาลัย, ห้องประชุมเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี), ห้องพยาบาล
  12. อาคาร ๒ ชั้น ๒: หอประชุม, ห้องโสตทัศนศึกษา, ห้องคหกรรม
  13. อาคาร ๒ ชั้น ๓: ห้องคอมพิวเตอร์
  14. โดม ๒
  15. ห้องน้ำหญิง
  16. อาคาร ๓ ชั้น ๑: ห้องการงานอาชีพ
  17. อาคาร ๓ ชั้น ๒: ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์, ห้องศูนย์คณิตศาสตร์, ห้องเรียน
  18. อาคาร ๓ ชั้น ๓: ห้องเรียน
  19. อาคาร ๓ ชั้น ๔: ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
  20. ห้องน้ำชาย
  21. อาคาร ๔ ชั้น ๑: ร้านปริ้นเอกสาร, ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
  22. อาคาร ๔ ชั้น ๒: ห้องสมุด, ห้องศูนย์สุขศึกษา, ห้องอาเซียน
  23. อาคาร ๔ ชั้น ๓: ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ห้องวิทยาศาสตร์
  24. อาคาร ๔ ชั้น ๔: ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม, ห้องศูนย์สังคม, ห้องเรียน, ห้องวิทยาศาสตร์
  25. อาคาร ๔ ชั้น ๕: ห้องกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย, ห้องภาษาไทย, ห้องเรียน
  26. อาคาร ๔ ชั้น ๖: ห้องเรียน
  27. อาคาร ๔ ชั้น ๗: ห้องดนตรีสากล, ห้องเรียน
  28. สนามฟุตบอล King Power
  29. โรงจอดรถ

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน[2] แก้

ที่ ชื่อ ปีที่ดำรงตำแหน่ง
ผู้บริหารโรงเรียนบางกรวย
1 นายสำรวม ดิษนิล พ.ศ. 2503-2524
2 นายสุทิน ภู่เจริญ พ.ศ. 2524-2529
3 นายวันชาติ เฟื่องรัตน์ พ.ศ. 2529-2531
4 นางนิยพรรณ ศรีสารคาม พ.ศ. 2531-2533
5 นางองุ่น จันทร์ขจร พ.ศ. 2533-2534
6 นางสาวณัฐญา ลิปิพันธ์ พ.ศ. 2534-2536
7 นายประวัติ นิลวัชรมณี พ.ศ. 2536-2539
8 นายเลียม คำภานุช พ.ศ. 2539-2542
ผู้บริหารโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี
1 นายพูนศักดิ์ สว่างโชติ พ.ศ. 2542-2549
2 นายอธิชาติ สวัสดี พ.ศ. 2549-2551
3 นายอภิรักษ์ ตรีคูณชวการณ์ พ.ศ. 2551
4 นายโพยม จันทร์น้อย พ.ศ. 2552-2557
5 นายสมศักดิ์ จี้เพ็ชร์ พ.ศ. 2557-2559
6 นายนาวี ทรัพย์ห่วง พ.ศ. 2559-2564
7 นายวรรณสูตร พันธุมะเกียรติ พ.ศ. 2564-2566
8 นางสายไหม ดาบทอง พ.ศ. 2566-ปัจจุบัน

อ้างอิง แก้

  1. "โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี". www.bodindechanon.ac.th.
  2. "โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) นนทบุรี". www.bodindechanon.ac.th.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้