คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ: Faculty of Science, Chiang Mai University) เป็นหนึ่งในสามคณะแรกของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มเปิดการเรียนการสอนวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ซึ่งเป็นการสอนวันแรกของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันดำเนินการจัดการเรียนการสอน และการวิจัย โดยจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Faculty of Science,
Chiang Mai University
สถาปนา18 มิถุนายน พ.ศ. 2507 (59 ปี)
คณบดีศาสตราจารย์ ดร.ธรณินทร์ ไชยเรืองศรี
ที่อยู่
239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ
อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200
สี███ สีเหลืองจำปา
เว็บไซต์www.science.cmu.ac.th

การรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อ แก้

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการรับนักศึกษาผ่านทาง 3 ช่องทาง ประกอบด้วย

  • โครงการพิเศษ มีทั้งโครงการที่คณะรับเอง และรับตรงผ่านมหาวิทยาลัย
  • โครงการรับตรงของคณะ ประกอบด้วย การรับนักศึกษาเข้าในโครงการทุน พสวท., ทุนเพชรทองกวาว, ทุน วคช. , โครงการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน (วทร.), และการรับเข้าโดยวิธีพิเศษ (วพ.) โดยเปิดรับสมัครนักเรียน ม.5 ในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ของทุกปี และสอบในเดือนพฤษภาคมของทุกปี นอกจากนี้ยังมีโครงการอัจฉริยภาพ (รับนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ JSTP) และโครงการพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์ (ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย) ซึ่งรับสมัครในเดือนกันยายน และสอบในเดือนธันวาคมของทุกปี
  • โครงการพิเศษผ่านมหาวิทยาลัย โดยโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและชุมชน (โครงการเรียนดี ม.ช. และโครงการกีฬา)
  • การรับนักศึกษาในระบบโควตาภาคเหนือ เป็นการรับนักศึกษาผ่านการสอบโควตาภาคเหนือ 17 จังหวัด ซึ่งจัดสอบในเดือนธันวาคมของทุกปี
  • การรับนักศึกษาในระบบแอดมิดชันส์

หลักสูตร แก้

หลักสูตรปริญญาตรี แก้

ปัจจุบันใช้หลักสูตรที่ปรับปรุงในปีการศึกษา 2548 - 2549 ตามแต่ละสาขาวิชา โดยคาดว่าปีการศึกษา 2554 จะมีการใช้หลักสูตรใหม่ โดยเพิ่มกระบวนการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม การเพิ่มรายวิชาสหกิจศึกษา และหลักสูตรสำหรับนักศึกษาปรีชาชาญ (Honor Program)[1]

หลักสูตรปริญญาโท แก้

หลักสูตรระดับปริญญาโทที่เปิดสอนในคณะวิทยาศาสตร์ มี 2 แผน เป็นหลักสูตร 2 ปี ใช้เวลาศึกษาไม่เกิน 5 ปี จำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต ดังนี้

  • แผน ก เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการทำวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์ ดังนี้
    • แบบ ก 1 ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ จำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
    • แบบ ก 2 ทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และศึกษากระบวนวิชา ในระดับบัณฑิตศึกษาอีกไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต
  • แผน ข เป็นแผนการศึกษาที่เน้นงานรายวิชา โดยไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ แต่ต้องมีการค้นคว้าแบบอิสระ
    • ทำการค้นคว้าแบบอิสระ 5-6 หน่วยกิต และศึกษากระบวนวิชาในระดับบัณฑิตศึกษาอีกไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต[2]

หลักสูตรปริญญาเอก แก้

หลักสูตรระดับปริญญาเอกที่เปิดสอนในคณะวิทยาศาสตร์มี 2 แบบ ได้แก่

  • แบบ 1 เน้นการวิจัยที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่
    • แบบ 1.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโทต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และใช้ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา
    • แบบ 1.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต และใช้ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

นอกจากนี้หลักสูตรอาจกำหนดให้เรียนกระบวนวิชาเพิ่มเติมได้โดยไม่นับหน่วยกิต

  • แบบ 2 เน้นการวิจัยและมีการทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูง ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ
    • แบบ 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาโทต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และศึกษากระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษาไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และใช้ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา
    • แบบ 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และศึกษากระบวนวิชาในระดับบัณฑิตศึกษาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต และใช้ระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 8 ปีการศึกษา[3]
หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาคณิตศาสตร์
  • สาขาเคมี
  • สาขาชีวเคมีและชีวเคมีเทคโนโลยี
  • สาขาฟิสิกส์
  • สาขาวัสดุศาสตร์
  • สาขาชีววิทยา
  • สาขาสัตววิทยา
  • สาขาจุลชีววิทยา
  • สาขาสถิติ
  • สาขาเคมีอุตสาหกรรม
  • สาขาธรณีวิทยา
  • สาขาอัญมณีวิทยา
  • สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิทยาการข้อมูล

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • หลักสูตรปกติ
    • สาขาคณิตศาสตร์
    • สาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์
    • สาขาการสอนคณิตศาสตร์
    • สาขาเคมี
    • สาขาการสอนเคมี
    • สาขาเคมีอุตสาหกรรม
    • สาขาฟิสิกส์
    • สาขาฟิสิกส์ประยุกต์
    • สาขาวัสดุศาสตร์
    • สาขาการสอนฟิสิกส์
    • สาขาสถิติประยุกต์
    • สาขาชีววิทยา
    • สาขาการสอนชีววิทยา
    • สาขาธรณีวิทยา
    • สาขาธรณีฟิสิกส์ประยุกต์
    • สาขาชีวสารสนเทศศาสตร์
    • สาขาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์บูรณาการ
    • สาขานิติวิทยาศาสตร์
    • สาขาจุลชีววิทยาประยุกต์
  • หลักสูตรนานาชาติ
    • สาขาธรณีฟิสิกส์ประยุกต์
    • สาขาธรณีศาสตร์ปิโตรเลียม
    • สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
    • สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • หลักสูตรปกติและภาคพิเศษ
    • สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • หลักสูตรร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย
    • สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ
      • แขนงชีวเคมีและชีวเคมีเทคโนโลยี
      • แขนงวิชาจุลชีววิทยาและเทคโนโลยีจุลินทรีย์

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) (Ph.D.)

  • หลักสูตรปกติ
    • สาขาคณิตศาสตร์
    • สาขาเคมี
    • สาขาธรณีวิทยา
    • สาขาฟิสิกส์
    • สาขาวัสดุศาสตร์
    • สาขาชีววิทยา
    • สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
    • สาขาความหลากหลายทางชีวภาพและชีววิทยาชาติพันธุ์
    • สาขาจุลชีววิทยาประยุกต์
    • สาขาฟิสิกส์ประยุกต์
  • หลักสูตรปกติภาษาอังกฤษ
    • สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • หลักสูตรนานาชาติ
    • สาขาเคมี
    • สาขาธรณีวิทยา
    • สาขาฟิสิกส์
    • สาขาวัสดุศาสตร์
  • หลักสูตรร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัย
    • สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ
    • สาขาวิทยาศาสตร์นาโนและเทคโนโลยีนาโน

ภาควิชาและการแบ่งส่วนงาน แก้

ปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีภาควิชาทั้งสิ้น 8 ภาควิชา ดังต่อไปนี้