สุชาติ บรรดาศักดิ์

สุชาติ บรรดาศักดิ์ (เกิด 11 สิงหาคม พ.ศ. 2498) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนนทบุรี 3 สมัย และหัวหน้าพรรคราษฎร์วิถี

สุชาติ บรรดาศักดิ์
ไฟล์:สุชาติ บรรดาศักดิ์.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 สิงหาคม พ.ศ. 2498 (68 ปี)
อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
พรรคการเมืองประชากรไทย
ราษฎร
ไทยรักไทย
ประชาราช
ประชาธิปัตย์
พลังพลเมืองไทย
ราษฎร์วิถี (ปัจจุบัน)

ประวัติ แก้

นายสุชาติ บรรดาศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2498 เป็นบุตรของนายไว และ นางเอม บรรดาศักดิ์ และเป็นน้องชายของนาย วิชัย บรรดาศักดิ์ นายกเทศมนตรี เทศบาลนครปากเกร็ด สำเร็จการศึกษา ปริญญาตรี และปริญญาโท จาก มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

งานการเมือง แก้

นายสุชาติ เคยดำรงตำแหน่งประธานสภาจังหวัดก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคประชากรไทย (ก่อนที่จะย้ายมาสังกัด พรรคราษฎร ในเวลาต่อมา) และได้รับเลือกติดต่อกันจนถึง พ.ศ. 2548 รวม 3 สมัย [1]

พ.ศ. 2550 นายสุชาติลงสมัคร ในสังกัดพรรคประชาราช แต่ได้คะแนนเป็นเพียงอันดับที่ 9 ของเขต (มี ส.ส. ได้ 3 คน) ต่อมา ในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เขต 4 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง โดยพ่ายแพ้ให้กับ นายมนตรี ตั้งเจริญถาวร จากพรรคเพื่อไทย

ใน พ.ศ. 2561 นายสุชาติได้ย้ายจากพรรคประชาธิปัตย์มาสังกัด พรรคพลังพลเมืองไทย รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค[2] และประธานสรรหาผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคพลังพลเมืองไทย[3] ต่อมาในปี 2564 เขาได้จัดตั้งพรรครวมไทยรักชาติขึ้น และรับตำแหน่งหัวหน้าพรรค[4][5]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

นายสุชาติ บรรดาศักดิ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดนนทบุรี สังกัดพรรคประชากรไทยพรรคราษฎร (พ.ศ. 2541)
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดนนทบุรี สังกัดพรรคไทยรักไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดนนทบุรี สังกัดพรรคไทยรักไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/D/070/T137.PDF
  3. อดีตงูเห่านั่งประธานสรรหาผู้สมัคร ส.ส.
  4. "สุชาติ บรรดาศักดิ์" อดีตไทยรักไทย ยื่นกกต.ตั้ง "พรรครวมไทยรักชาติ"
  5. อดีตส.ส.ไทยรักไทย ยื่นขอตั้งพรรค "รวมไทยรักชาติ"
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓