ศาลาการเปรียญ
ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารอเนกประสงค์ในงานสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งก่อสร้างในเขตธรรมาวาส ในบริเวณวัด เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ทางพุทธศาสนาในวันพระหรือวันธัมมัสสวนะ ใช้เป็นสถานที่สำหรับศึกษาพระธรรมของประชาชน (“เปรียญ” มาจากภาษาบาลีว่า “ปริยัติ” หมายถึง “พระปริยัติธรรม” หรือ “การศึกษาพระธรรม) ศาลาการเปรียญจัดเป็นศาสนสถานที่สำคัญของวัดรองลงมาจากอุโบสถ โบราณว่า "อุโบสถเป็นที่สำหรับพระพุทธ ศาลาการเปรียญเป็นที่สำหรับพระธรรม" คือ เป็นที่เผยแผ่ธรรม[1]
ศาลาการเปรียญมีลักษณะคล้ายเรือนหลังใหญ่ ยกพื้นสูงเสมอศีรษะคนยืน มีเฉลียงโดยรอบ กั้นฝาแต่ละด้านเป็นฝาโปร่ง ๆ ด้านหนึ่งทำยกพื้นเป็นอาสน์สงฆ์ สำหรับพระสงฆ์ขึ้นนั่งเจริญพระพุทธมนต์ ตรงหัวอาสน์สงฆ์ด้านหนึ่ง เป็นที่ตั้งพระพุทธรูป และเครื่องบูชา[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ศาลา-ศาลาการเปรียญ : คำวัด โดยพระธรรมกิตติวงศ์". คมชัดลึก.
- ↑ "สิ่งปลูกสร้างในเขตสังฆาวาส". สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-14. สืบค้นเมื่อ 2021-05-28.
ดูเพิ่ม
แก้หนังสือ
แก้- สมคิด จิระทัศนกุล วัด: พุทธศาสนสถาปัตยกรรมไทย โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2544. ISBN 974-6006-81-9