สุเมธ ฤทธาคนี
ว่าที่ร้อยตรีสุเมธ ฤทธาคนี (เกิด 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปทุมธานี เขต 5 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 ในสังกัดพรรคไทยรักไทย ปัจจุบันสังกัดพรรคพลังประชารัฐ
สุเมธ ฤทธาคนี | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรปทุมธานี เขต 5 | |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 8 มีนาคม พ.ศ. 2555 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย พลังประชารัฐ |
ประวัติ
แก้สุเมธ ฤทธาคนี เกิดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 เป็นบุตรของนายสำเนียง และนางอำรง ฤทธาคนี มีพี่ 1 คน สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม ปริญญาตรี สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท สาขานโยบายและแผน มหาวิทยาลัยเกริก และปริญญาเอก สังคมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ปรัชญาการเมือง
งานการเมือง
แก้อดีตเป็นสมาชิกสภาจังหวัดปทุมธานี ลาออกมาลงรับสมัครเลือกตั้ง ในปี พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ต่อมาปี พ.ศ. 2548 พ่ายให้กับนายเอกพจน์ ปานแย้ม จากพรรคชาติไทย
ปี พ.ศ. 2550 ลงสมัครกับพรรคพลังประชาชน และได้รับการเลือกตั้งอีกครั้ง พ.ศ. 2554 ลงสมัครกับพรรคเพื่อไทย และได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 3
ต่อมาวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555 ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อลงรับสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี[1] แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนายชาญ พวงเพ็ชร์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี จนนำไปสู่การมีมติพรรคเพื่อไทยที่ห้ามสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ลาออกเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[2]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้สุเมธ ฤทธาคนี ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดปทุมธานี สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดปทุมธานี สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541) → พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดปทุมธานี สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ส.ส.เขต 5 ปทุมธานี พรรคเพื่อไทย ลาออก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-07. สืบค้นเมื่อ 2012-03-08.
- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ว่าที่ร้อยตรีสุเมธ ฤทธาคนี เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของว่าที่ร้อยตรีสุเมธ ฤทธาคนี[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลสมาชิกพรรคเพื่อไทย (ว่าที่ร้อยตรีสุเมธ ฤทธาคนี) เก็บถาวร 2012-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, พรรคเพื่อไทย
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (ว่าที่ร้อยตรีสุเมธ ฤทธาคนี), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย