ดนุพล แก้วกาญจน์
ดนุพล แก้วกาญจน์ ชื่อเล่น แจ้ หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ พี่แจ้ เกิดวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2502 เป็นนักร้องและนักแต่งเพลงชาวไทยซึ่งเป็นขวัญใจวัยรุ่นที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นอย่างมากในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 หลังจากแยกตัวออกจากวงแกรนด์เอ็กซ์เขาก็ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวชุดแรกคือฝันสีทองในฐานะศิลปินเดี่ยวคนแรกของประเทศไทย[1]
ดนุพล แก้วกาญจน์ | |
---|---|
![]() ดนุพล แก้วกาญจน์ อัลบั้มฝันสีทอง พ.ศ.2529 | |
เกิด | 11 ตุลาคม พ.ศ. 2502 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนภาสุพงศ์ โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม โรงเรียนหอวัง |
อาชีพ |
|
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2523–ปัจจุบัน |
ผลงานเด่น | ฝันสีทอง ของขวัญ เทวดาเดินดิน ที่สุดของแจ้ |
บิดามารดา |
|
อาชีพทางดนตรี | |
เครื่องดนตรี | เสียงร้อง |
ช่วงปี | พ.ศ. 2523–ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | อินเทอร์นอล อาร์เอส นิธิทัศน์ โปรโมชั่น |
ประวัติ แก้ไข
จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจาก โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนหอวัง เริ่มเล่นโฟล์คซอง ตั้งแต่สมัยที่เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และเป็นนักร้องอาชีพครั้งแรกที่เลิฟคอฟฟี่ช้อป(ชั้น 4 สยามเซ็นเตอร์)ด้วยเงินเพียงชั่วโมงละ 10 บาท ไต่เต้าจนสามารถทำรายได้ถึงเดือนละ 40,000 บาท ที่นับว่าเป็นรายได้ที่มหาศาลมากในสมัยนั้น[2] จากนั้นก็เล่นที่ "เบิร์ธเดย์" ใต้ถุนโรงหนังเพรสซิเด้นท์ จนกระทั่งเป็นสมาชิกวงแกรนด์เอ็กซ์เมื่อสมาชิกวงแกรนด์เอ็กซ์ได้ดูการแสดงและน้ำเสียงของพี่แจ้ ก็ไม่ลังเลที่จะชวนพี่แจ้มาร่วมวง แม้เงินเดือนจะน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการร้องในคอฟฟีช็อป แต่พี่แจ้มองว่าโอกาสและชื่อเสียงที่จะตามมาในอนาคตนั้นสูงค่ากว่าเงินที่ได้รับโดยพี่แจ้ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกแทนจำรัส เศวตาภรณ์ ที่ลาออกไป
ในปี 2529 ดนุพล แก้วกาญจน์ ได้ออกอัลบั้มเดี่ยวชุดแรก คือ "ฝันสีทอง" และยังได้เปิดค่ายเพลงที่ชื่ออินเทอร์นอลขึ้น มีศิลปินในสังกัด เช่น วงพลอย, เฮนรี่ ปรีชาพานิช, ปุ้ม-อรวรรณ เย็นพูนสุข และตั๊ก-ศิริพร อยู่ยอด
ในปี พ.ศ. 2549 ดนุพล แก้วกาญจน์ได้เปิดร้านอาหารชื่อ บ้านแสนรัก อยู่ถนนเลียบทางด่วนรามอินทราขาเข้าเมือง
ชีวิตส่วนตัว มีลูกชาย 2 คน ชื่อ คฑาวุธ แก้วกาญจน์ (คฑาพล สุริยะเนตร) ที่เคยมีข่าวอ้างตัวว่าเป็นเทพเพอร์ซิอุส เป็นนักทำนายดวงชะตา และ อีกคนหนึ่งชื่อลีลาพล แก้วกาญจน์
วงแกรนด์เอ็กซ์ แก้ไข
วงแกรนด์เอ็กซ์ได้รับความนิยมอย่างสูง จนทำให้สถานที่จัดงานพังไปหลายแห่ง เช่น ที่หอประชุมจุฬาฯ เสียหายจากการแสดงคอนเสิร์ต 2 ครั้ง จนต้องปิดซ่อม และไม่ยอมให้วงแกรนด์เอ็กซ์ ใช้สถานที่จัดคอนเสิร์ต อีก หรือโรงละครแห่งชาติ ที่แฟนเพลงอัดแน่นจนกระจกแตก [3] ดนุพล แก้วกาญจน์ ร่วมงานกับ แกรนด์เอ็กซ์ ครั้งแรกในอัลบั้มชุด "เขิน" และไล่เรียงต่อมาอีกหลายชุด ได้แก่ "ผู้หญิง" "GRAND X.O." "บุพเพสันนิวาส" "นิจนิรันดร์" "พรหมลิขิต" "เพชร" "บริสุทธิ์" "ดวงเดือน" จนกระทั่งปี 2527 สมาชิกวงแกรนด์เอ็กซ์ จำนวนหนึ่ง แยกไปทำผลงานวงเพื่อน ส่วนสมาชิกแกรนด์เอ็กซ์ที่เหลือก็เปลี่ยนชื่อเป็น แกรนด์เอ็กซ์แฟมิลี่ และมีอัลบั้มออกมาอีกสองชุด คือ "หัวใจสีชมพู" และ "สายใย" ซึ่งเป็นอัลบั้มชุดสุดท้าย ที่ดนุพล แก้วกาญจน์ ทำงานร่วมกับวงแกรนด์เอ็กซ์
ผลงานเดี่ยว (ไม่ได้เรียงตามลำดับการผลิต) แก้ไข
อัลบั้ม | รายชื่อเพลง | วางแผง |
---|---|---|
ฝันสีทอง |
|
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 |
ฝันสีทอง ปกใหม่ |
|
พฤษภาคม พ.ศ. 2529 |
ของขวัญ |
|
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 |
เทวดาเดินดิน |
|
9 เมษายน พ.ศ. 2531 |
เทวดาเดินดิน(Remix) |
|
ตุลาคม พ.ศ. 2531 |
แจ้ 4 9+9 อย่างลึกซึ้งแด่คุณคนพิเศษ |
|
ธันวาคม พ.ศ. 2531 |
อย่างลึกซึ้งแด่คุณคนพิเศษ 10 เพลงร้องสำหรับคุณคนพิเศษ |
|
เมษายน พ.ศ. 2532 |
แสลงใจ |
|
มิถุนายน พ.ศ. 2533 |
สัมผัสที่ 6 |
|
พ.ศ. 2534 |
ชั่วฟ้าดินสลาย |
|
ตุลาคม พ.ศ. 2536 |
รักเธอคงกระพัน |
|
พ.ศ. 2538 |
พรหมจารี |
|
พ.ศ. 2540 |
วันทรนง |
|
ธันวาคม พ.ศ. 2541 |
โลลิต้า |
|
พ.ศ. 2542 |
ช่วยไม่ได้ผู้ชายไม่พอ |
|
พ.ศ. 2547 |
Unforgettable Jae |
|
พ.ศ. 2547 |
อย่าให้ลมรักแผ่ว |
|
พ.ศ. 2561 |
เพลงประกอบภาพยนตร์ แก้ไข
ภาพยนตร์เรื่อง แฟนเดย์..แฟนกันแค่วันเดียว ได้นำบทเพลง "ฝันลำเอียง" จากอัลบั้มฝันสีทองไปใช้ประกอบภาพยนตร์
เพลงประกอบละคร แก้ไข
ละครเรื่อง คู่แค้นแสนรัก ได้นำบทเพลง "ฝันลำเอียง" จากอัลบั้มฝันสีทองไปใช้ประกอบละคร
อัลบั้มพิเศษ แก้ไข
อัลบั้ม | รายชื่อเพลง | วางแผง |
---|---|---|
ที่สุดของแจ้ |
|
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 |
ที่สุดของที่สุด |
|
2 ธันวาคม พ.ศ. 2530 |
แด่...ท่านผู้มีพระคุณจากแจ้ "เขียวเสียดดอย"(มอบเป็นอภินันทนาการแด่ทหารหาญเท่านั้น เทปชุดนี้ไม่มีจำหน่ายบนแผงเทป) |
|
|
ที่สุดสุนทราภรณ์ |
|
ตุลาคม พ.ศ. 2532 |
ที่สุดเมื่อกาลครั้งหนึ่ง |
|
กันยายน พ.ศ. 2534 |
แจ้ลายไทย |
|
เมษายน พ.ศ. 2535 |
ชุด แจ้ลายไทย 12th ANNIVERSARY |
|
ธันวาคม พ.ศ. 2535 |
ชุด แจ้ลายไทย 14 เพลงแห่งความหวาน |
|
ธันวาคม พ.ศ. 2536 |
ไออดีต ตอน สวัสดีบางกอก |
|
กรกฎาคม พ.ศ. 2538 |
ไออดีต2 ตอน ลีลาศ รำลึก |
|
ธันวาคม พ.ศ. 2538 |
ไออดีต3 ตอน นางใจในเพลง |
|
25 ธันวาคม พ.ศ. 2539 |
คนใจร้าว20ปี ดนุพล แก้วกาญจน์ |
|
พฤษภาคม พ.ศ. 2543 |
คนใจรัก20ปี ดนุพล แก้วกาญจน์ |
|
สิงหาคม พ.ศ. 2543 |
Danuphol pop songs20ปี ดนุพล แก้วกาญจน์ |
|
ตุลาคม พ.ศ. 2545 |
Special for life เพื่อชีวิต | 1.คำสัญญาที่หาดใหญ่
2.ตลอดเวลา 3.แค่นั้น 4.ตังเก 5.ถึงเพื่อน 6.ยิ้มกลางสายฝน 7.น้ำตาหอยทาก 8.คิดถึง 9.ยิ้มเหงาๆ 10.จ.รอคอย 11.ฝนจางนางหาย 12.คิดถึงบ้าน |
ราว พ.ศ. 2540 |
ชุด ลำนำเพลงฝากรัก ชุด คนใจร้อน ชุด Special For Life ชุด Guitar Passion...Smooth ....Sentimental ชุด บันทึกแห่งความทรงจำ
อัลบั้มรวมเพลง แก้ไข
อัลบั้ม | รายชื่อเพลง | วางแผง |
---|---|---|
ชุดพิเศษสุด 1 ที่สุดของแจ้ ส.ค.ส.2532 |
|
พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 |
ชุดพิเศษสุด 2 ที่สุดของแจ้ ส.ค.ส.2532 |
|
พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 |
ที่สุด...นิรันดร์กาล ๑ |
|
ตุลาคม พ.ศ. 2534 |
ที่สุด...นิรันดร์กาล ๒ |
|
ตุลาคม พ.ศ. 2534 |
ที่สุด...นิรันดร์กาล ๓ |
|
ตุลาคม พ.ศ. 2534 |
คอนเสิร์ต แก้ไข
- คอนเสิร์ต วงเพื่อน กับ แจ้ ดนุพล แก้วกาญจน์ (พ.ศ. 2528)
- คอนเสิร์ต แจ้และพลอย (พ.ศ. 2529)
- ทัวร์คอนเสิร์ต แจ้และพลอย สนาม รร.เทศบาล (เอ็งเสียงสามัคคี) หาดใหญ่ (20 ธันวาคม พ.ศ. 2530)
- คอนเสิร์ต อุ่นเครื่องเทวดา (พ.ศ. 2531)
- คอนเสิร์ต ปลดผ้าเทวดา (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2531)
- คอนเสิร์ต ที่สุดของแจ้...ที่สุดของหัวใจ (พ.ศ. 2545)
- คอนเสิร์ต The Greatest kids on the Golden dream (พ.ศ. 2548)
- คอนเสิร์ต เพื่อนช่วยเพื่อน แด่โฆษกคนยาก (กรกฏาคม พ.ศ. 2550)
- คอนเสิร์ต เฟรมส์ ออฟ เมโลดี้ 50 ปี แจ้ ดนุพล แก้วกาญจน์ 2009 (พฤษภาคม พ.ศ. 2552)
- คอนเสิร์ต ฝันสีทอง ตอน ยิ่งนาน ยิ่งรัก (พฤษภาคม พ.ศ. 2556)
- คอนเสิร์ต ที่สุดของเพลงแจ้ Concert (พฤษภาคม พ.ศ. 2566)
อัลบั้มพิเศษ ที่ทำร่วมกับศิลปินท่านอื่น แก้ไข
- นอกจากนี้ แจ้ ดนุพล แก้วกาญจน์ ยังมีผลงานที่ร้องเพลงไว้ในอัลบั้มพิเศษ ร่วมกับศิลปินท่านอื่น ๆ อีก 3 อัลบั้ม คือ
- ชุด แด่เธอผู้เป็นที่รัก (ปี พ.ศ. 2528)
คือเพลง "ทาสเทวี" วง แกรนด์เอ็กซ์
อัลบั้มนี้ เป็นอัลบั้มการกุศล จัดทำเพื่อหารายได้สมทบทุน ในการสร้างอาคารอุบัติเหตุฉุกเฉิน ของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เป็นการรวมผลงานของหลากหลายศิลปิน
นอกจากเพลง "ทาสเทวี" ที่ แจ้ ดนุพล แก้วกาญจน์ วงแกรนด์เอ็กซ์ ขับร้องแล้ว
ก็ยังมีเพลง "ดอกหญ้า" ก้อ กอบกิจ ทับทิม วง ฟองสบู่
เพลง "นี่หรือชาย" เอ๋ พัชรา แวงวรรณ วง โอเวชั่น
เพลง "แด่เธอผู้เป็นที่รัก" คุณทนงศักดิ์ ภักดีเทวา เป็นต้นชุด เมตตาธรรม (ปี พ.ศ. 2528)
เพลง "เมตตาธรรม"
คำร้อง-ทำนอง ชลธี ธารทอง
เรียบเรียงเสียงประสาน โดย ประยงค์ ชื่นเย็น
(รวมศิลปิน)
ผู้ขับร้องเพลง "เมตตาธรรม"
- วง ฮอตเปปเปอร์
- สุนทร สุจริตฉันท์
- วินัย พันธุรักษ์
- ดอน สอนระเบียบ
- สุเทพ วงศ์กำแหง
- สวลี ผกาพันธ์
- ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา
- เพ็ญศรี พุ่มชูศรี
- ทิพวัลย์ ปิ่นภิบาล
- นันทิดา แก้วบัวสาย
- อ้อยทิพย์ ปัญญาธรณ์
- เย็นจิตร พรเทวี
- ดุจเดือน ดารา
- จินตนา สุขสถิตย์
- ธานินทร์ อินทรเทพ
- ประเทือง บุญญประพันธ์
- วง แฮมเมอร์
- วง หวานเย็น
- นราธิป กาญจนวัฒน์
- สุทธิพงษ์ วัฒนจัง (ชมพู ฟรุ๊ตตี้)
- จุฑามาศ อิสสรานุกฤต (บุ๋ม ปุยฝ้าย)
- วง พลาสติก
- ดนุพล แก้วกาญจน์
- อัญชลี จงคดีกิจ
- รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส
- วิชัย ปุญญะยันต์
- ศรวณี โพธิเทศ
- สมบัติ ขจรไชยกุล (เหมียว แมคอินทอช)
- เศรษฐา ศิระฉายา
- พร ไพรสณฑ์
- พจมาน พิมพ์จันทร์
- วิรัช ปัญทวังกูร
- พ.ญ. พันทิวา สินรัชตานันท์
- วงจันทร์ ไพโรจน์
- อนุธิดา กองราพงษ์
- สายัณห์ สัญญา
- ชินกร ไกรลาศ
- ไพรวัลย์ ลูกเพชร
- นคร ถนอมทรัพย์
- สรเพชร ภิญโญ
- น้องนุช ดวงชีวัน
- ว. วัชญาณ์
- วง นกแล
- จรัล มโนเพ็ชร
- ภูสมิง หน่อสวรรค์
- วง สาว สาว สาว
- วิภา จันทรกูล
- เอกลักษณ์ ยลระบิล
- เพลิน พรหมแดน
- รุ่งเพชร แหลมสิงห์
- เพลง "ชั่วชีวิตหนึ่ง"
คำร้อง-ทำนอง วิมล จงวิไล เรียบเรียงเสียงประสาน โดย ปราจีน ทรงเผ่า ขับร้องโดย
บันทึกเสียง ไพบูลย์ สตูดิโอ อัลบั้ม เมตตาธรรม เป็นอัลบั้มการกุศล จัดทำเพื่อเป็นกองทุนเพื่อเด็กไทย รวมพลังน้ำใจจากศิลปินเพลงครั้งใหญ่
โดย 3 สมาคม
- สมาคมดนตรี
- สมาคมนักแต่งเพลง
- สมาคมพ่อค้าเทป
ผลิตและจำหน่าย ในเดือน ตุลาคม 2528 ผู้ผลิต บริษัท ชัวร์ ออดิโอ จำกัด บันทึกเสียง มนตรี (หิน) โรจนถาวร ไพบูลย์ สตูดิโอ
อัลบั้ม marching melody 1996 ปี พ.ศ. 2539 โดย ดนุพล แก้วกาญจน์ ในเพลง สวัสดีบางกอก และ เมื่อวานนี้ อัลบั้ม ซับน้ำตาอันดามัน เป็นอัลบั้มหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 ออกจำหน่ายช่วงต้นปีพ.ศ. 2548 โดยดนุพล แก้วกาญจน์ ร่วมกับ ศรายุทธ สุปัญโญ ได้บันทึกบทเพลง คลื่นร้ายทะเลรัก
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ "แจ้-ดนุพล แก้วกาญจน์: ปรากฏการณ์ 'ตายทั้งเป็น' สู่บทเพลงที่ 'ไม่มีวันตาย'". thepeople (ภาษาอังกฤษ). 2021-02-08.
- ↑ แจ้-ดนุพล แก้วกาญจน์: ปรากฏการณ์ ‘ตายทั้งเป็น’ สู่บทเพลงที่ ‘ไม่มีวันตาย’
- ↑ "ประวัติส่วนตัวพี่แจ้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-11-13.