อาษา เมฆสวรรค์ (เกิด 28 มกราคม พ.ศ. 2468) เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย เจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดนยศนายกองเอก และอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (จากการแต่งตั้ง)

อาษา เมฆสวรรค์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
27 กันยายน – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
(0 ปี 58 วัน)
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 9
ดำรงตำแหน่ง
6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 – 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528
(1 ปี 7 วัน)
ก่อนหน้าเทียม มกรานนท์
ถัดไปจำลอง ศรีเมือง
รองประธานวุฒิสภาไทย คนที่ 1
ดำรงตำแหน่ง
18 ธันวาคม พ.ศ. 2539 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2543
(3 ปี 93 วัน)
ก่อนหน้าพิศิษฐ์ เหมะบุตร
ถัดไปเฉลิม พรหมเลิศ
ดำรงตำแหน่ง
6 เมษายน – 26 กันยายน พ.ศ. 2539
(0 ปี 153 วัน)
ดำรงตำแหน่ง
3 เมษายน พ.ศ. 2535 – 21 มีนาคม พ.ศ. 2539
(3 ปี 352 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด28 มกราคม พ.ศ. 2468 (99 ปี)
อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ประเทศสยาม
คู่สมรสส่องแสง เมฆสวรรค์
บุตร1

ประวัติ

แก้

อาษา เมฆสวรรค์ เกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2468 (นับแบบใหม่) ที่ตำบลเมืองสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย จบการศึกษาชั้นมัธยมปลาย จากโรงเรียนสวรรค์วิทยาปัจจุบันชื่อโรงเรียนสวรรค์อนันต์วิทยา จังหวัดสุโขทัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี (ธรรมศาสตรบัณฑิต) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองปัจจุบันชื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อจากนั้นจึงได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท-เอก สาขาการบริหารและการปกครอง ที่มหาวิทยาลัยอินเดียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา และผ่านการอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 19[1] อาษา เมฆสวรรค์ สมรสกับ คุณหญิงส่องแสง เมฆสวรรค์ (สกุลเดิม : แสงอุทัย) มีบุตรด้วยกัน 1 คน[2]

การทำงาน

แก้

รับราชการ

แก้

อาษา เมฆสวรรค์ เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2504 ต่อมาได้โอนย้ายมาเป็นปลัดอำเภอ สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จนกระทั่งได้รับแต่งตั้งเป็นนายอำเภอ ปลัดจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดสุโขทัย และกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่มาจากการแต่งตั้งคนสุดท้าย ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยตรง รองปลัดกระทรวงมหาดไทย นอกจากนี้ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย) ตั้งแต่ พ.ศ. 2531 ถึงปัจจุบัน

งานการเมือง

แก้

อาษา เมฆสวรรค์ เริ่มทำงานการเมืองโดยการได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[3] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2528 และระหว่างปี พ.ศ. 2534 จนถึง พ.ศ. 2539 เป็นรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2534[4] เป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (พ.ศ. 2529) และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภาฯ จึงยังไม่ทันได้ปฏิบัติหน้าที่

ยศกองอาสารักษาดินแดน

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "ประวัติของกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-09-01. สืบค้นเมื่อ 2011-06-21.
  2. "สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงส่องแสง เมฆสวรรค์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-24. สืบค้นเมื่อ 2022-05-23.
  3. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายอาษา เมฆสวรรค์ รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ ๑ พลเอก วิชิต บุณยะวัฒน์ รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ ๒)
  5. รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดนเป็น นายกองเอก
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๑, ๑๔ มกราคม ๒๕๑๙
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๖, ๗ สิงหาคม ๒๕๑๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๔๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙, ๒๗ เมษายน ๒๕๑๖
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๒ ตุลาคม ๒๕๒๑