ไพโรจน์ โล่ห์สุนทร
นายไพโรจน์ โล่สุนทร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขต 2 พรรคเพื่อไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย (2) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย (1) และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปางหลายสมัย (2531, 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2544, 2548, 2562)
ไพโรจน์ โล่ห์สุนทร | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 5 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ |
ดำรงตำแหน่ง 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 – 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 ธันวาคม พ.ศ. 2479 เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
คู่สมรส | รำไพ โล่ห์สุนทร |
ประวัติ
แก้ไพโรจน์ โล่สุนทร เกิดมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2479 เป็นบุตรของนายชัย กับนางทองหยิบ โล่ห์สุนทร[1] สำเร็จการศึกษา รัฐศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง[2] สมรสกับนางรำไพ มีบุตร 5 คน คือ นางสาวตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร[3] นางสาวศรินทร โล่ห์สุนทร นายกิตติกร โล่ห์สุนทร นางสาวณฐาพร โล่ห์สุนทร และนายธนาธร โล่ห์สุนทร ซึ่งในจำนวนนี้มีบุตรถึง 3 คน เคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ตำแหน่งทางการเมือง
แก้นายไพโรจน์ โล่ห์สุนทร ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง ครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2531 สังกัดพรรคเอกภาพ ต่อมาเปลี่ยนชื่อพรรคเป็นพรรคสามัคคีธรรม นำโดยนายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรค กระทั่งในการเลือกตั้งเดือนกันยายน พ.ศ. 2535 จึงย้ายมาสังกัดพรรคชาติพัฒนา และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ในปี พ.ศ. 2537 และในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[4] ในปี พ.ศ. 2539 จากนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัยอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2541
ในปี พ.ศ. 2544 ได้เข้าร่วมกับพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งอีกสมัย กระทั่งถูกตัดสิทธิทางการเมืองเนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรค[5]
ในปี พ.ศ. 2562 ได้รับเลือกตั้ง เป็น ส.ส. สมัยที่ 8 ในสังกัดพรรคเพื่อไทย และเป็น ส.ส. เขตที่อายุมากที่สุดที่ได้รับเลือกตั้ง คือ 82 ปี[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2548. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2548
- ↑ เพื่อไทยลูกสาว”ไพโรจน์ โล่ห์สุนทร” ลงชิงเก้าอี้นายกอบจ.ลำปาง ไร้เงาบ้านดอยเงิน
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2013-02-04.
- ↑ เลือกตั้ง 62 | เปรียบเทียบอายุผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ พรรคไหนอายุมาก/อายุน้อย
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘