ไชยยศ สะสมทรัพย์

นายไชยยศ สะสมทรัพย์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลดร.ทักษิณ ชินวัตร

ไชยยศ สะสมทรัพย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
นายกรัฐมนตรีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าวราเทพ รัตนากร
สุชาติ เชาว์วิศิษฐ
ถัดไปสมหมาย ภาษี
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2541
นายกรัฐมนตรีนายชวน หลีกภัย
หัวหน้าพรรคเอกภาพ
ดำรงตำแหน่ง
29 สิงหาคม พ.ศ. 2538 – 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
ก่อนหน้าอุทัย พิมพ์ใจชน
ถัดไปชาติวัฒน์ ชาติกรกุล
เลขาธิการพรรคเอกภาพ
ดำรงตำแหน่ง
20 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 – 21 สิงหาคม พ.ศ. 2538
ก่อนหน้าอุทัย พิมพ์ใจชน
ถัดไปฉัฐวัสส์ มุตตามระ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 ธันวาคม พ.ศ. 2493 (73 ปี)
จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักไทย
คู่สมรสชลชินี สะสมทรัพย์[1]

ประวัติ แก้

ไชยยศ สะสมทรัพย์ เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ที่ตำบลห้วยจรเข้ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรของนายประเสริฐ และนางสุนีย์ สะสมทรัพย์ เป็นพี่น้องกับนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ นายไชยา สะสมทรัพย์ และนายอนุชา สะสมทรัพย์ สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และระดับปริญญาตรี ด้านการบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเซนต์หลุย รัฐมิสซูรี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2517[2]

สมรสกับนางชลชินี สะสมทรัพย์ (เตชะไพบูลย์) พี่สาวของพรเทพ เตชะไพบูลย์[3] มีธิดา 1 คน บุตร 2 คน

การทำงาน แก้

ไชยยศ สะสมทรัพย์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครปฐม เคยทำงานการเมืองในสังกัดพรรคก้าวหน้า โดยรับตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรค และรองหัวหน้าพรรค ต่อมาจึงได้ย้ายมาเป็นเลขาธิการพรรคเอกภาพ และรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์[4] เป็นการรับตำแหน่งรัฐมนตรีครั้งแรกของนายไชยยศ สะสมทรัพย์

จากนั้นในปี พ.ศ. 2538 ไชยยศ สะสมทรัพย์ ก้าวสู่ตำแหน่งหัวหน้าพรรคเอกภาพ และเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ในปี พ.ศ. 2540 ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง[5] จนถึงการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549

ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. บัญชีแสดงทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีพ้นจากตำแหน่ง รมช.คลัง 19 กันยายน 2549[ลิงก์เสีย]
  2. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-05. สืบค้นเมื่อ 2010-09-20.
  3. "สุเมธ เตชะไพบูลย์ "ซำเสี่ย" ผู้จากไป". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-12-09.
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  6. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗