อนุชา สะสมทรัพย์
อนุชา สะสมทรัพย์ (เกิด 2 มีนาคม พ.ศ. 2497) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม 3 สมัย รองหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา
อนุชา สะสมทรัพย์ | |
---|---|
อนุชา ในปี พ.ศ. 2566 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครปฐม | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 (1 ปี 151 วัน) | |
ก่อนหน้า | เผดิมชัย สะสมทรัพย์ |
เขตเลือกตั้ง | เขต 5 |
คะแนนเสียง | 36,422 (35.54%) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 มีนาคม พ.ศ. 2497 |
พรรคการเมือง | ชาติไทยพัฒนา |
คู่สมรส | สุมลรัตน์ สะสมทรัพย์ |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้อนุชา สะสมทรัพย์ เกิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2497 ที่ตำบลห้วยจรเข้ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรของนายประเสริฐ และนางสุนีย์ สะสมทรัพย์ มีพี่น้อง 3 คน ได้แก่
- เผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
- ไชยยศ สะสมทรัพย์ อดีตรัฐมนตรี
- ไชยา สะสมทรัพย์ อดีตรัฐมนตรี
สำเร็จการศึกษา บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม สมรสกับนางสุมลรัตน์ มีบุตร 4 คน
งานการเมือง
แก้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 9 ชุดปี พ.ศ. 2549 ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน และได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย
เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนครปฐมในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[1]
เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนครปฐมในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา และได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนน 36,422 คะแนน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้อนุชา สะสมทรัพย์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 3 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 6 เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ท.ภ.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ให้แก่บุคคลที่ช่วยเหลือผู้ประสบธรณีพิบัติภัย “สึนามิ”, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- นายอนุชา สะสมทรัพย์ เก็บถาวร 2018-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายอนุชา สะสมทรัพย์[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายอนุชา สะสมทรัพย์), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย