สวัสดิ์ สืบสายพรหม
สวัสดิ์ สืบสายพรหม (เกิด 8 มกราคม พ.ศ. 2490) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและสหกรณ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ 4 สมัย และอดีตสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
สวัสดิ์ สืบสายพรหม | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 7 ธันวาคม พ.ศ. 2537 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 มกราคม พ.ศ. 2490 อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ความหวังใหม่ |
ประวัติ
แก้สวัสดิ์ สืบสายพรหม เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2490 เป็นบุตรของนายแก้ว และ นางเสียงสี สืบสายพรหม จบการศึกษา จากวิทยาลัยเพาะช่าง [1]
งานการเมือง
แก้อดีตเคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดศรีสะเกษในช่วง พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2526 ก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคกิจสังคม แต่ได้รับเลือกตั้งในครั้งต่อมา (พ.ศ. 2529) และได้รับเลือกติดต่อกันรวม 4 ครั้ง
ในปี พ.ศ. 2531 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคประชาชน[2] และรับตำแหน่งเป็นกรรมการบริหารพรรค
สวัสดิ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ครม.50)[3]
ก่อนที่ต่อมาจะไม่ได้รับเลือกตั้ง ในปี พ.ศ. 2544 โดยพ่ายแพ้ให้กับ พันตำรวจเอกทิน วงศ์ปลั่ง จากพรรคชาติไทย ในปี 2549 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดศรีสะเกษ และ การเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ. 2550 ได้รับการเลือกตั้งเป็นลำดับที่ 6 (จากผู้ที่ได้รับเลือกในเขตดังกล่าว 3 คน) หลังจากนั้นจึงได้วางมือทางการเมือง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้สวัสดิ์ สืบสายพรหม ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 4 สมัย[4] คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคประชาชน → พรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคความหวังใหม่
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 50 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-31. สืบค้นเมื่อ 2015-01-01.
- ↑ "นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-03-03. สืบค้นเมื่อ 2020-05-13.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖