พรรคประชาชน (พ.ศ. 2531)

พรรคประชาชน (ชื่อเดิม พรรครักไทย) พรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2526 [1] ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 [2] พรรครักไทยได้เปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น พรรคประชาชน

พรรคประชาชน
หัวหน้าเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์
เลขาธิการวีระ มุสิกพงศ์
คำขวัญของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน
ก่อตั้ง20 เมษายน พ.ศ. 2526
ถูกยุบ19 มกราคม พ.ศ. 2532
แยกจากพรรคประชาธิปัตย์
ยุบรวมกับพรรคเอกภาพ
ที่ทำการ๑๘/๘ อาคารศรีวิกรม์ชั้น ๔ ถนนสุขุมวิท ๒๑ (ซอยอโศก) แขวงคลองเตย เขตพระโขนง
สีสีน้ำเงิน
สภาผู้แทนราษฎร
19 / 357
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

และในปี พ.ศ. 2531 ได้เปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่นำโดยกลุ่มของนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้ย้ายเข้ามาสังกัดพรรคประชาชนและได้ให้คุณหญิงศศิมา ศรีวิกรม์ เป็นรักษาการหัวหน้าพรรคและนางสาวนิตยา ภูมิดิษฐ์ เป็นรักษาการเลขาธิการพรรค[3]

ต่อมาอีกเพียง 15 วัน ที่ประชุมใหญ่ได้มีมติเลือกให้นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ เป็นหัวหน้าพรรค และนายวีระ มุสิกพงศ์ เป็นเลขาธิการพรรคแทน และมีแกนนำคนสำคัญ[4] อาทิ

การเลือกตั้ง

แก้

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 พรรคประชาชนได้ที่นั่งทั้งสิ้น 19 ที่นั่ง โดย สส.ที่ได้รับเลือกตั้งส่วนใหญ่มาจากภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่เดิมที่พรรคประชาธิปัตย์เคยชนะเลือกตั้ง

ผลการเลือกตั้ง

แก้
การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ที่นั่งเปลี่ยน ผลการเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง
2531
19 / 357
2,454,870 6.2%   19 ฝ่ายค้าน เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์

ยุบรวมพรรค

แก้

พรรคประชาชนประกาศยุบพรรคเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2532 เพื่อไปรวมกับพรรครวมไทยของนายณรงค์ วงศ์วรรณ พร้อมพรรคกิจประชาคมและพรรคก้าวหน้า โดยศาลฎีกามีคำสั่งให้ยุบพรรค ลงวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2532[5]

ดูเพิ่ม

แก้

กลุ่ม 10 มกรา

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรครักไทย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 100 ตอน 77 ก หน้า 28 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2526
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค ที่ตั้งสำนักงานใหญ่พรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค (พรรครักไทย เปลี่ยนเป็น พรรคประชาชน) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 104 ตอน 124 ก พิเศษ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2530
  3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรรคและคณะกรรมการบริหารพรรค
  4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
  5. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบเลิกพรรคการเมือง ตามนัยมาตรา ๔๖ (๑) แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๔