สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์
สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ เป็นอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร อดีตประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล)[ต้องการอ้างอิง] และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย
สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ | |
---|---|
ไฟล์:S 4137363.jpg | |
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 24 ตุลาคม – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 17 เมษายน – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกสุจินดา คราประยูร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2511–2531) ประชาชน (2531–2532) ชาติไทย (2532–2535) สามัคคีธรรม (2535) ชาติพัฒนา (2535–2547) ไทยรักไทย (2547–2550) พลังประชาชน (2550–2551) ภูมิใจไทย (2551–2554) เพื่อไทย (2554–2560) พลเมืองไทย (2561–2566) รวมไทยสร้างชาติ (2566–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | เพชรรัตน์ เลิศนุวัฒน์[1] |
ประวัติ
แก้สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 เป็นบุตรของนายอร่าม กับ นางจี เลิศนุวัฒน์[1] สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเวสเทรินแปซิฟิค สหรัฐอเมริกา เขาสมรสกับนางเพชรรัตน์ เลิศนุวัฒน์
การทำงาน
แก้สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ กระทั่งในปี พ.ศ. 2531 เขาได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคประชาชน[2]
ต่อมาในการเลือกตั้งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย ในสังกัดพรรคสามัคคีธรรม และในการเลือกตั้งเดือนกันยายนของปีเดียวกัน ได้รับเลือกตั้งในนามพรรคชาติไทย
กระทั่งได้รับเลือกอีกครั้งในปี พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคความหวังใหม่ และจากนั้นเขาได้ลาออกเพื่อย้ายไปร่วมงานกับพรรคชาติพัฒนา และได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ (เลื่อนแทน) จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ในการเลือกตั้งครั้งถัดมา พ.ศ. 2548 เขาได้รับเลือกตั้งในนามพรรคไทยรักไทย (เลื่อนแทนจากบัญชีรายชื่อ)และ พ.ศ. 2549 ได้รับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อกับพรรคไทยรักไทยอีกครั้ง ซึ่งต่อมาการเลือกตั้งเป็นโมฆะ
ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550 เขาได้รับเลือกตั้งจากระบบสัดส่วน เป็นรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชนและเป็นประธานคณะกรรมาธิการกิจการชายแดนไทยคนแรกของสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาเขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี พร้อมกับกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน จำนวน 109 คน หลังจากนั้นเขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย[3]
ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้ร่วมกับนักการเมืองหลายคนในการสนับสนุนการจัดตั้งพรรคการเมืองใช้ชื่อพรรคพลังพลเมืองไทย[4] โดยเขารับตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก
การดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี
แก้สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร เมื่อปี พ.ศ. 2535[5] และในปี พ.ศ. 2540 ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[6]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วทั้งหมด 7 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติพัฒนา → พรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แบบสัดส่วน สังกัดพรรคพลังประชาชน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีพ้นจากตำแหน่ง 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
- ↑ ระดมพลนับหมื่น ภูมิใจไทย เปิดสาขาเชียงราย
- ↑ "อดีตสส. 30 คน ตั้งพรรคพลังพลเมืองสู้เลือกตั้ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-25. สืบค้นเมื่อ 2018-03-06.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๕๐ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 100ง วันที่ 24 ตุลาคม 2540
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐