สุรใจ ศิรินุพงศ์
สุรใจ ศิรินุพงศ์ (เกิด 23 สิงหาคม พ.ศ. 2471) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา 2 สมัย และ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสงขลา
สุรใจ ศิรินุพงศ์ | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2471 อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา |
คู่สมรส | คุณหญิงอุไรวรรณ ศิรินุพงศ์ |
ประวัติแก้ไข
สุรใจ ศิรินุพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2471 สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต และ พาณิชยศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท สาขาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม จากมหาวิทยาลัย Vanderblit ประเทศสหรัฐอเมริกา [1] สมรสกับคุณหญิงอุไรวรรณ ศิรินุพงศ์
งานการเมืองแก้ไข
อดีตเคยเป็นรองอธิบดีกรมสรรพากร ต่อมา สุรใจ ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2529 ก่อนเกษียณอายุราชการได้รับเลือกรวม 2 ครั้ง ก่อนที่จะได้รับเลือกเป็น สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ. 2543 [2]
เขาเคยเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาชน[3]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแก้ไข
สุรใจ ศิรินุพงศ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคความหวังใหม่
สมาชิกวุฒิสภาแก้ไข
สุรใจ ศิรินุพงศ์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภามาแล้ว 1 สมัย คือ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ประวัติสุรใจ ศิรินุพงศ์
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๙๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๓, ๘ มิถุนายน ๒๕๒๒