กริช กงเพชร
กริช กงเพชร (เกิด 30 กันยายน พ.ศ. 2486) อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม 9 สมัย
กริช กงเพชร | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 กันยายน พ.ศ. 2486 |
พรรคการเมือง | เพื่อแผ่นดิน พลเมืองไทย |
ประวัติ
แก้กริช กงเพชร เกิดเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2486 เป็นบุตรของนายเคน และ นางแต้ม กงเพชร สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ [1]
งานการเมือง
แก้อดีตเคยเป็นทนายความ ก่อนที่จะมาลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2519 แต่ในครั้งต่อมา (พ.ศ. 2522) ไม่ได้รับเลือกตั้ง และกลับมาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งใน พ.ศ. 2526 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2548 เป็นสมัยล่าสุด [2] ต่อจากนั้นเขาได้ย้ายมาสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน และมีตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรค รวมทั้งลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคเพื่อแผ่นดิน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
กริช กงเพชร เคยได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ[3] ซึ่งขณะนั้นเขาสังกัดพรรคความหวังใหม่
กริช กงเพชร เคยเป็นรองเลขาธิการพรรคประชาชน[4] ในปี พ.ศ. 2531
ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้ร่วมกับนักการเมืองหลายคนในการจัดตั้งพรรคการเมืองในชื่อพรรคพลังพลเมืองไทย[5] เขาได้รับตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค[6] ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคพลเมืองไทย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้กริช กงเพชร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 9 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดมหาสารคาม สังกัดพรรคไทยรักไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
- ↑ "อดีตสส. 30 คน ตั้งพรรคพลังพลเมืองสู้เลือกตั้ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-25. สืบค้นเมื่อ 2018-03-06.
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/D/070/T137.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘