ประวัฒน์ อุตตะโมช
ประวัฒน์ อุตตะโมช[1][2] (เกิด 22 มิถุนายน พ.ศ. 2497) เป็นรองหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย และอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[3]
ประวัฒน์ อุตตะโมช | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 มิถุนายน พ.ศ. 2497 อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยสร้างไทย (2564–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | ฤดีนาฎ อุตตะโมต |
ประวัติ
แก้ภูมิหลังและการศึกษา
แก้ประวัฒน์ อุตตะโมช เกิดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2497 เป็นบุตรของนายประกิต อุตตะโมต อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และนางอำไพวรรณ มีน้อง 5 คน หนึ่งในนั้นคือนางพนิตา กำภู ณ อยุธยา อดีตปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ประวัฒน์ศึกษาระดับประถมตอนต้นที่โรงเรียนยอแซฟ จันทุบรี ระดับประถมตอนปลายที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ระยอง และ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ กรุงเทพมหานคร เนื่องจากคุณพ่อรับราชการจึงต้องย้ายโรงเรียนบ่อย ต่อมาได้ย้ายไปศึกษามัธยมตอนปลายที่รัฐแคนซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา และ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเอ็มโพเรียสเตท ประเทศสหรัฐอเมริกา ระดับปริญญาโท ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมิดเดิ้ลเทนเนสซี่สเตท สหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก ด้านรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮูสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา[4] และเป็นนักการเมืองที่มีความสนิทสนมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์[5]
ครอบครัว
แก้ประวัฒน์ อุตตะโมช สมรสกับนางฤดีนาฎ อุตตะโมช มีบุตร 2 คน คือ นายโสพัฒน์ อุตตะโมช และนางสาวศุธาภา อุตตะโมช[6]
ตำแหน่งทางการเมือง
แก้- พ.ศ. 2531 กรรมาธิการพิจาณางบประมาณประจำปี 2531
- พ.ศ. 2534 กรรมาธิการพิจาณางบประมาณประจำปี 2534
- พ.ศ. 2536 กรรมาธิการพิจาณางบประมาณประจำปี 2536
- พ.ศ. 2533,2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พ.ศ. 2537 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
- พ.ศ. 2538 กรรมการบริหารพรรคชาตพัฒนา
- พ.ศ. 2539 รองเลขาธิการพรรคชาติพัฒนา
- พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พ.ศ. 2541 รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา
- พ.ศ. 2542 ผู้อำนวยการภาค 4 พรรคไทยรักไทย
- พ.ศ. 2544 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พ.ศ. 2545 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
- พ.ศ. 2546 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- พ.ศ. 2548 ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
- พ.ศ. 2551 ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
- พ.ศ. 2551 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- พ.ศ. 2554 รองประธานกรรมาธิการกิจการชายแดนไทย
- [11]
การทำงาน
แก้ประวัฒน์ อุตโมช เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดจันทบุรี หลายสมัย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคประชากรไทย และได้รับเลือกตั้งอีก 2 สมัย คือในปี พ.ศ. 2531 และ พ.ศ. 2535(1) ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 (ครั้งที่ 2) จึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคชาติพัฒนา ของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ (รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา) ได้รับเลือกตั้งในนามพรรคชาติพัฒนา 3 สมัย
เขายังเป็นสมาชิก ส.ส.กลุ่ม 16[7] อีกด้วย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ย้ายมาลงสมัครในสังกัดพรรคไทยรักไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนางคมคาย พลบุตร กระทั่งในปี พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคเพื่อไทย (แบบบัญชีรายชื่อ)[8] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ลำดับสุดท้ายของบัญชีพรรคเพื่อไทย)
ประวัฒน์ อุตตะโมช เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งมีนายชูชีพ หาญสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ[9]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 78[10]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ลำดับที่ 27 แต่พรรคไทยรักษาชาติ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก่อนวันเลือกตั้ง[11]
ในปี 2564 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคไทยสร้างไทย ซึ่งนำโดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์[12]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[13]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ จบการศึกษาระดับปริญญาเอก
- ↑ ประกาศแต่งตั้งเป็นด็อกเตอร์
- ↑ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
- ↑ "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2011-07-30.
- ↑ "เปิดแผนแดงยกพลเข้ากรุงป่วนรัฐบาล! แฉอดีต"วีระ"อ้างรักประชาธิปไตยแต่เคยเข้าร่วมก่อกบฏ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2011-07-29.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อnacc
- ↑ แหยงกลุ่ม 16 ไม่กล้าแตะ ‘ราเกซ’
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
- ↑ เปิด 108 รายชื่อผู้สมัครส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ไทยรักษาชาติ ติดบ่วงยุบพรรค
- ↑ ส่อง 4 ภาค ขุนพล 'ไทยสร้างไทย'
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐