พนิตา กำภู ณ อยุธยา
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
พนิตา กำภู ณ อยุธยา (สกุลเดิม อุตตะโมต) เป็นข้าราชการชาวไทย ดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี[1] อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ และอดีตปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และได้รับพระกรุณาธิคุณแต่งตั้งเป็นผู้แทนพระองค์ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ไปปฏิบัติภารกิจของมูลนิธิมิราเคิล ออฟ ไลฟ์ อยู่เสมอ[2]
พนิตา กำภู ณ อยุธยา | |
---|---|
ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 – 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 | |
ก่อนหน้า | วัลลภ พลอยทับทิม |
ถัดไป | วิเชียร ชวลิต |
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 30 กันยายน พ.ศ. 2556 | |
ก่อนหน้า | ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ |
ถัดไป | สุทธศรี วงษ์สมาน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 เมษายน พ.ศ. 2496 |
คู่สมรส | ภูรีธร กำภู ณ อยุธยา |
ประวัติ
แก้พนิตา เกิดเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2496 เป็นธิดาคนโตของนายประกิต อุตตะโมต อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และนางอำไพวรรณ อุตตะโมต มีพี่น้อง 5 คน คนที่ 2 คือ นายประวัฒน์ อุตโมท อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย[3]
พนิตา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และปริญญาโทด้านการพัฒนาชุมชน สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ชีวิตส่วนตัวสมรสกับนาย ภูรีธร กำภู ณ อยุธยา เพื่อนร่วมรุ่นคณะโบราณคดี มีธิดา 2 คน[4]
การทำงาน
แก้พนิตา ได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อปี พ.ศ. 2553 ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้รับแต่งตั้งให้ย้ายไปดำรงตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ฝ่ายข้าราชการประจำ และหลังจากนั้นจึงได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ[5]
งานการเมือง
แก้พนิตา เคยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสงคราม ใน พ.ศ. 2544 สังกัดพรรควิถีไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2552 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2553 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ ดำรงตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
- ↑ พนิตา กำภู ณ อยุธยา มิราเคิล ออฟ ไลฟ์ ปลัดหญิงคนแรก พม.
- ↑ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายประวัฒน์ อุตโมท[ลิงก์เสีย]
- ↑ พนิตา กำภู ณ อยุธยา
- ↑ แต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๘, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒๔, ๒๘ สิงหาคม ๒๕๕๔