เดช บุญ-หลง
ศาสตราจารย์พิเศษ เดช บุญ-หลง (8 มกราคม พ.ศ. 2473 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553) อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (นายบรรหาร ศิลปอาชา) อดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พลเอกสุจินดา คราประยูร)
เดช บุญ หลง | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ประชา พรหมนอก |
ถัดไป | สุวัจน์ ลิปตพัลลภ |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ก่อนหน้า | ธวัช วิชัยดิษฐ |
ถัดไป | บุญชง วีสมหมาย |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 17 ธันวาคม พ.ศ. 2537 – 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 มกราคม พ.ศ. 2473 อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553 (80 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2517–2535, 2538–2550) ชาติพัฒนา (2535–2538) |
ประวัติ
แก้เดช เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2473 ที่อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก เป็นบุตรของขุนเจริญราษฎร์บริบาล กับนางเปรี้ยว บุญ-หลง[1] สำเร็จการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2495[2]
การทำงาน
แก้หลังจากจบการศึกษา นายเดช บุญ-หลง ได้ประกอบธุรกิจบริษัท อุตสาหกรรมทอผ้าไทย จำกัด และเป็นศาสตราจารย์พิเศษ ประจำวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา และได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พลเอกสุจินดา คราประยูร)[4]
เข้าสู่แวดวงการเมือง ในปี พ.ศ. 2517 ด้วยการเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคชาติไทย โดยมีตำแหน่งเป็นเหรัญญิกพรรค[5] และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายก ครั้งแรก ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535
ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย
ในปี พ.ศ. 2538 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (นายบรรหาร ศิลปอาชา) ต่อจากนั้นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรชาติไทย[6] และในรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2549 นายเดช บุญ-หลง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดนครนายก[7] ด้วยคะแนน 32,375 คะแนน
เสียชีวิต
แก้นายเดช บุญ-หลง ต้องพักรักษาตัวด้วยโรคลิ่มเลือดอุดตันในสมองเป็นเวลากว่า 4 ปี และถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553 สิริอายุได้ 80 ปี[5] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 2 ทุติยดิเรกคุณาภรณ์ (ท.ภ.)[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-22. สืบค้นเมื่อ 2010-05-04.
- ↑ "สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-11. สืบค้นเมื่อ 2010-08-19.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ (กัญจน์ นานามดี และเดช บุญ-หลง)
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 88/2535 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (ข้าราชการการเมืองในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐบาล พลเอก สุจินดา คราประยูร)
- ↑ 5.0 5.1 ""เดช บุญหลง" เสียชีวิตอย่างสงบด้วยวัย 80ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-22. สืบค้นเมื่อ 2010-08-20.
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-05-31. สืบค้นเมื่อ 2011-05-26.
- ↑ ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2013-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘