เด่น โต๊ะมีนา
เด่น โต๊ะมีนา เป็นนักการเมืองชาวปัตตานี อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย สมาชิกวุฒิสภา จังหวัดปัตตานี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย
เด่น โต๊ะมีนา | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 25 ตุลาคม พ.ศ. 2537 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 14 ธันวาคม พ.ศ. 2533 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 เมษายน พ.ศ. 2477 จังหวัดปัตตานี ประเทศไทย |
ศาสนา | อิสลาม |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (???–???) เอกภาพ (2532—2535) ชาติพัฒนา (2535) ความหวังใหม่ (2535—2545) ไทยรักไทย (2545—2549) พลังประชาชน (2549—2551) มาตุภูมิ (2551—2561) |
คู่สมรส | ผอูญ โต๊ะมีนา |
ประวัติ
แก้เด่น โต๊ะมีนา เกิดเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2477 ที่ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นบุตรชายของหะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ (หะยีสุหลง) และเป็นน้องชายของอามีน โต๊ะมีนา อดีต ส.ส. ปัตตานี 2 สมัย นายเด่น สำเร็จการศึกษาทางด้านภาษา จาก โรงเรียนวัดบพิตรพิมุข[1], นิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
เด่น สมรสกับนางผอูญ โต๊ะมีนา มีบุตร-ธิดา 2 คน คือ แพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา และ นายภราดร โต๊ะมีนา
งานการเมือง
แก้เด่น โต๊ะมีนา เป็นนักการเมืองที่เคยสังกัดพรรคการเมืองหลายพรรค เช่น พรรคประชาธิปัตย์ พรรคความหวังใหม่ พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 8 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคประชาชน (พ.ศ. 2531) → พรรคเอกภาพ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคความหวังใหม่
เด่น โต๊ะมีนา เคยได้รับตำแหน่งสำคัญทางการเมืองหลายตำแหน่ง เช่น เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการในคณะกรรมการวิสามัญศึกษาปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2533[2] และได้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ[3] รวมถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย (สมัยแรก)[4]
เด่น โต๊ะมีนา เป็นที่ปรึกษาพรรคมาตุภูมิ[5] และในการเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 8 พรรคมาตุภูมิ[6] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
รางวัลและเกียรติยศ
แก้วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 ว่าที่นายกองเอกเด่น โต๊ะมีนา ได้รับพระราชทานยศนายกองเอก โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชโปรดเกล้าแต่งตั้ง[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[10]
- พ.ศ. 2528 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[11]
- พ.ศ. 2479 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)
อ้างอิง
แก้- ↑ PRIDI Interview: เด่น โต๊ะมีนา ย้อนรำลึกถึงคุณพ่อ ‘หะยีสุหลง’
- ↑ นายใหญ่ก่อการร้าย
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
- ↑ เว็บประชาไทย
- ↑ รายชื่อผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "พระราชทานยศ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-10. สืบค้นเมื่อ 2017-03-01.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐, ๑๖ มกราคม ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๘, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๓๑ มีนาคม ๒๕๒๙