เพชรดาว โต๊ะมีนา

เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อดีตสมาชิกส

แพทยหญิง เพชรดาว โต๊ะมีนา (ชื่อเล่น : จอย) เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย และเป็นบุตรสาวของ เด่น โต๊ะมีนา อดีตรัฐมนตรีและแกนนำกลุ่มวาดะห์[1] และเป็นทายาทรุ่นที่สามของหะยีสุหลง ผู้นำของชาวไทยเชื้อสายมลายูมุสลิมโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้[2]

เพชรดาว โต๊ะมีนา
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เริ่มดำรงตำแหน่ง
13 กันยายน พ.ศ. 2566
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
รัฐมนตรีว่าการศุภมาส อิศรภักดี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 (58 ปี)
พรรคการเมืองภูมิใจไทย

ประวัติ แก้

พ.ญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 เป็นบุตรสาวของนายเด่น โต๊ะมีนา อดีต ส.ส.ปัตตานี แกนนำกลุ่มวาดะห์ กับนางพัชราภรณ์โต๊ะมีนา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต และ แพทยศาสตรบัณฑิต จาก National University of Malaysia ประเทศมาเลเซีย และ ปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การทำงาน แก้

พ.ญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา เคยรับราชการในกระทรวงสาธารณสุข เป็นอดีตผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพจิตที่ 15 รับผิดชอบพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้[3] ต่อมาเข้าสู่งานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคความหวังใหม่ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาจึงได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2545 - 2549

พ.ญ.เพชรดาว เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา 2 ครั้ง แต่ไม่ได้รับเลือก[3] คือ การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2549 และการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557

พ.ญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2548 และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาทางจิตวิทยาและการฟื้นฟูเหยื่อจากการก่อการร้ายองค์การสหประชาชาติ UNCCT United Nation Counter - Terrorism Center ตั้งแต่ปี 2558 ถึงปัจจุบัน

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 พ.ญ.เพชรดาว ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก ในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย ต่อมาในปี 2566 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม[4]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ลงช่วยผู้สมัคร ส.ส.พรรคภูมิใจไทยหาเสียง ชูนโยบายแก้ปัญหาปากท้อง
  2. หะยีสุหลง อับดุลกอเดร์ โต๊ะมีนา : 66 ปี บังคับสูญหายผู้นำทางศาสนาและการเมืองคนสำคัญของปาตานี
  3. 3.0 3.1 ส.ส.มุสลิมเข้าสภา "เพชรดาว โต๊ะมีนา" จากงานเยียวยาสู่ถนนการเมือง
  4. ครม.เศรษฐา เห็นชอบตั้ง ขรก.การเมือง 34 ตำแหน่ง - ชัย วัชรงค์ โฆษกป้ายแดง
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔

แหล่งข้อมูลอื่น แก้