คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นคณะผู้บริหารกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย โดยใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 ซึ่งระบุให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่าคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ประกอบด้วยจุฬาราชมนตรีเป็นประธานกรรมการ และกรรมการ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ซึ่งเป็นผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด จังหวัดละหนึ่งคน และจากกรรมการอื่นซึ่งคัดเลือกโดยจุฬาราชมนตรีมีจำนวนหนึ่งในสามของจำนวนผู้แทนคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี[1]
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
สำนักงานใหญ่ | ![]() ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ 45 หมู่ 3 ถนนคลองเก้า แขวงคลองสิบ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร |
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน |
|
หน่วยงานลูกสังกัด |
|
เว็บไซต์ | สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย |
คุณสมบัติของกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยแก้ไข
- เป็นมุสลิมผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด
- มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบปีบริบูรณ์
- เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในศาสนาอิสลามเป็นอย่างดี
- เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามโดยเคร่งครัด
- เป็นผู้มีความสัมพันธ์อันดีกับทุกศาสนา
- เป็นผู้มีความเลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
- ไม่เป็นผู้เคยถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
- ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถ หรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎกระทรวง[1]
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยแก้ไข
- ให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- ให้คำปรึกษาหรือข้อแนะนำเกี่ยวกับศาสนาอิสลามแก่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด
- แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานตามที่คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมอบหมาย
- ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินและการจัดหาผลประโยชน์ของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและมัสยิด
- ออกระเบียบวิธีการดำเนินงานและควบคุมดูแลการบริหารงานของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดและคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด
- ปฏิบัติหน้าที่เป็นคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดในจังหวัดที่ไม่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ในการนี้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจะมอบหมายให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่ใกล้เคียงปฏิบัติหน้าที่แทนก็ได้
- พิจารณาวินิจฉัยคำร้องคัดค้านของกรรมการอิสลามประจำมัสยิดซึ่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีมติให้พ้นจากตำแหน่งหรือมีพการกระทำที่ไม่สมควรกับตำแหน่ง
- จัดทำทะเบียนทรัพย์สิน เอกสารและบัญชีรายรับรายจ่ายของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยให้ถูกต้องตามความเป็นจริง
- ออกประกาศและให้คำรับรองเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม
- ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางศาสนา และการศึกษาศาสนาอิสลาม
- ประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในกิจการที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม
- ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540[1]
นอกจากนี้แล้วคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยยังเป็นองค์กรสำคัญในการประสานความร่วมมือในการจัดงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย
การบริหารงานของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยแก้ไข
สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย มีฐานะเป็นนิติบุคคลมีหน้าที่เกี่ยวกับกิจการของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย โดยมีคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นผู้แทนของสำนักงานในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยอาจมีมติมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนทำการแทนก็ได้ และให้เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบในกิจการของสำนักงาน[1]
รายนามคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยแก้ไข
ประธานกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย คือ อาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี[2]
รองประธานกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ได้แก่ นายสมัย เจริญช่าง นายสมาย มาลีพันธุ์ นายอรุณ วันแอเลาะ นายแวดือราแม มะมิงจิ ศ.ดร.อิมรอน มะลูลีม นายสวาป เผ่าประทาน นายเบิ้ม ปาทาน นายประสิทธิ์ มะหะหมัด นายดีน ยีสมัน และนายสุริยา ปันจอร์
เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย คือ พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่[3]
รองเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ได้แก่ นายดำรงค์ สุมาลยศักดิ์ นายณรงค์เดช สุขจันทร์นายประเสริฐ ดิเจริญ และ นายรัศมี ดำชะไว
กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ตำแหน่งอื่น คือ
สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ ถนนคลองเก้า แขวงคลองสิบ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (65 ก): 6–8. 25 มกราคม 2556. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2560.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "แต่งตั้งจุฬาราชมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-06-09.
- ↑ คำสั่งคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เรื่องแต่ตั้งรองประธาน เลขาธิการ รองเลขาธิการ และประธานฝ่ายต่าง[ลิงก์เสีย]