สุรินทร์ ปาลาเร่

พลตำรวจตรี สุรินทร์ ปาลาเร่ (เกิด 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490) กรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย [1]เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา พรรคประชาธิปัตย์ อดีตผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 6 อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสงขลา และอดีตกรรมการบริหารพรรคเพื่อแผ่นดิน

สุรินทร์ ปาลาเร่
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
(12 ปี 298 วัน)
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ตามภารกิจ)
เริ่มดำรงตำแหน่ง
9 ธันวาคม พ.ศ 2566
(0 ปี 139 วัน)
เลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2553
(13 ปี 210 วัน)
ก่อนหน้าพิเชษฐ สถิรชวาล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 (76 ปี)
อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ประเทศไทย
ศาสนาอิสลาม
พรรคการเมืองเพื่อแผ่นดิน (2550—2554)
ประชาธิปัตย์ (2554—ปัจจุบัน)
คู่สมรสนางจรีพร ปาลาเร่

ประวัติ แก้

พล.ต.ต.สุรินทร์ ปาลาเร่ เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เป็นบุตรของนายดารุ๊ฟ กับ นางมารีย๊ะ ปาลาเร่ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และปริญญาโทจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)[2] สมรสกับนางจรีพร ปาลาเร่ มีบุตร-ธิดา 3 คน

พลตํารวจตรีสุรินทร์ เป็นอดีตข้าราชการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ. 2549[3] และได้รับเลือกตั้งเป็นอันดับหนึ่งของจังหวัด จากนั้นก็ได้พ้นจากตำแหน่งหลังจากมีการรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(คปค.) จากนั้นจึงเข้าร่วมกับนายแพทย์แวมาฮาดี แวดาโอะ จัดตั้งกลุ่มสัจานุภาพ และเข้าสังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2550[4] แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ พลตำรวจตรีสุรินทร์ไม่ได้รับการเลือกตั้ง จึงกลับเข้ารับราชการต่อโดยเกษียณอายุราชการในเวลาต่อมา

พล.ต.ต.สุรินทร์มีความสนิทกับนายอาศิส พิทักษ์คุมพล อดีตจุฬาราชมนตรี ตั้งแต่เมื่อครั้งที่นายอาศิสยังเป็นประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา เมื่อได้รับเลือกเป็นจุฬาราชมนตรี จึงเสนอชื่อให้ พล.ต.ต.สุรินทร์ เพื่อโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยในสัดส่วนของจุฬาราชมนตรี โดยในเวลานั้นนายพิเชษฐ สถิรชวาล เลขาธิการคณะกรรมการกลางอสลามแห่งประเทศไทยในขณะนั้นได้เคลื่อนไหวทางการเมืองกดดันรัฐบาลในการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่านายพิเชษฐเป็นคนสนิท ดร.ทักษิณ ชินวัตร และนายพิเชษฐเองก็เป็นแกนนำพรรคเพื่อไทยด้วย ดังนั้นคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจึงมีมติให้ยกเลิกโครงสร้างเดิมในสมัยนายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ อดีตจุฬาราชมนตรีและประธานกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ทำให้นายพิเชษฐพ้นจากตำแหน่ง จากนั้นคณะกรรมการจึงเลือกพล.ต.ต.สุรินทร์ดำรงตำแหน่งแทน[5] นอกจากนี้แล้วพล.ต.ต.สุรินทร์ ยังเป็นเลขานุการจุฬาราชมนตรีอีกด้วย

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 พล.ต.ต.สุรินทร์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่จังหวัดสงขลาอีกครั้ง โดยสมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์ แข่งขันกับ นายอัศวิน สุวิทย์ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นน้องชายของนายนาราชา สุวิทย์ อดีต ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ 2 สมัย ที่ทางพรรคมิได้พิจารณาส่งลงสมัครในครั้งนี้ จึงได้ย้ายออกจากพรรคประชาธิปัตย์ทั้งครอบครัวไปสมัครในนามพรรคเพื่อไทย[6] ผลการเลือกตั้ง พล.ต.ต.สุรินทร์ได้รับเลือกตั้งไปในที่สุด[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/036/20.PDF
  2. "ข้อมูลผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-01. สืบค้นเมื่อ 2011-05-31.
  3. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา
  4. ""สุรินทร์ ปาลาเร่" ประกาศลงสมัคร ส.ส.เขต 3 สงขลาท้าชิง ปชป". ผู้จัดการออนไลน์. 25 October 2007. สืบค้นเมื่อ 21 May 2016.[ลิงก์เสีย]
  5. คำสั่งคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เรื่องแต่ตั้งรองประธาน เลขาธิการ รองเลขาธิการ และประธานฝ่ายต่าง ๆ[ลิงก์เสีย]
  6. "นาราชา" ไขก๊อก "ปชป." แล้ว". ช่อง 5. 16 May 2011. สืบค้นเมื่อ 21 May 2016.[ลิงก์เสีย]
  7. "เปิดผลคะแนนเลือกตั้งภาคใต้ ประชาธิปัตย์กวาดเรียบ 50 ที่นั่ง พท.ไม่ติดฝุ่น".
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๐, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๐
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๗๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๗, ๖ มิถุนายน ๒๕๒๗