แวมาฮาดี แวดาโอะ

นายแพทย์ แวมาฮาดี แวดาโอะ หรือ หมอแว (เกิด 16 มิถุนายน พ.ศ. 2505[1]) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนราธิวาส อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน อดีตผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายสากล อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนราธิวาส และได้รับการแต่งตั้งเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549

แวมาฮาดี แวดาโอะ
รองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน
ดำรงตำแหน่ง
2 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 30 ตุลาคม พ.ศ. 2551
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 มิถุนายน พ.ศ. 2505 (62 ปี)
อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ศาสนาอิสลาม
พรรคการเมืองเพื่อแผ่นดิน (2550–2554)
มาตุภูมิ (2553–2554)
แทนคุณแผ่นดิน (2554–2561)
พลังประชารัฐ (2566–ปัจจุบัน)

ประวัติ

แก้

นายแพทย์ แวมาฮาดี เป็นชาวจังหวัดนราธิวาส สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2529[2] เริ่มทำงานที่โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ก่อนลาออกไปเปิดคลินิก และขยายกิจการเป็นโรงพยาบาล และเป็นทำงานพัฒนาชุมชนร่วมกับองค์กรรัฐและอาสาสมัครจากชุมชนต่าง ๆ

นายแพทย์ แวมาฮาดีถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมที่บ้านพัก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2546 เนื่องจากถูกซัดทอดจากนายอาราฟิน บิน อาลี หรือบังริดวน ชาวสิงคโปร์ สมาชิกกลุ่มก่อการร้ายเจมาห์ อิสลามิยาห์ (เจไอ) ว่าเป็นหนึ่งในสมาชิกที่ร่วมวางแผนก่อวินาศกรรมระเบิดสถานทูต 5 แห่งในกรุงเทพ ในช่วงการประชุมเอเปค[3] นายแพทย์แวมาฮาดีถูกคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครเป็นเวลาถึง 2 ปี จากนั้นก็ได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2548 เนื่องจากศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และพนักงานอัยการไม่ยื่นอุทธรณ์

หลังได้รับอิสรภาพ นายแพทย์ แวมาฮาดีลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549 ได้คะแนนเป็นอันดับ 1 และเมื่อวุฒิสภาสิ้นสภาพลงหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

นายแพทย์ แวมาฮาดี สมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อแผ่นดิน และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนราธิวาส เป็นหัวหน้ากลุ่มสัจจานุภาพ ต่อมาได้เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคมาตุภูมิ[4] แต่ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคแทนคุณแผ่นดิน โดยลงรับสมัครแบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1[5] แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง (ได้คะแนน 57,801 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 0.22) ต่อมาเขาย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. จังหวัดนราธิวาส ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2566[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2550". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2008-12-27.
  2. ชีวิตพลิกผัน-ว่าที่ส.ว. แวมาฮาดี แวดาโอะจากจำเลยคดีเจไอสู่สภาสูง เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน คอลัมน์ ทะลุคนทะลวงข่าว, หนังสือพิมพ์ข่าวสด
  3. พลิกแฟ้มคดีดัง : ปฏิบัติการนอกกฎหมาย...อุ้ม 'หมอแว' หนังสือพิมพ์คมชัดลึก, 27 ธันวาคม 2551
  4. "พผ.ประชุมเช็คส.ส.เนื้อแท้ คุยมี 18 เสียงพร้อมหนุนรัฐบาลทำคลอดมากับมือ เผย 8 คนซบภท. 3 ร่วมมภ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-08-24.
  5. 3 จังหวัดใต้ 11 ที่นั่ง 7พรรคชิงชัย จากเดลินิวส์
  6. ""หมอแว" ลงพื้นที่นราธิวาสหาเสียง เปิดใจลงเล่นการเมืองเพราะลุงป้อม". mgronline.com. 2023-04-04.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๓๗, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้