โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์

โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นโรงพยาบาลของรัฐ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยดำเนินงานร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มีเนื้อที่ 71 ไร่ 90 ตารางวา

โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์
Naradhiwas Rajanagarindra Hospital
แผนที่
ประเภทโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลประจำจังหวัด
ที่ตั้ง180 ถนนระแงะมรรคา ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้งพ.ศ. 2484
สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ผู้อำนวยการแพทย์หญิง นิตยา ภูวนานนท์
จำนวนเตียง400 เตียง
แพทย์35 คน
บุคลากร963 คน
เว็บไซต์เว็ปไซต์โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์

ประวัติ แก้

โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 400 เตียง ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 180 ถนนระแงะมรรคา ตำบลบางนาค อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 71 ไร่ 90 ตารางวา เปิดให้บริการด้านสุขภาพอนามัยแก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดใกล้เคียง เมื่อ พ.ศ. 2484 แรกเริ่มเป็นเพียงสุขศาลาเท่านั้น จวบจน พ.ศ. 2495 กระทรวงสาธารณสุขได้ยกฐานะขึ้นเป็นโรงพยาบาลชื่อว่า "โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์" โดยมีนายแพทย์สุรินทร์ พรหมพิทักษ์ เป็นผู้อำนวยการคนแรก ขณะนั้นมีเตียงผู้ป่วย 16 เตียง ต่อมาได้ดำเนินการพัฒนาเรื่อย ๆ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 - 4 จนมีขีดความสามารถตามมาตรฐานของโรงพยาบาลทั่วไป กระทรวงสาธารณสุข

ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอิสริยศักดิ์ขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน มีพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โรงพยาบาลนราธิวาสโดยคณะกรรมการบริหาร โรงพยาบาลต่างมีความเห็นว่าเพื่อเป็นเกียรติ ศักดิ์และศรีของโรงพยาบาล เห็นควรเปลี่ยนชื่อของโรงพยาบาลใหม่ จึงได้ประสานไปยังกระทรวงสาธารณสุข เพื่อขออนุญาตกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระนามใหม่ของโรงพยาบาล ความทราบฝ่าบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์" เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540[1]

ปัจจุบันพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลศูนย์ตติยภูมิระดับต้น เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2552 และผ่านการประเมินคุณภาพโรงพยาบาลมาตรฐาน ของสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (HA+HPH) และยังเป็นสถาบันสมทบ โครงการผลิตแพทย์ และสถาบันหลัก (อนาคต) การเรียนการสอน นักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก ศูนย์แพทยศาตรศึกษา โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์[2] โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ รวมระยะเวลา จัดตั้งโรงพยาบาลแล้ว 70 ปี

อาคารและสิ่งก่อสร้าง แก้

ภายในโรงพยาบาลนราธิวาสราชราชนครินทร์ มีอาคารและสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเฉลิมพระเกรียติ ดังนี้

  • อาคารเปี่ยมสุข
  • อาคารเฉลิมราชย์
  • อาคารนวมินทร์
  • อาคารพระบารมีปกเกล้า

ทำเนียบผู้บริหาร แก้

โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์มีผู้อำนวยการรวมทั้งสิ้น 12 ท่าน ได้แก่

  1. นายแพทย์ สุรินทร์ พรหมพิทักษ์ (พ.ศ. 2484 - พ.ศ. 2491)
  2. นายแพทย์ โอภาส มีนะกรรณ (พ.ศ. 2491 - พ.ศ. 2517)
  3. นายแพทย์ ธัชชัย มุ่งการดี (พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2519)
  4. ร้อยโท นายแพทย์ วีระ คณานุรักษ์ (พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2532)
  5. นายแพทย์ ณัฐพงศ์ อนันตบุรี (พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2537)
  6. นายแพทย์ พิษณุ มณีโชติ (พ.ศ. 2537)
  7. นายแพทย์ พงศักดิ์ เอกจริยาวัฒน์ (พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2539)
  8. นายแพทย์ ประจักษ์ เค้าสงวนศิลป์ (พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2542)
  9. แพทย์หญิง พรจิต จันทรัศมี (พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2546)
  10. นายแพทย์ สุทัศน์ ศรีวิไล (พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2549)
  11. นายแพทย์ เฉลิม ศักดิ์ศรชัย (พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2550)
  12. นายแพทย์ วิรุฬห์ พรพัฒน์กุล (พ.ศ. 2550 - 2555)
  13. นายแพทย์ ฉัตรชัย ศรีนามวงศ์ (พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน)

หน่วยงานภายใน แก้

โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ประกอบด้วยกลุ่มงาน 9 ฝ่าย คือ

  1. งานสำนักงานผู้อำนวยการโรงพยาบาล
  2. กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์
  3. กลุ่มงานทันตกรรม
  4. งานตรวจหัวใจ
  5. ศูนย์แพทยศาสตรศึกษา
  6. กลุ่มงานเภสัชกรรม
  7. ฝ่ายการเจ้าหน้าที่
  8. PCU รพ.นราธิวาสฯ
  9. งานรังสีวิทยา

อ้างอิง แก้

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้